วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การบูรณาการการบริการวิชาการแก่สังคมกับการวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ครั้งที่ 3

วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้

4  พฤษภาคม  2561 ห้องประชุม A101 เวลา 15.00-16.00 น.

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 

1.นางศิราณี ศรีหาภาค              พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
2.นายกิตติภูมิ ภิญโย                 พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
3.นางสาวทรงสุดา หมื่นไธสง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
4.นางสุธิดา สิงห์ศิริเจริญกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
5.นางนวลละออง ทองโคตร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
6.นางสาวสุธิดา อินทรเพชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ





วัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ 

            1.เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการการบริการวิชาการแก่สังคมกับการวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่

สืบเนื่องจากการประชุมที่ผ่านมา

      สมาชิกได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ได้จากการประชุมที่ผ่านมา
      จากคำถาม KM: บูรณาการบริการวิชาการอย่างไรให้ได้ผลงานวิชาการ และงานวิจัย? 



จากตารางดังกล่าว สมาชิกได้ร่วมกันจัดทำแนวทางในการผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัย ได้ดังแผนภูมิต่อไปนี้

Model การบริการวิชาการสู่การสร้างองค์ความรู้



1.กระบวนการการบริการวิชาการ
  1. เป็นโครงการบริการวิชาการต่อเนื่องมากกว่า 1 ปี 
  2. มีการออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลของการบริการวิชาการตั้งแต่เริ่มต้นการดำเนินโครงการ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ
  3. เป็นกระบวนการบริการวิชาการที่ใช้พื้นที่เป็นฐาน Community Based
  4. ในระหว่างการดำเนินการได้มีการทบทวนผลการดำเนินงานเป็นระยะเพื่อนำสู่การปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
  5. นำผลการดำเนินงานจากการทบทวนมาพิจารณาดำเนินการปรับปรุงสู่การบูรณาการเพื่อสร้างองค์ความรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยในปีที่ 2 เป็นต้นไป
2.กระบวนการสร้างองค์ความรู้จากการบริการวิชาการ
  1. ออกแบบดำเนินการบูรณาการบริการวิชาการกับการวิจัย หรือ สร้างองค์ความรู้ และจัดให้อยู่ในแผนงานของหน่วยงาน
  2. มีการบูรณาการสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการวิจัย การเขียนบทความวิชาการ การจัดทำชุดความรู้ เพื่อนำสู่การตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป
การวางแผนในการประชุมครั้งต่อไป
การประชุมครั้งต่อไป สมาชิกจะร่วมกันจัดทำแนวทางในการตีพิมพ์งานวิจัยและผลงานวิชาการ จากคำถามที่ว่า “ทำอย่างไรจึงมีผลงานวิจัยและบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ออกมาเยอะ?”

จบการทำกิจกรรม COP  ครั้งที่ 3 เวลา 16.00 น.  

5 ความคิดเห็น:

  1. การทำ KM ในครั้งนี้ทำให้ได้ศักยภาพของอาจารย์ในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการในงานที่ต้องทำอยู่ในให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น เช่น การทำงานบริการวิชาการเเละสร้างผลงานทางด้านวิจัยและผลงานวิชาการ จาก Model การบริการวิชาการสู่การสร้างองค์ความรู้นั้น มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ดังนี้ 1) ในปีที่ 3 ของการ KM อาจเพิ่มเติมว่าองค์ความรู้นำไปสู่การสร้างบัณฑิตตาม SIMc ได้อย่างไรเพื่ออธิบายองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้จริงในการพัฒนาผู้เรียน 2) เเลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในชุมชนได้อย่างไรและชุมชนเกิดผลกระทบจากการใช้อค์ความรู้ที่เกิดขึ้นอย่างไร

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  3. การนำผลการดำเนินงานจากการทบทวนมาพิจารณาดำเนินการปรับปรุงสู่การบูรณาการเพื่อสร้างองค์ความรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในชุมชน

    ตอบลบ
  4. การทบทวนระบบ และการดำเนินการโครงการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่องจะทำให้ได้ผลลัพธ์ในการบริการวิชาการอย่างชัดเจน และทำให้ชุมชนได้มีโครงการในการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยิน อีกทั้งยังส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนสามารถดำเนินการโครงการด้วยตัวเองได้ จะถือเป็นการบริการวิชาการอย่างประสบผลสำเรจ และสามารถนำเอากิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการ ทำเป็นการวิจัย ได้

    ตอบลบ
  5. การทำงาน (วิจัย) แบบเครือข่าย จะทำให้เกิดการเรียนรู้ และมีพลังในการสร้างผลงานวิจัย ที่ประสบผลสำเร็จ

    ตอบลบ