บันทึกกิจกรรม
CoP
เรื่องการเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติ
และนานาชาติ
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1
|
นางพัชรินทร์วินา
|
เพิ่มยินดี
|
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
|
คุณเอื้อ/ผู้บริหาร
|
2
|
นางสาวศุภวดี
|
แถวเพีย
|
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
|
ประธานกลุ่ม/คุณกิจ
|
3
|
นางสุวารี
|
คำศิริรักษ์
|
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
|
คุณกิจ
|
4
|
นางนวลละออง
|
ทองโคตร
|
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
|
คุณกิจ
|
5
|
นางสาวทรงสุดา
|
กัณชัย
|
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
|
คุณกิจ
|
6
|
นางสาวสุธิดา
|
อินทรเพชร
|
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
|
คุณกิจ
|
7
|
นางจุรี
|
แสนสุข
|
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
|
คุณกิจ
|
8
|
นางสาวอริณลดา
|
ลาดลา
|
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
|
คุณกิจ/ผู้ช่วยคุณลิขิต
|
9
|
นางศรีสุดา
|
ลุนพุฒิ
|
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
|
คุณอานวย/ผู้ช่วยคุณลิขิต
|
วัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้
1.เพื่อแลกเปลี่ยนวิธีการเตรียมบทความวิจัย
ตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติและนานาชาติ
2.เพื่อเลือกแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่
กลุ่มวิจัย และบริการวิชาการ มีประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง
การเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ดังนี้
กิจกรรมที่ 1
แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ เกี่ยวกับการ
เผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ มีรายละเอียดดังนี้
ประเด็นหลัก 1. การเตรียมผลงานวิจัย
รายละเอียด การเตรียมผลงานวิจัยเตรียมเผยแพร่
เวทีระดับชาติ และนานชาติ
1.
วางแผนพัฒนาผลงานวิจัย โดยการพิจารณา
ปัญหาความต้องการ แนวโน้มปัญหา ทิศทางนโยบายการพัฒนาประเทศ
เช่นประเด็นปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ วัยแรงงาน และอุบัติเหตุจราจร เป็นต้น
2.
ค้นหาแหล่งเผยแพร่ที่มีคุณภาพและ
ประเด็นในการนำเสนอผลงานวิจัย สอดคล้องกับผลงานวิจัยของเรา
3.
ศึกษาวิธีการ ระเบียบ การดำเนินการ Submit เช่น แบบฟอร์ม ระยะเวลา
4.
เตรียมต้นฉบับบทความวิจัย
โดยให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งภายใน และภายนอกสถาบัน
ช่วยตรวจคุณภาพของผลงาน
5.
เตรียมสำรอง
และคัดลอกไฟล์ข้อมูลที่จะนำเสนอไว้หลายแหล่ง เพื่อที่จะได้วางแผนแก้ไจปัญหาได้ทันช่วงที
หากเกิดปัญหากับไฟล์ ต้นฉบับ
6.
ประสานและตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดประชุมวิชาการ ผู้จัด
สถานที่ ข้อมูลการจัดประชุมวิชาการย้อนหลัง
7.
ศึกษาแหล่งให้ทุน
ซึ่งสำหรับทุนของสถาบันพระบรมราชชนก(สบช.) ซึ่งจะพิจารณาทุน
ปลายเดือนธันวาคมของทุกปี
ผู้วิจัยต้องวางแผนการส่งผลงานเพื่อรับการคัดเลือกตามช่วงเวลาที่กำหนดและได้รับการตอบรับ
ประมาณเดือน พฤศจิกายน เพื่อขอทุนการสนับสนุนการนำเสนอผลงานวิจัยในเวที
ระดับนานาชาติ
8.
การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ เวที ที่น่าสนใจอีกเวที หนึ่ง คือ “Lymphoma”โดย Search ไปที่
“Oncology Conference”มีหลายเวที และหลากหลายประเทศ
ที่จัดประชุมนำเสนอผลงานวิจัย ตามประเด็นและเนื้อหาที่นักวิจัยถนัด หรือ ชอบ
จะทำให้นักวิจัยมีควาสุขกับการนำเสนอผลงานวิชาการ
ผู้เล่าดร.
ศุภดี แถวเพีย ดร.สุทธิดา
อินทรเพชร อาจารย์ทรงสุดา กัณชัย
สรุปความรู้ที่ได้ ขั้นตอนการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ
และการขอทุนสนับสนุนจากสบช.
ประเด็นหลักการเตรียมผลงานวิจัย
รายละเอียด2.
การสร้างแรงจูงใจ
1.
แรงจูงใจภายในของนักวิจัย เกิดจากเหตุผล
ความต้องการมีประสบการณ์การไปร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ โดยมีเป้าหมายที่จะไปนำเสนอผลงานวิจัยในระดับชาติ สำหรับนักวิจัย
มีความอยากมีประสบการณ์การไปนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ เริ่มต้นจากการไปนำเสนอเป็น Electronic Poster Presentation เก็บเกี่ยวประสบการณ์
ต่อมาก็พัฒนาเป็น Oral Presentation
ในทีสุด 2) “การไปนำเสนอครั้งแรก
มีผลการอยากไปครั้งที่สอง” ทำให้มีความมั่นใจ จากการได้คำแนะนำจาก ผู้เชี่ยวชาญไปพัฒนาผลงานวิจัย
และได้เรียนรู้กระบวนการนำเสนอผลงานระดับนานาชาติ
2.
แรงจูงใจจากเพื่อน เพื่อนร่วมงานกระตุ้น
โดยการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมวิชาการในเวทีต่างๆ จากนั้น ก็ส่งเสริม
แรงใจให้กัน ไม่ว่าจะเป็น ช่วยเตรียมต้นฉบับ ช่วยแนะเทคนิคการไปนำเสนอ
3.
แรงจูงใจจาก
กลุ่ม จากเครือข่าย เช่น สมาคมการพยาบาลแห่งประเทศไทย
สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกระบวนการสนับสนุนเครือข่าย
ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ตลอดจน
สมาคมพยาบาลฯ มีผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจคุณภาพของผลงานวิจัย ช่วยชี้แนะเทคนิค การนำเสนอระดับนานาชาติ
4.
แรงจูงใจจากการสนับสนุนของสถาบันเช่น ทุนสนับสนุน
ผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ การเชิดชูเกียรตินักวิจัย ระบบและกลไกการการสนับสนุนการตีพิมพ์เผยแพร่
เพื่อให้นักวิจัยมั่นใจ เช่น การช่วยเหลือนักวิจัยพัฒนาสื่อประกอบการนำเสนอ
ช่วยสนับสนุนฝึกซ้อมการนำเสนอ การกำหนดเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติผลงานของราชการ
สรุปความรู้ที่ได้ แรงจูงใจ 1) แรงจูงใจของนักวิจัย 2)
แรงจูงใจจากเพื่อนร่วมงานที่กระตุ้นส่งเสริมนักวิจัย 3) แรงจูงใจจากเครือข่ายการทำผลงานวิจัย
เช่น สมาคมพยาบาลฯ 4) แรงจูงใจ จากการสนับสนุนของสถาบัน เช่น
ทุนสนับสนุน การเชิดชูเกียรตินักวิจัย
วางแผนการแลกเปลี่ยนครั้งต่อไป
วันที่ 15 พฤษภาคม 2558 เวลา 15.00- 16.00 น ประเด็น การเขียนบทความ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
จบการทากิจกรรม
COP ครั้งที่ 1 เวลา 16.30 น.
(................................)
นางศรีสุดา ลุนพุฒิ
ผู้บันทึก การแลกเปลี่ยน
ภาพกิจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น