วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทสัมภาษณ์ การเผยแพร่ผลงานวิจัย ประสบการณ์ “เทคนิคการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสาร นานาชาติ”

บทสัมภาษณ์ การเผยแพร่ผลงานวิจัย



ระสบการณ์  “เทคนิคการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสาร นานาชาติ”

โดย ดร.ศิราณี   ศรีหาภาค

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น






การที่จะได้รับการการตีพิมพ์ลงในวารสารระดับนานาชาติ ดร.ศิราณี ศรีหาภาค พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น ได้ให้ข้อแนะนำ ดังนี้
1.       สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือ การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยว่า ผลงานวิจัยเรามีคุณภาพหรือไม่  โดยพิจารณาจาก
1.1     วิธีวิจัย (Methodology) มีความถูกต้อง แม่นยำตามระเบียบวิธีวิจัย
1.2   กลุ่มตัวอย่าง สามารถเป็นตัวแทนของประชากรได้ ตามระเบียบวิธีวิจัย และสามารถมีผลกระทบในวงกว้าง
1.3   ผลงานวิจัยต้องผ่านการรับรอง จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์  มีหนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
2.       เมื่อประเมินแล้วว่าผลงานวิจัยมีคุณภาพในระดับที่จะสามารถตีพิมพ์ลงวารสารต่างประเทศได้ แล้ว เขียนบทความวิจัยฉบับร่างเป็นภาษาไทย “การเขียนจะต้องเขียนให้คมทั้ง วิธีวิจัย และผลการวิจัย” การเขียนวิธีวิจัย ให้คม หมายถึง การแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือในการวิจัย วิธีการวิจัยต้องถูกต้องแม่นยำ ตามระเบียบวิธีวิจัย  ส่วน การเขียนผลงานวิจัยให้คม หมายถึง การหยิบประเด็นให้แหลมคม ให้เห็นผลการวิจัยในครั้งนี้มีความรู้ใหม่ หรือ เกิดสิ่งใหม่ๆ แตกต่างจาก ผลงานวิจัยอื่นๆ(นักวิจัยต้องอ่านผลงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศให้มากพอจึงจะเห็นความต่าง และจะสามารถหยิบประเด็นแหลมคมของผลงานวิจัยของตัวเองได้)       ส่วนประกอบของการเขียนบทความวิจัยต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญ ต่อไปนี้
2.1   การเขียนความเป็นมาและความสำคัญไม่เกินหนึ่งหน้าซึ่งจะรวมทั้งวัตถุประสงค์การวิจัย
2.2    เครื่องมือการวิจัย ถ้าเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณต้องเป็นเครื่องมือวิจัยที่เป็นมาตรฐาน(Standard) ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ที่สากลของต่างประเทศ ที่ได้รับแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ถ้ายังไม่ได้รับการแปลต้องทำเรื่องขอแปล  โดยที่นักวิจัยต้องสามารถเข้าถึงต้นฉบับของเครื่องมือวิจัยให้ได้ หากศึกษาเพียงรายงานเอกสารที่อ้างถึงจะเข้าใจเพียงมุมมองสิ่งที่ผู้เขียนหยิบยกมาอ้างถึงทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนจากต้นฉบับได้  (การค้นหาบทความเครื่องมือต้นฉบับ ใช้เครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยช่วยประสานกับแหล่งที่มีต้นฉบับให้กับนักวิจัยได้)  แต่หากมีความจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือเอง เครื่องมือที่สร้างขึ้นเองต้องแสดงให้เห็นว่ามีการผ่านความน่าเชื่อถือของเครื่องมือไว้อย่างชัดเจน
ส่วนเครื่องมือเชิงคุณภาพ ซึ่งแม้จะมีแนวทางของเครื่องมือที่เป็นแบบมีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง แต่ตัวของนักวิจัยผู้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ต้องแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์และการลดอคติของงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ต้องสามารถแสดงให้เห็นว่านักวิจัยได้เข้าใกล้ข้อมูลมากที่สุดหรือเกิดความไว้วางใจ (Trust) ของผู้ให้ข้อมูลกับนักวิจัย รวมทั้งการตรวจสอบข้อมูล Triangulation ของนักวิจัย ที่ทำให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ นักวิจัยต้องประกาศอย่างชัดเจน
ส่วนกลุ่มตัวอย่าง ต้องชัดเจนมีทั้งเกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion Criteria)  เกณฑ์คัดออก (Exclusion Criteria) ขนาดจำนวนและการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง
ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ถ้าเป็นบทความที่ตีพิมพ์ในฐานวารสารทางสุขภาพ เช่น Pubmed หรือ Health Science มักจะใช้สถิติทางระบาดวิทยา เช่น OR AOR  นักวิจัย ควรมีความเข้าใจการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ OR,   AOR
2.3   การจัดเตรียมต้นฉบับเพื่อนำเสนอข้อมูลวารสารต่างประเทศ ต้องให้มีความกระชับ ไม่นำเสนอยาวเกินไปส่วนใหญ่ไม่เกิน 12 หน้า โดยที่นักวิจัยควรศึกษาวิธีการนำเสนอข้อมูลจากวารสารต่างประเทศหลายๆฉบับ แล้เลือกหยิบรูปแบบที่นำเสนอข้อมูลที่เหมาะกับงานวิจัยของเรา
2.4   การอภิปรายผล เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสอดคล้องกับผลการวิจัย  แสดงให้เห็นว่า ผลการวิจัยในครั้งนี้ได้ผลอย่างไร คล้ายคลึงกันกับผลงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างไร และที่สำคัญคือการอภิปรายถกใประเด็นที่แหลมคม เช่น ในแง่มุมของ วัฒนธรรม Cultural Community และ นโยบาย ส่วนข้อเสนอแนะ ถ้าเป็นข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย (Policy) และการวิจัยต่อจะเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
2.5   เมื่อได้ผลงานวิจัยที่คมชัดแล้วให้พิจารณา ชื่อเรื่องของการวิจัยอีกครั้งหนึ่งแล้วกำหนด “ชื่อเรื่องวิจัยให้คมชัด”
2.6 การเขียนเอกสารอ้างอิง นักวิจัยควรศึกษา Program EndNote ให้ใช้โปรแกรม EndNote ในการช่วยเขียนเอกสารอ้างอิง ซึ่งในการตีพิมพ์ต่างประเทศโปรแกรมนี้มีความสำคัญและจำเป็นมากที่ต้องใช้ และใช้ตามแบบฟอร์มที่วารสารกำหนด
3.       เมื่อได้ฉบับภาษาไทยแล้ว นักวิจัยแปลเป็นฉบับภาษาอังกฤษ ฉบับร่าง ด้วยตัวเอง หรือในกรณีของผู้ที่มีความชำนาญในภาษาอังกฤษอยู่แล้วก็สามารถทำต้นฉบับในภาษาอังกฤษได้เลย อย่างไรก็ตามการอ่านผลงานวิจัยต่างประเทศจำนวนมากๆ ที่คล้ายคลึงกับงานวิจัยของเรา “เพื่อศึกษาการใช้สำนวนภาษาอังกฤษ” จะทำให้เราสามรถเขียนเป็นต้นฉบับของผลงานวิจัยของด้วยสำนวนที่ราบรื่น และที่สำคัญควรให้เจ้าของภาษา ตรวจความถูกต้องของการใช้ภาษาอังกฤษในเชิงวิชาการอีกครั้ง โดย ดร.ศิราณี ศรีหาภาค เองได้ใช้เครือข่าย ประเทศสหรัฐอเมริกา  ในการตรวจสอบความถูกต้องของการใช้ภาษา
4.       เทคนิคการ Submitted วารสารระดับนานาชาติ
4.1   ศึกษาวารสารที่จะตีพิมพ์ ว่า รับตีพิมพ์ผลงานวิจัย ประเด็นใด ซึ่งวารสารจะแจ้งวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจน
เลือกวารสารที่มีความสอดคล้องบทความวิจัยของเรา จำนวน 4-5 วารสารที่มี Impact แตกต่างกัน ประเมินผลงานวิจัยของเราว่าเหมาะกับระดับ Impact Factor เท่าไหร่ แล้วให้เลือกลงวารสารที่มี Impact Factor สูงกว่า ไว้ ให้ระลึกไว้เสมอว่าการถูกปฏิเสธ(Rejected) จากการ Submitted ของวารสารนานาชาติเป็นเรื่องปกติ การยื่นเสนอตีพิมพ์ลงวารสารครั้งแรกควรยื่นเสนอในวารสารที่มีระดับ Impact สูงเกินกว่าที่เราประเมินบทความของเราเผื่อไว้ ซึ่งหากเราได้รับการปฏิเสธจากวารสารแรก การส่ง Submitted รายการวารสารที่เราเลือกไว้ต่อๆไป แต่เราจะไม่ Submitted ไปพร้อมๆ กัน หลายๆวารสาร เพราะ ผิดจรรยาบรรณนักวิจัย จะต้องมั่นใจก่อนว่า วารสารที่ได้ Submitted ไปก่อน ปฏิเสธ จึงจะส่งไปวารสารอื่น ต่อไป และการเลือกวารสาร ควรเลือกวารสารใน List ฐาน Scopus  และSCI   ได้ทั้งการเพิ่มคุณค่าให้กับผลงานวิจัย และ ป้องกันวารสารลวง 
4.2   การ Submitted นักวิจัยต้องฝึกการ Submitted  Online และการเตรียมใบปะหน้าที่เรียกว่า  Cover Letter และประวัติของผู้ร่วมวิจัยให้พร้อม ต้องศึกษาวิธีการเขียนและเตรียมไว้รอรวมทั้งเสนอชื่อ Reviewer เตรียมไว้ด้วยบางวารสารต้องการ  ในขั้นตอน การ Submitted  Online นักวิจัยจะได้รับการตอบรับอัตโนมัติว่า ได้รับผลงานวิจัยเข้าระบบ (ซึ่งยังไม่ใช่การตอบรับลงตีพิมพ์) จากนั้น บทความวิจัยจะผ่าน Editor เป็นผู้ตรวจคุณภาพผลงานวิจัยเบื้องต้นผล ซึ่งถ้า Editor พิจารณาประมาณ 3-4 วัน ถ้าส่ง mail มาส่วนใหญ่จะปฏิเสธ  แต่หากหรือ เกิน 2 สัปดาห์ส่วนใหญ่บทความจะถูส่งต่อไปยัง Peer Review ต่อไป และเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคุณภาพบทความ
4.3   การเป็น Co-responding และ ผู้วิจัย ในการ Submitted บทความตีพิมพ์ จะมีให้กรอกข้อมูล  Co-responding และ ผู้วิจัย ซึ่งโดยหลักการแล้ว Co – responding จะเป็นผู้ที่มีความสำคัญมากกว่าการมีรายชื่อเป็นนักวิจัยลำดับที่ 1 Co – responding จะเป็นผู้ที่วารสารติดต่อกลับ และเป็นผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับวารสารทั้งในเรื่องการปรับแก้ตามข้อเสนอแนะหรือเรื่องอื่นๆ จนกระทั่งบทความได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ส่วนผู้วิจัยทุกคนที่ปรากฏรายชื่อในบทความวิจัยต้องรับรู้และให้การยินยอมในการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งบางวารสารเมื่อ Submitted ไปแล้วจะมี Mail เป็นหนังสือสอบถามผู้ร่วมวิจัยเกี่ยวกับการ Submitted วารสารฉบับนั้นด้วย

 

1 ความคิดเห็น:

  1. สุพิศตรา พรหมกูล17 กรกฎาคม 2560 เวลา 15:49

    เป็นการจัดการความรู้ที่ดีคะ ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสาร นานาชาติ สามารถนำไปเป็นแนวทางหรือปรับใช้ในการปฏิบัติเพื่อส่งผลงานตีพิมพ์คะ

    ตอบลบ