วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง (BCNKK Model) ครั้งที่ 1/2563 กลุ่มวิชาการ

วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : 6 ธันวาคม 2562

กิจกรรมที่ 1. กำหนดเป้าหมายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กิจกรรมที่ 2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง
กิจกรรมที่ 3. องค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ครั้งที่ 1
กิจกรรมที่ 4. วางแผนการจัดการความรู้ครั้งต่อไป และ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์



ผู้เข้าร่วม       1. นางธรณิศ สายวัฒน์
                   2. นางสมใจ  เจียระพงษ์
                   3. นางดวงชีวัน  เบญจมาศ
                   4. นางพิริยากร  คล้ายเพ็ชร
                   5.  นางสาวปราณี  แสดคง
                   6. นางสาวกันนิษฐา  มาเห็ม
                   7. นางรัชนี  พจนา
                   8. นางรุ่งทิพย์  พรหมบุตร
                   9.  นางเอมอร   บุตรอุดม
                   10. นางภาสินี  โทอินทร์
                   11. นางจรรยา  คนใหญ่      ผู้จดบันทึก
                   12. นางสาวสรัญญา  เปล่งกระโทก
                   13. นางสาวสายใจ  คำทะเนตร
                   14. นางพัฒนี  ศรีโอษฐ์
                   15. นางสาวพลอยลดา  ศรีหานู
                   16. นางเสาวลักษณ์  ชาญกัน
                   17.  นางทิวรรรณ   ทัพซ้าย
                   18. นางสาวสายสุดา  จันหัวนา
                   19. นายวิทยา  วาโย
                   20. นางสาวชุตินันท์ ไก่ฟ้า
                   21. นางสาวศุกลรัตน์  บุญสิทธิ์
        22. นายกฤษฎา  นามวิชัย

กิจกรรมที่ 1. กำหนดเป้าหมายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วัตถุประสงค์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. เพื่อแสวงหาความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง
2. สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
3. มอบหมายการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

กิจกรรมที่ 2.  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง

สมาชิกคนที่ 1-2 :  เสนอให้ร่วมกันกำหนดคำจำกัดความของทักษะการคิดขั้นสูง เพื่อจะได้มีแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินการและมีวิธีการที่ชัดเจนและดำเนินการให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและบรรลุวัตถุประสงค์

สมาชิกคนที่ 3-4 : เสนอแนะ ให้สมาชิกร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และจากประสบการณ์ในการกำหนดผลลัพธ์ของการเรียนรู้และวางแผนการดำเนินการจัดการความรู้ของกลุ่มในแต่ละครั้งให้ชัดเจน โดยในการจัดการความรู้ครั้งที่ 1 ควรประกอบด้วยการระบุคำจำกัดความทักษะการคิดขั้นสูงวิธีการจัดการเรียนการสอนที่จะส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดการพัฒนาตนเองสู่ทักษะการคิดขั้นสูง

สมาชิกคนที่ 5 : เสนอแนะเพิ่มเติม นอกจากสมาชิกจะร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และจากประสบการณ์ในการกำหนดผลลัพธ์ของการเรียนรู้และวางแผนการดำเนินการจัดการความรู้ของกลุ่มในแต่ละครั้งให้ชัดเจน โดยในครั้งนี้ นอกจากจะร่วมกันระบุคำจำกัดความ “ทักษะการคิดขั้นสูง” และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่จะส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดการพัฒนาตนเองสู่ทักษะการคิดขั้นสูง ควรมีการวางแผนแนวทางและวิธีการประเมินทักษะการคิดขั้นสูงด้วย

สมาชิกคนที่ 6-7 : เสนอแนะเพิ่มเติม จากสมาชิกที่กล่าวมาเบื้องต้น แต่ให้เพิ่มความชัดเจนโดย ช่วยกันแลกเปลี่ยนและกำหนดรายวิชาที่จะสามารถพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อถอดองค์ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมาจากผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนและนำมาแลกเปลี่ยนในครั้งที่ 2 เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้และแนวทางที่ชัดเจน นำสู่การสรุปเป็น Model ของวิทยาลัยต่อไป

สมาชิกคนที่ 8-10 : เสนอแนะคำจำกัดความทักษะการคิดขั้นสูงโดย เลือกจากผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ ในด้านของทักษะทางปัญญาเป็นหลักโดย สามารถบูรณาการความรู้จากศาสตร์ต่างๆ เพื่อตัดสินใจให้การพยาบาลแบบองค์รวม

สมาชิกคนที่ 11-13 : เห็นด้วยกับการให้คำจำกัดความทักษะการคิดขั้นสูงโดย เลือกจากผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ ในด้านของทักษะทางปัญญา เสนอแนะเพิ่มเติมให้เลือกข้อที่สำคัญและชัดเจนโดยเลือกในหัวข้อ 3.3 สามารถสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย 3.4 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพและที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้ประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพในการให้บริการการพยาบาล และข้อ 3.5 สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทางการวิจัย และ นวตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา

สมาชิกคนที่ 14-15 : เห็นด้วยกับสมาชิกคนที่ 6 เสนอแนะเพิ่มเติมในส่วนของการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามอัตลักษณ์ของวิทยาลัย โดย พัฒนาสมรรถนะโดดเด่นด้านการพยาบาลชุมชน (SIM - C ) โดยเลือกการพัฒนาผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถเป็นนวตกรด้านสุขภาพ (Health Innovator) ร่วมกับ การพัฒนาทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์

สมาชิกคนที่ 16 : สรุปคำจำกัดความของการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง โดยใช้ ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ ในด้านของทักษะทางปัญญา ข้อ 3.3,3.4,3.5 และ การพัฒนาสมรรถนะโดดเด่นด้านการพยาบาลชุมชน (SIM- C ) โดยเลือกการพัฒนาผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถเป็นนวตกรด้านสุขภาพ (Health Innovator) ร่วมกัน

สมาชิกคนที่ 17 : เสนอการพัฒนาเครื่องมือวัด โดยให้ยึดตามเครื่องมือประเมินทักษะ TQF ของวิทยาลัยเป็นหลัก และมีแนวทางเดียวในการประเมิน

สมาชิกคนที่ 18 : เสนอแนะการกำหนดแนวทางการพัฒนาผู้เรียนสู่การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงตามความเหมาะสมของชั้นปี เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่ชัดเจน

สมาชิกคนที่ 19-20 : เห็นด้วยกับสมาชิกคนที่ 18  และเสนอแนะเพิ่มเติมให้เลือกและคัดสรรในส่วนของรายวิชาหลักในปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมาและรายวิชาที่กำลังดำเนินการอยู่ในปีการศึกษา 2562 ที่มีการดำเนินการออกแบบและจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงในแต่ละด้านตามความเหมาะสมของสมรรถนะผู้เรียนและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่แผนการจัดการศึกษา และการพัฒนารูปแบบ(Model) ที่ชัดเจน และสามารถนำไปใช้ได้ต่อไป

สมาชิกคนที่ 21 : เมื่อระบุทักษะการคิด และชั้นปีที่เหมาะสมในการพัฒนาแล้ว ต้องมีการระบุรายวิชาตัวอย่างเบื้องต้น ในแต่ละชั้นปีโดยครอบคลุมทุกชั้นปี ที่ดำเนินการมาแล้วในปีการศึกษา 2562  มาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในครั้งที่ 2 และในรายวิชาที่ยังไม่ถึงรอบดำเนินการให้นำผลการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2561 มาแลกเปลี่ยนเพื่อการพัฒนารูปแบบ ในปีการศึกษา 2562 ต่อไป

สมาชิกคนที่ 22 : เสนอให้ผู้รับผิดชอบในการนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักในแต่ละรายวิชา ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบวิชาและผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนหรือผู้ร่วมนิเทศในรายวิชา

สมาชิกทุกคน : ร่วมกันเสนอให้สมาชิกร่วมกันวางแผนกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการครั้งที่ 2 โดยเลือกรายวิชาที่เป็นตัวอย่างเบื้องต้น 4 โดยครอบคลุม 4 ชั้นปี และกำหนดหัวข้อในการแลกเปลี่ยน และวางแผนกำหนดเป้าหมายการแลกเปลี่ยน ในแต่ละครั้งของการแลกเปลี่ยน  สรุปรายวิชาที่แลกเปลี่ยนในครั้งที่ 2 ให้นำเสนอ วิธีการ รูปแบบการสอน เครื่องมือวัด ผลประเมิน ปัญหาอุปสรรค รวมทั้งแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุงพัฒนา 


กิจกรรมที่ 3.   องค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ครั้งที่ 1

เรื่องในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง

3.1 คำจำกัดความ  : การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง
          ทักษะการคิดขั้นสูง หมายถึง ผู้เรียนสามารถสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย มีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพและที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้ประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพในการให้บริการการพยาบาล และสามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทางการวิจัย และ นวตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา รวมทั้ง มีสมรรถนะโดดเด่นด้านการพยาบาลชุมชน โดยมีความรู้ความสามารถเป็นนวตกรด้านสุขภาพ

3.2 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงชั้นปีที่  1   
          ทักษะการคิดขั้นสูงตามสมรรถนะ
ประกอบด้วย positive thinking , Systematic thinking, Analytical thinking , Creative thinking, problem solving
          รายวิชาที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อทักษะการคิดขั้นสูง
ประกอบด้วย วิชาทักษะการคิดและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ วิชามโมติและกระบวนการพยาบาล วิชาทักษะชีวิตและการจัดการ
          รายวิชาที่จะนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนในครั้งที่ 2
                   วิชาทักษะการคิดและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

3.3 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงชั้นปีที่ 2  
          ทักษะการคิดขั้นสูงตามสมรรถนะ
ประกอบด้วย Innovative  thinking, Creative thinking, problem solving
          รายวิชาที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อทักษะการคิดขั้นสูง
ประกอบด้วย วิชาการสื่อสาร การสอน และการให้การปรึกษาทางสุขภาพ วิชานวัตกรรมทางการพยาบาล วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 และ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
          รายวิชาที่จะนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนในครั้งที่ 2
                   วิชานวัตกรรมทางการพยาบาล   
 
3.4 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงชั้นปีที่  3  
          ทักษะการคิดขั้นสูงตามสมรรถนะ
ประกอบด้วย Innovative thinking, Systematic thinking, Problem solving
          รายวิชาที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อทักษะการคิดขั้นสูง
ประกอบด้วย วิชาวิจัยทางการพยาบาล  วิชาธุรกิจเบื้องต้นในการบริการ วิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 และวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน  1
          รายวิชาที่จะนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนในครั้งที่ 2
                   วิชาวิจัยทางการพยาบาล 

3.5 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงชั้นปีที่ 4  
          ทักษะการคิดขั้นสูงตามสมรรถนะ
ประกอบด้วย  Critical thinking, Problem solving
          รายวิชาที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อทักษะการคิดขั้นสูง
ประกอบด้วย วิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น วิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 และวิชาแนวโน้มและพัฒนาการฯ
          รายวิชาที่จะนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนในครั้งที่ 2
                   วิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น


กิจกรรมที่ 4. วางแผนการจัดการความรู้ครั้งต่อไป และ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
กำหนดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันที่ 27 ธ.ค. 62 เวลา 9.00 - 12.00 น. ห้องประชุม ห้องพักอาจารย์ 3

4.1 รายวิชา ที่จะนำองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยน
          วิชาทักษะการคิดและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (อ.วิทยา วาโย)
          วิชานวัตกรรมทางการพยาบาล (อ.ปราณี แสดคง)
          วิชาวิจัยทางการพยาบาล(อ.รัชนี  พจนา)
          วิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น(อ.กันนิษฐา มาเห็ม)

4.2 แนวทางการแลกเปลี่ยน
          1. นำเสนอวิธีการ/รูปแบบ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงที่กำหนดตามชั้นปี
          2. วิธีการ/เครื่องมือวัด กระบวนการหรือผลลัพธ์ของการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงตามที่ดำเนินการ
          3. ผลประเมินกระบวนการการดำเนินการในการจัดการเรียนการสอน
          4. ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไขและปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง

4.3 เป้าหมายการแลกเปลี่ยนครั้งที่ 2
          1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้
          2. สร้าง/พิจารณาเครื่องมือวัดที่ชัดเจน
3. ได้แนวทางการพัฒนา Model

4.4 กำหนดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
          ครั้งที่ 3 วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยเป้าหมาย ได้ Model ที่สามารถนำไปใช้ได้
จบการทำงาน Cop การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงเวลา 12.00 น.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น