วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สรุปรายงานประชุมการจัดการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 /2561

สรุปรายงานประชุมการจัดการเรียนรู้ ครั้งที่ ๒ /๒๕๖๑

กลุ่มที่ ๓ ชุมนุมนักปฏิบัติการ กลุ่มวิจัยและบริการวิชาการ
วันที่ ๒ กุมภาพันธ์  ๒๕๖๑ เวลา ๑๕.๐๐- ๑๖.๐๐ น.
ณ  ห้องประชุมมณฑาทิพย์ อาคารศูนย์เรียนรู้ฯ

ผู้เข้าร่วมประชุม:

๑.ดร.ศุภวดี   แถวเพีย              พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ประธาน
๒.ดร.กิตติภูมิ ภิญโย                พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กรรมการ
๓.ดร.ศิราณี  ศรีหาภาค            พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ                 กรรมการ
๔.นางสาวทรงสุดา หมื่นไธสง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ                 กรรมการ
๕.นางปิยนุช  ภิญโย                พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ                 กรรมการ
๖.นางนวลละออง  ทองโคตร   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ                 กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ





วาระที่ ๑ : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

วาระที่ ๒ : รับรองรายงานประชุมการจัดการความรู้ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ ที่ประชุมมีมติรับรอง

วาระที่ ๓ : การวางแผนการจัดการความรู้
         
             สืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องความสำเร็จของการผลิตผลงานวิชาการของอาจารย์แต่ละคนที่มีผลงาน ซึ่งผลงานเกิดจากการให้บริการวิชาการเป็นวิทยากรทั้งภายในและภายนอกทั้งระดับชาติและระดับภูมิภาค โดยได้รับเชิญตามสาขาที่มีความเชี่ยวชาญซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างผลงานวิชาการ จากประสบการณ์ที่ผ่านมามีอาจารย์ส่วนหนึ่งประสบความสำเร็จโดยมีวิธีการทำงานโดยสรุปเป็นรูปแบบใหญ่ๆได้ ๒ รูปแบบ  ดังนี้
         
            รูปแบบที่ ๑ : การได้รับเชิญเป็นวิทยากร นำสู่การทบทวนวรรณกรรมที่หลากหลาย จัดทำเอกสารประกอบการสอน  แล้วเขียนบทความวิชาการในหัวข้อที่สอน  จากประสบการณ์สอนพบประเด็นปัญหานำสู่ประเด็นวิจัยเพื่อเติมช่องว่างความรู้ขณะนิเทศการฝึกภาคปฏิบัติกับนักศึกษาจึงนำสู่การทำงานวิจัยในที่สุด โครงการวิจัยตามรูปแบบที่ ๑ ได้แก่ โครงการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการผดุงครรภ์ในภาวะเสี่ยงสูง
       
            รูปแบบที่ ๒ : โครงการทำร่วมกับเครือข่ายซึ่งเกิดจากข้อจำกัดที่วิทยาลัยไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเองทั้งหมดจึงร่วมมือจากเครือข่ายสถาบันการศึกษา สถานบริการและชุมชน โดยได้ร่วมกันออกแบบวิจัย ซึ่งมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสั่งสมประสบการณ์ เก็บรวบรวมข้อมูล นำสู่การเขียนตำรา พัฒนาบทความวิชาการ  พบประเด็นในการวิจัย  เสนอขอทุนวิจัยทั้งจากภายนอกซึ่งได้แก่ สวรส. สปสช. อปท. และภายในวิทยาลัย  ผลการวิจัยนำสู่การกำหนดโครงการ และนโยบายของปีถัดไป
     
          ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการผลิตผลงานวิชาการ
           ๑.เครือข่ายการทำงานพื้นที่
           ๒.ความเชี่ยวชาญของอาจารย์ ระดับความเชี่ยวชาญของอาจารย์ ความมุ่งมั่นตั้งใจ
               ปัญหาเครือข่ายภายในยังไม่เข้มแข็ง แนวทางในการพัฒนาคือ การสร้างทีมงานวิจัยตาม
               ประเด็นสนใจและความเชี่ยวชาญโดยมีพี่เลี้ยง (Mentor)
           ๓.ประเด็นในการวิจัยต้องสอดคล้องกับนโยบาย และความเชี่ยวชาญของนักวิจัย

วาระที่ ๔  : อื่นๆ

           - การจัดประชุมโครงการประชุมฟื้นฟูวิชาการประจำปีประเด็นเรื่องการดูแลระยะยาวในผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมายผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรของกรมอนามัย และที่ผ่านการอบรมหลักสูตรของวิทยาลัย  รูปแบบการบรรยาย เสวนาวิชาการ และนำเสนอผลงาน ระยะเวลาในการประชุม ๒  วัน กำหนดการเดิม ว้นที่ ๒๔-๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑ แต่เนื่องจากเดือนพฤษภาคมมีกิจกรรมหลายอย่างที่เกี่ยวกับการสำเร็จการศึกษา เพื่อให้การเตรียมการได้พร้อมจะเลื่อนไปจัดในวันที่ ๒-๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ขณะนี้อยู่ระหว่างร่างโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องพิจารณา
         
          - การเขียนโมเดลตามที่ได้จากการประชุมทั้ง ๒ แบบ  ดร.ศิราณี จะเป็นผู้เขียนเพื่อขึ้นเผยแพร่ให้สมาชิกในวิทยาลัยได้แลกเปลี่ยน
       
          - นัดหมายงานครั้งต่อไป  นำเสนอผลงานการจัดความรู้ของกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนกลุ่มใหญ่ หรือเว็บไซต์ของวิทยาลัย

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

5 ความคิดเห็น:

  1. เป็นการทำ Km ที่มีประโยชน์มากเพราะทุกคนได้ร่วมเเสดงความคิดเห็นและนำเอาประสบการณ์จากการทำงานมาเล่า สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำ KM ในครั้งนี้คือ เมื่อเปรียบเทียบจากปีที่ผ่านมาพบว่าสมาชิกทุกท่านมีความรู้มีความเข้าใจในการทำ KM และมีการพูดคุยเเสดงความคิดเห็นเพื่อวางเเผนในการทำ KM ร่วมกัน จึงพบว่าผลของการทำ KM ในครั้งที่ 2 นี้มีความเป็นรูปธรรมที่จะนำไปสู่การเเลกเปลี่ยนในครั้งที่ 3 สิ่งที่ต้องเรียนรู้คือจากปัจจัยเเห่งความสำเร็จทั้ง 3 ข้อ คือ อะไรคือ key word ในการทำงานนี้ให้สำเร็จเเละต้องใช้ระเวลาในการทำงานนานเท่าไหร่

    ตอบลบ
  2. ทำให้ได้เห็นศักยภาพของบุคลากร และงานกิจกรรมที่ดำเนินการตามความเชี่ยวชาญของบุคลากร

    ตอบลบ
  3. ทำให้ได้เรียนรู้จากศักยภาพของบุคลากรและปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจในการทำงานแก่บุคลากร

    ตอบลบ
  4. ทำให้เห็นรูปแบบและแนวทางในการดำเนินงานค่ะ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ5 สิงหาคม 2561 เวลา 12:22

    ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการผลิตผลงานวิชาการของอาจารย์ คือเวลาและแรงจูงใจ ซึ่งอาจารย์และบุคลากรของวิทยาลัยฯมีศักยภาพพร้อมผลิตทุกคน แต่ต้องจัดสรรภาระงานให้เหมาะสมทุกพันธกิจ เพื่อให้มีเวลาได้ตกผลึกความรู้และประสบการณ์ดีๆที่ผ่านมา สร้างสรรค์เป็นผลงานเพื่อเผยแพร่ต่อไป

    ตอบลบ