วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กลุ่มวิจัย และบริการวิชาการ ครั้งที่ 2 เรื่อง การเตรียมบทความวิจัย



บันทึกกิจกรรม CoP

กลุ่มวิจัย และบริการวิชาการ   ครั้งที่ 2
เรื่อง การเตรียมบทความวิจัย 


วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้  15  พฤษภาคม  2558 เวลา  15.00 – 16.00  น.
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1
นางสาวศุภวดี   
แถวเพีย        
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ประธานกลุ่ม/คุณกิจ
2
นางสุวารี
คำศิริรักษ์
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ                    
คุณกิจ
3
นางสาวทรงสุดา 
กัณชัย   
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ                    
คุณกิจ
4
นางจุรี
แสนสุข
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ                    
คุณกิจ
5
นางศรีสุดา 
ลุนพุฒิ
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  
คุณอานวย/ผู้ช่วยคุณลิขิต
วัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้
1. เพื่อแลกเปลี่ยนการเตรียมบทความภาษาไทย
2. เพื่อแลกเปลี่ยนการเตรียมบทความภาษาอังกฤษ
กลุ่มวิจัย และบริการวิชาการ   มีประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เรื่อง  การเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ  ดังนี้
     แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ เกี่ยวกับการ การเตรียมบทความวิจัยภาษาไทย และภาษาอังกฤษ มีรายละเอียดดังนี้
ประเด็นหลัก  1.  การเตรียมบทความวิจัยฉบับภาษาไทย  มีรายละเอียดดังนี้
1.       ศึกษาแนวทางการทำบทความวิจัยตามเวที  หรือ วารสาร นั้นๆกำหนด โดยแต่ เวทีก็กำหนด และ ดำเนินการตามแบบฟอร์ม จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและ ปรับแก้ไขน้อย
2.       การเขียนผลการวิจัย คำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
2.1   เขียนแสดงให้เห็นจุดเน้นสำคัญของผลการวิจัย ในครั้งนี้ เช่นการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการ Stimulation  เขียนเน้นให้เห็นขั้นตอนของการจัดกระบวนการเรียนการสอน
2.2    การใช้ตาราง ช่วยในการอธิบาย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจมากยิ่งขี้น
3.       การเขียนเอกสารอ้างอิงในบทความ ให้สัมพันธ์กันกับ แบบฟอร์มนั้นๆ กำหนด หากนักวิจัยเลือกเวที หรือ วารสารที่กำหนดให้เขียน เอกสารอ้างอิงตามที่นักวิจัยถนัด นักวิจัยจะเขียนงานได้เร็ว  และมีความสุข  หรือ ใช้โปรแกรมการเขียนเอกสารอ้างอิง
4.       ปรึกษาผู้เชี่ยว ช่วยชี้แนะพัฒนาบทความวิจัย นักวิจัยเปิดใจกว้างรับฟังข้อเสนอแนะ และพัฒนาผลงานวิจัย โดย งานวิจัยของวิทยาลัยมีคลินิกวิจัยช่วยเหลือสนับสนุน ในประเด็นนี้อยู่  แต่ยังมีนักวิจัยมาใช้บริการน้อย  งานวิจัยจะประชาสัมพันธ์ให้นักวิจัยมาใช้บริการมากขึ้นอีก
5.       การส่งบทความไปนำเสนอ มี 2  ลักษณะ ได้แก่ 1) การส่งทาง Online  2) Submit Online

ประเด็นหลัก  2.  การเตรียมบทความวิจัยฉบับภาษาอังกฤษ  มีรายละเอียดดังนี้
1.       เริ่มต้นจากการพัฒนาบทความภาษาไทย  และนักวิจัยมีความมุ่งมั่น แปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง
2.       ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ที่เข้าใจภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  และมีความถนัดการใช้ภาษาทางวิชาการ  ให้ช่วยตรวจสอบการใช้ภาษา การใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
3.       การสนับสนุนของสถาบัน โดยสถาบันจัดสรรสนับสนุนทุนวิจัยในส่วนของการแปลบทความเอาไว้
4.       การเตรียมต้นฉบับ ตามแบบฟอร์มของเวที หรือ วารสารนั้นๆ กำหนด
5.       การตรวจคุณภาพเวทีนำเสนอที่สามารถนับ QA ได้   ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา
ข้อเสนอแนะ
งานวิจัยของวิทยาลัย ควรประสาน ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ที่เข้าใจภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  และมีความถนัดการใช้ภาษาทางวิชาการ  ให้ช่วยตรวจสอบการใช้ภาษา การใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เพื่อเอื้อความสะดวกให้กับนักวิจัย

วางแผนการแลกเปลี่ยนครั้งต่อไป วันที่  22 พฤษภาคม 2558  เวลา 15.00- 16.00   ประเด็น  การนำเสนอ กิจกรรม Show and Share
จบการทากิจกรรม COP ครั้งที่ 1 เวลา 16.30 .



                                                                                  (................................)
                                                                                   นางศรีสุดา ลุนพุฒิ
                 ผู้บันทึก การแลกเปลี่ยน


ภาพกิจกรรม



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น