วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูง (BCNKK Model)

กลุ่มวิชาการ
วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : 14 มกราคม 2562
สถานที่ : ห้องประชุมดอกตะแบก
เวลา : 13.00 น.

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่อาจารย์นำไปทดลองปฏิบัติและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

สรุปเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดขั้นสูง

INPUT
วิธีการ
นักศึกษา
การใช้สื่อ soft ware  การฟังอย่างตั้งใจ  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
อาจารย์
เตรียม ตำรา  โจทย์  ชุมชน   แบบประเมิน
สื่อคอมพิวเตอร์ soft ware  สื่อ  วิดิทัศน์ คู่มือ Test Blue Print การจักกลุ่ม

- คำถามกระตุ้นปลายเปิด
- การ reflective
- ออกแบบสถานการณ์เริ่มต้น
- กระตุ้นให้นักศึกษามีเวลาคิด ว่ามีอย่างอื่นอีกไหม
-สถานการณ์จริง  
-สื่อเสมือนจริง
-กรณีศึกษามำมาทำโจทย์ให้นักศึกษาได้ศึกษา
-สอบ OSCE
-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนคิดระหว่างนักศึกษา-นักศึกษา, นักศึกษา-ครู, นักศึกษา-อาจารย์พิเศษสอนภาคปฏิบัติ






ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
นางธรณิศ
สายวัฒน์
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นางสมใจ
เจียระพงษ์
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นางดวงชีวัน
เบญจมาศ
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นางสุจินดา
ศรีสุวรรณ
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นางสาวปราณี
แสดคง
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นางพิริยากร
คล้ายเพ็ชร
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นางรุ่งทิพย์
พรหมบุตร
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นางรัชนี
พจนา
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นางสาวกันนิษฐา
มาเห็ม
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นางเอมอร
บุตรอุดม
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางจรรยา
คนใหญ่
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางสาวสายใจ
คำทะเนตร
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางพัฒนี
ศรีโอษฐ์
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางสาวสรัญญา
เปล่งกระโทก
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางสาวสุรัสวดี 
พนมแก่น
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางสาวพลอยลดา
ศรีหานู
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นางสาวสายสุดา 
จันหัวนา
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นายวชิรศักดิ์
อภิพัฒฐ์กานต์
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นายวิทยา
วาโย
พยาบาลวิชาชีพ
นางทิพวรรณ
ทัพซ้าย
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ


          สมาชิกร่วมกันทบทวนชื่อ CoP และพิจารณาดูความเชี่ยวชาญของอาจารย์ที่สอนอีกทั้งร่วมกันพิจารณาสิ่งที่สำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก้ปัญหาได้สามารถคิดสังเคราะห์และหาแนวทางแก้ปัญหาได้ จึงตั้งชื่อเป็นกลุ่มชุมชนนักปฎิบัติการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูง (BCNKK Model) เนื่องจากอาจารย์ทุกคนมีประสบการณ์สอนที่ยึดแนวทางตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาเป็นหลัก อาจารย์ไปรับการฝึกอบรมการสอน และผลการประเมินคุณภาพบัณฑิตค่อนข้างดีจึงเลือกที่จะทำประเด็นนี้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันสามารถนำมาเขียนเป็นองค์ความรู้ให้อาจารย์ได้ร่วมกันต่อยอดแนวทางการพัฒนาให้เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ที่ประชุมร่วมกันนำเสนอแนวทางการสอนของตนในแต่ละวิชาที่ประเมิน แนวการคิด การแก้ไขปัญหา  การร่วมกันสร้างแนวทางการเรียนรู้ การช่วยเหลือผู้ป่วยให้สุขสบายขึ้นบนพื้นฐานของความรู้ ประสยการณ์ และบริบทของผู้ป่วย ที่ประชุมได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ดังนี้

อ.สุจินดา สอนจริยธรรมนักศึกษา โดย เตรียมโจทย์ จากสถานการณ์จริงตามข่าวต่างๆ คลิปวิดิทัศน์  เอกสารหนังสือ จากนั้นในการสอนครั้งแรกให้นักศึกษาดูคลิปวิดิทัศน์ โดยยังไม่สอนเนื้อหา พร้อมตั้งคำถามให้นักศึกษาตอบเป็นกลุ่ม      จากนั้นก่อนการเรียนครั้งที่ 2 ให้นักศึกษาเอาสิ่งที่ตอบไปดูหนังสือตำราเพื่มเติมพร้อมนำเสนอ พบว่านักศึกษาเพิ่มเติมหลักจริยธรรมในมนุษย์ และมีการเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งพบว่าบางกลุ่มตอบไม่ถูกก็ได้ให้เพื่อนช่วย ครูช่วยกระตุ้นให้คิด จากนั้นครูสอนในสิ่งที่นักศึกษานำมาตอบไม่ครอบคลุม ซึ่งเวลานักศึกษาทำข้อสอบนักศึกษาบอกจำได้จากสภานการณ์ที่ทำและกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทให้สามารถจำได้ หาวิธีการแก้ไขปัญหาจากมุมมองต่างๆ จากการสอนแบบนี้เป็นวิธีการสอนแบบให้นักศึกษาฝึกการแก้ไขปัญหา

ปัจจัยสำคัญคือ โจทย์ต้องเป็นเรื่องจริง  สื่อทั้งคลิปวิดิทัศน์ หนังสือต้อวพร้อมและสอดคล้องกับเนื้อหา  บรรยากาศการเรียนรูต้องให้นักศึกษากล้าพูดไม่ตัดสินแต่ใช้เป็นการเพิ่มเติมเนื้อหาและคำถามที่ต้องกระตุ้นให้คิดมุมมองอื่นที่นอกจากที่ตนคิดโดยให้เพื่อนและครูร่วมถาม

อ.พิริยากร   การพยาบาลเด็กอาจารย์เตรียมโจทย์สถานการณ์มหมายให้นักศึกษาไปศึกษาด้วยตนเองค้นหาองค์ความรู้ด้วยตนเอง จากนั้นมอบหมายให้นักศึกษานำเสนอแนวทางการพยาบาลโดยอาจทำเป็นคลิปวิดิทัศน์  การแสดงบทบาทสมมติตามจินตนาการและองค์ความรู้ที่ค้นมาตามที่นักศึกษาจินตนาการ อาจารย์ไม่ตัดสินว่าถูกหรือผิดแต่จะใช้คำถามสะท้อนให้นักศึกษาได้คิดในมุมต่างๆ จากนั้นครูสรุปเนื้อหาที่สำคัญหลังเรียน
       
ปัจจัยสำคัญคือ อาจารย์เน้นการสร้างจินตนาการพื่อให้ตนเองและเพื่อนได้จำ เวลาพบปัญหาจะนึกถึงภาพที่เคยเรียนและเจอในห้องเรียนนำมาใช้ในการแก้ไขในการสอบและการฝึกปฏิบัติงาน

อ.รุ่งทิพย์  การพยาบาลผู้ใหญ่ในสถานการณ์ Shock โดยการใช้หุ่น SIM อาจารย์สร้างสถานการณ์ที่สอดคล้องกับผู้ป่วยที่พบบ่อยบนหอผู้ป่วยเรียนเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ 8-10 คน โดยให้นักศึกษาได้เข้าศึกษาในสถานการณ์จำลองพร้อมกระตุ้นโดยใช้คำถามให้ผู้เรียนคิดแก้ไขปัญหา หลังจากเรียนในสถานการณ์จำลอง 3 ชั่วโมง อาจารย์มาบรรยายเพิ่มเติมเชื่อมโยงกับสถานการที่พบ 3 ชั่วโมง เมื่อนักศึกษาขึ้นฝึกงานบนหอผู้ป่วยพบว่านักศึกษาเจอสถานการณ์จริงแล้วนำความรู้จากการเรียนในสถานการณ์จำลองมาคิดวิเคราะห์ต่อยอดในการให้พยาบาลผู้ป่วยได้สอดคล้องกับปัญหาผู้ป่วย

อ.สรัญญา เพิ่มเติมการต้องมี Pre-Brief หลังเรียนให้มี De-Brief เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้คือ นักศึกษาสามารถตัดสินใจในการให้การพยาบาลแก้ไขปัญหาผู้ป่วยได้ นักศึกษาสามารถบอกขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ป่วย Shock อย่างเป็นระบบและถูกต้อง เมื่อเสร็จสิ้นการเรียนการสอนใช้การทดสอบ OSCE เพื่อประเมินทักษะ การตัดสินใจ เมื่อเรียบร้อยมีการให้ข้อมูลย้อนกลับต่อนักศึกษาที่มีข้อดีข้อควรปรับปรุงตรงใด

ปัจจัยสำคัญคือ สถานการณ์ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาผู้ป่วยที่พบบ่อยบนหอผู้ป่วย  การเรียนเป็นกลุ่มย่อยโดยใช้หุ่น SIM อาจารย์ต้องมีการ Pre-Brief หลังเรียนให้มี De-Brief การใช้คำถามกระตุ้นความรู้จากการเรียนในสถานการณ์จำลองมาคิดวิเคราะห์ต่อยอดในการให้พยาบาลผู้ป่วยตามสภาพจริง การทดสอบ OSCE เพื่อประเมินทักษะ การตัดสินใจ

อ.รัชนี  การพยาบาลสูติศาสตร์ มีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 สร้างโจทย์ ให้นักศึกษาค้นคว้า ผู้ป่วยจำลองและสาธิตให้ดู จากนั้นมีการ Brief พบว่านักศึกษายังไม่เข้าใจมาก
ขั้นตอนที่ 2 สรุปให้ความรู้ นำไปทบทวนในขั้นตอนที่ 1 พบว่านักศึกษาเข้าใจมากขี้น
ขั้นตอนที่ 3 สถานการณ์จำลอง หุ่น SIM อาจารย์เป็นผู้ป่วยร่วมด้วย นักศึกษาซักประวัติอาจารย์เมื่ออาจารย์ตอบนักศึกษาเกิดการเชื่อมโยง  พบว่านักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
            เมื่อนักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบิติงานมอบหมายผู้ป่วยในการดูแล ช่วงPost conference ตั้งข้อคำถามเพื่อนคนละ 1 ข้อถามเพื่อนตอบเจ้าของโจทย์เฉลย นอกจากนี้เมื่อกลับไปยังหอพักตั้งคำถาม 2 ข้อ ส่งใน Google Drive พร้อมเฉลยและบอกเหตุผลด้วย

อ.ดวงชีวัน เพิ่มเติมในการสอนบนหอผู้ป่วยโดยโยงเข้าหากระบวนการพยาบาลโยงอะไรเกิดปัญหาและให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวลาว่าง ในช่วง Post conference ทุกคนได้พูดยกสิ่งที่ได้ความรู้เพื่อนฟังคิด มีเพื่อนช่วยคิด ร่วมแลกเปลี่ยนวันนี้ทำอะไร พรุ่งนี้อยากทำอะไรใช้คำถามกระตุ้นอะไรที่สำคัญ ให้คิดวิเคราะห์เชื่อมโยง

อ.เอมอร การทำคลอดได้ใช้หุ่น SIM ทำคลอดและเมื่อนักศึกษาทำคลอดแล้วให้ข้อมูลย้อนกลับ พบว่านักศึกษาเมื่อขึ้นฝึกนักศึกษาสามารถนึกถึงภาพที่เข้าห้องปฏิบัติการสามารถช่วยนักศึกษาได้เรียนรู้มากขึ้น

ปัจจัยสำคัญคือ การมีโจทย์ที่เชื่อมโยงกับสิ่งที่นักศึกษากับผู้ป่วยบนหอผู้ป่วย  การใช้คำถามเชื่อมโยงกระตุ้นให้คิดโดยโยงเข้ากระบวนการพยาบาล การให้นักศึกษาฝึกกับหุ่น SIM  การใช้คำถามกระตุ้นอะไรที่สำคัญ ให้คิดวิเคราะห์เชื่อมโยง  การให้เพื่อนตั้งข้อคำถามเพื่อนให้เพื่อนตอบเจ้าของโจทย์เฉลย การตั้งคำถาม ส่งใน Google Drive พร้อมเฉลยและบอกเหตุผล

อ.กันนิษฐา   การสอนวิชาชุมชน สอนตามสภาพจริง โดยลงในหมู่บ้าน อาจารย์มีการสอนเน้นตาม test Blue print ใช้คำถาม ให้คิดวิเคราะห์ คิดวางแผน จัดลำดับความสำคัญ ปัญหา ปรับกระบวนการคิด และนำเสนอเป็นภาพรวม ปรับกระบวนการคิดนำเสนอเป็นภาพ เช่น การจัดการเรียนการสอนในฤดูเก็บเกี่ยว นักศึกษาจะเข้าพบกับชุมชนในการทำโครงการลำบาก ครูใช้คำถามให้นักศึกษาคิดแก้ไขปัญหาให้ลงลึกจากคำถามง่ายๆลงลึกไปจนถึงการที่นักศึกษาสามารถแก้ไขปัญหาได้นอกจากนี้ยังให้นักศึกษาคิดถึงตัวชี้วัดที่ชุมชนต้องดำเนินการคิด การประสานการดำเนินงาน โดยใช้กระบวนการ Problem Solving

อ.ปราณี   อาจารย์ทำความเข้าใจ test Blue print จัดทำคู่มือดำเนินการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติและในการจัดกลุ่มแบ่งกลุ่มตั้งแต่ทฤษฎีและในการฝึกปฏิบัติจะเป็นกลุ่มเดียวกันเมื่อลงชุมชนเจอสถานการณ์จริงนักศึกษาพบสิ่งที่น่าสนใจอาจารย์เพิ่มเติมองค์ความรู้เพิ่มเติม

ปัจจัยสำคัญคือ อาจารย์พยายามให้นักศึกษาลึกไปจนถึงสาเหตุของปัญหา Root Cause Analysis  โดยใช้กระบวนการ Problem Solving บรรยากาศที่เป็นมิตร

อ.วิทยา  วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุจะสอนทฤษฎีแล้วให้นักศึกษาได้ลงชุมชนโดยอาจารย์เลือกผู้ป่วยมาฝึกการใช้แบบประเมินจากนั้นให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยจากผลการประเมินที่นักศึกษาเก็บข้อมูล เช่น พบว่าเสี่ยงต่อการหกล้มนักศึกษาคิดวิเคราะห์หาแนวทางที่จะป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุกรณีนักศึกษาคิดไม่ออกอาจารย์ชี้แนะบางส่วนที่กระตุ้นให้นักศึกษาคิดแผนพยาบาล เมื่อใกล้จบรายวิชาอาจารย์สรุปให้นักศึกษาคิดวิธีการพัฒนา ปรับปรุงร่างกาย  จิตใจ สอดคล้องกับทฤษฎีอะไร

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่อาจารย์นำไปทดลองปฏิบัติและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดขั้นสูง

INPUT
วิธีการ
นักศึกษา
การใช้สื่อ soft ware  การฟังอย่างตั้งใจ  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
อาจารย์
เตรียม ตำรา  โจทย์  ชุมชน   แบบประเมิน
สื่อคอมพิวเตอร์ soft ware  สื่อ  วิดิทัศน์ คู่มือ Test Blue Print การจักกลุ่ม

- คำถามกระตุ้นปลายเปิด
- การ reflective
- ออกแบบสถานการณ์เริ่มต้น
- กระตุ้นให้นักศึกษามีเวลาคิด ว่ามีอย่างอื่นอีกไหม
-สถานการณ์จริง  
-สื่อเสมือนจริง
-กรณีศึกษามำมาทำโจทย์ให้นักศึกษาได้ศึกษา
-สอบ OSCE
-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนคิดระหว่างนักศึกษา-นักศึกษา, นักศึกษา-ครู, นักศึกษา-อาจารย์พิเศษสอนภาคปฏิบัติ


นางธรณิศ   สายวัฒน์
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ผู้บันทึกรายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้









16 ความคิดเห็น:

  1. เพิ่มเติมคำจำกัดความค่ะ
    การคิดขั้นสูง หมายถึง กระบวนการคิดวิเคราะห์ การคิดแก้ปัญหา

    ตอบลบ
  2. การเรียนรู้ในสถานการณ์จริง และมีผู้สอนกระตุ้นด้วยคำถาม การปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ฝึกสะท้อนคิดหลังปฏิบัติหรือสังเกตการปฏิบัติ จะช่วยให้ผู้เรียนมีการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

    ตอบลบ
  3. การคิดขั้นสูง เป็นการคิดวิเคราะห์ หรือคิดเพื่อแก้ไขปัญหา
    เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ดี
    สิ่งสำคัญคือการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด

    ตอบลบ
  4. สุธิดา สิงห์ศิริเจริญกุล15 กรกฎาคม 2562 เวลา 22:37

    การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นศ.มีการคิดวิเคราะห์เป็นสิ่งที่สำคัญในการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิดขั้นสูง

    ตอบลบ
  5. กระบวนการคิดขั้นสูง เป็นการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา การจัดการเรียนการสอนที่ช่วยส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ควรเป็นการจัดให้นักศึกษาได้เผชิญสถานการณ์ที่จะต้องใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ โดยทั้งนี้ต้องยึดความปลอดภัยของผู้รับบริการเป็นหลัก การที่นักศึกษาจะเกิดการคิดวิเคราะห์ได้จะต้องมาจากความรู้ที่นักศึกษามี เพื่อใช้ในการคิดวิเคราะห์

    ตอบลบ
  6. การคิดขั้นสูง เช่น การคิดวิเคราะห์ สัวเคราะห์ การประเมิน การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การคิดแก้ไขปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดเหล่านี้ ต้องอาศัยการฟูมฟัก การมีพื้นที่แห่งการคิด ได้รับการสนับสนุนการส่งเสริมจากผู้สอน สภาพแว้ดล้อมการเรียนรู้ต่างๆ ที่สนับสนุนให้นักศึกษากล้าคิด กล้าแสดงออก อย่างเปิดกว้างและมีขอบเขต คือเปิดกว้างในการคิดหลากหลายในขอบเขตของรายวิชา และการมีสัมพนธภาพที่ดีมีบรรยากาศกระต้นความคิดแบบผ่อนคลายจะช่วยพัฒนาการคิดได้

    ตอบลบ
  7. ความเห็นทุกท่านเยี่ยมมากค่ะ ได้รอบรู้ขอบเขตกระบวนการคิดขั้นสูง ประเด็นทำอย่างไร ให้สิ่งเหล่านี้ แทรกซึมเป็นเนื้องานการจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา สามารถวัดและประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับตัวนักศึกษาได้ และบูรณาการงานและกิจกรรมเหล่านี้เป็นงานประจำ

    ตอบลบ
  8. หากสามารถจัดการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการคิดขั้นสูงให้กับนักศึกษาได้ จะดีและมีประโยชน์มากค่ะ จะช่วยให้นักศึกษาคิดไตร่ตรอง และมีอิสระในการคิด ทำให้มีความกล้าคิดกล้าแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์

    ตอบลบ
  9. การออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นการสร้างให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดขั้นสูง เช่น การสร้างสถานการณ์จำลอง ผู้เรียนได้คิด ตัดสอนใจในการแก้ปัญหาตามสถานการณ์นั้น วิทยาลัยฯ มีหุ่นฝึกปฏิบัติขั้นสูง เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถขอใช้งานนอกเวลา แต่ต้องมีอาจารย์ผู้ควบคุม เพื่อให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

    ตอบลบ
  10. การพัฒนากระบวนการคิดขั้นสูงในการจัดการเรียนการสอนต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญหลายส่วนที่สำคัญคือการออกแบบให้ผู้เรียนได้เข้าใจกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ได้ โดยใช้สถานการณ์ วิธีการให้เรียนรู้หลากหลายช่องทาง และอาจารย์ผู้สอนมีความสามารถในการ coach

    ตอบลบ
  11. การคิดขั้นสูง คือการคิดวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหา

    ตอบลบ
  12. การคิดขั้นสูง คือการคิดวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหา

    ตอบลบ
  13. การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูง เหมาะสมกับการพัฒนาทักษะของนักศึกษาในยุคนี้ เน้นการแก้ปัญหาในทุกสถานการณ์ เหมาะที่จะนำไปสอดแทรกในแต่ละรายวิชา

    ตอบลบ
  14. การจัดการเรียนการสาอนเพื่อพัฒนาการคิด ในรายวิชาที่รับผิดชอบ ได้ใช้กระบวนการ สะท้อนคิด ในหน่วยอนามัยโรงเรียน โดยการจัดการเรียนการสอนด้วยการศึกษาสภาพจริง โดยการบรรยายแบบมีส่วนร่วม ให้ใบงานการศึกษาสภาพจริง การแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยในโรงเรียน แล้วสะท้อนผลการเรียนรู้ สะท้อนให้เห็นความรู้สู่การปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาในแต่ละบุุคคล

    ตอบลบ
  15. ป็นแนวคิดที่ดีในออกแบบการเรียนการสอนพัฒนาการคิดขั้นสูงส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูงในรายวิชา ให้ชัดเจน นำไปสู่การปฏิบัติ พัฒนาให้เป็นแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อนำไปออกแบบการเรียนการสอนพัฒนาการคิดขั้นสูงในทุกรายวิชา ให้สอดคล้องกับการศึกษาทางการพยาบาลในศตวรรษที่ 21

    ตอบลบ
  16. แนวคิดที่ดีในออกแบบการเรียนการสอนพัฒนาการคิดขั้นสูงส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูงในรายวิชา ให้ชัดเจน นำไปสู่การปฏิบัติ

    ตอบลบ