วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง (BCNKK Model) ครั้งที่ 2/2563 กลุ่มวิชาการ


วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ :  27 ธันวาคม 2562

กิจกรรมที่ 1. กำหนดเป้าหมายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กิจกรรมที่ 2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนา Critical Thinking  Model
กิจกรรมที่ 3. องค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ครั้งที่ 2
กิจกรรมที่ 4. วางแผนการจัดการความรู้ครั้งต่อไป และ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์



ผู้เข้าร่วม        1. นางธรณิศ   สายวัฒน์

                   2. นางสมใจ   เจียระพงษ์
                   3. นางดวงชีวัน   เบญจมาศ
                   4. นางพิริยากร   คล้ายเพ็ชร
                   5. นางสาวปราณี   แสดคง
                   6. นางสาวกันนิษฐา   มาเห็ม
                   7. นางรัชนี   พจนา
                   8. นางรุ่งทิพย์   พรหมบุตร
                   9.  นางเอมอร   บุตรอุดม
                   10. นางภาสินี   โทอินทร์
                   11. นางจรรยา   คนใหญ่
                   12. นางสาวสรัญญา  เปล่งกระโทก
                   13. นางสาวสายใจ    คำทะเนตร
                   14. นางพัฒนี   ศรีโอษฐ์
                   15. นางสาวพลอยลดา  ศรีหานู   ผู้จดบันทึก
                   16. นางเสาวลักษณ์   ชาญกัน
                   17. นางทิพวรรรณ     ทัพซ้าย
                   18. นางสาวสายสุดา   จันหัวนา
                   19. นายวิทยา  วาโย
                   20. นางสาวชุตินันท์   ไก่ฟ้า
                   21. นางสาวศุกลรัตน์  บุญสิทธิ์
                   22. นายกฤษฎา  นามวิชัย



กิจกรรมที่ 1 กำหนดเป้าหมายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. แสวงหาความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับ Critical Thinking  Model
2. สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการ Critical Thinking  Model เพื่อนำไปใช้ประโยชน์
3. มอบหมายการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในรายวิชา


กิจกรรมที่ 2  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนา Critical Thinking  Model

สมาชิกคนที่ 1 :  เสนอแนะให้สมาชิกร่วมกันปรับคำจำกัดความ “ทักษะการคิดขั้นสูง” จากการจัดการความรู้ครั้งที่ 1 ให้เพิ่มการเชื่อมโยงกับสมรรถนะบัณฑิตที่ตอบสนองอัตลักษณ์ คือ  SAP ซึ่งเป็นตัววัดนักศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก ประกอบด้วย Service mind, Analytical thinking, Participation

สมาชิกคนที่ - 3 : เสนอโดยเฉพาะAnalytical thinking ซึ่งเป็นตัวที่ควรเน้น เป็นการคิดเชิงวิเคราะห์ จำแนก แจกแจงขั้นตอนต่าง ๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างขั้นตอนเหล่านั้นเพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น

สมาชิกคนที่ 4 - 5 : เสนอให้ร่วมกันกำหนดประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับ Model เพื่อจะได้มีแนวทางที่ชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกัน ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สมาชิกคนที่ 5 - 6 : เสนอตัวแรกของการเริ่ม Model คือ Problem เป็นการกระตุ้นนักศึกษาให้ได้คิด เช่น การใช้ Case base, Scenario, Problem-based Learning (PBL)

สมาชิกคนที่ 7 – 8 : เสนอแนะให้เพิ่มเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ และการตั้งคำถาม นำสู่ทักษะการคิดขั้นสูงได้

สมาชิกคนที่ 9 : มีการยกตัวอย่างวิธีการจัดการเรียนการสอนที่จะส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดการพัฒนาตนเองสู่ทักษะการคิดขั้นสูง ในผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ

สมาชิกคนที่ 10 – 11 : เสนอ Critical Thinking  Model ให้เพิ่มขั้นตอนที่ 1  Analysis ต่อจาก Problem เพราะเป็นการวิเคราะห์เหตุการณ์ หรือ สถานการณ์ในการจัดการเรียนการสอน ที่ต้องใช้ความคิดในการตัดสินใจจากข้อมูลที่ให้

สมาชิกคนที่ 12 – 13 : เห็นด้วยกับ สมาชิกคนที่ 10 – 11 ให้ Analysis เป็นขั้นตอนที่ 1 และได้เพิ่มขั้นตอนที่ 2 เป็น Communication การอภิปรายร่วมกัน สามารถที่จะรับฟัง พูด หรือเขียนได้อย่างดี มีการระมัดระวังรูปแบบการสื่อสารของตนเองให้เหมาะสม

สมาชิกคนที่ 14 – 15 : เสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนที่ 3 Open-Mindedness คือ การยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างจากตนเองได้ เปิดใจกว้าง ก้าวข้ามความยึดมั่นในสิ่งเดิม ๆ อคติส่วนตัว ค่านิยมเดิมที่ยึดถืออยู่ กล้าที่จะคิดต่าง

สมาชิกคนที่ 16 – 18 : เสนอแนะเกี่ยวกับขั้นตอนที่ 4 และ 5 คือ Problem Solving, Creativity ซึ่ง Problem Solving คือ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งจะทำให้สามารถมองปัญหา ได้ในมุมมองที่แตกต่าง สามารถใช้จินตนาการในการแก้ปัญหาได้อย่างยอดเยี่ยม และสามารถคาดการณ์ ถึงปัญหาในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น และ Creativity คือ การคิดให้ได้มาซึ่งสิ่งใหม่ๆ ออกมาผ่านจินตนาการ แรงบรรดาลใจ เป็นการออกแบบ ที่หลากหลาย

สมาชิกคนที่ 10 : สรุปทักษะการคิดขั้นสูงเริ่มต้นจาก Problem  และเข้าสู่ Model ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่  1.) Analysis  2.) Communication 3.) Open-Mindedness 4.) Problem Solving และ 5.) Creativity ในแต่ละขั้นตอนมีกระบวนการตรวจสอบ PDCA

สมาชิกคนที่ 19 : เสนอแนะเพิ่มเติม ควรมีการวางแผนแนวทางและวิธีการประเมินทักษะการคิดขั้นสูงจากการใช้ Model ด้วย

สมาชิกคนที่ 1 : เสนอแนะเพิ่มเติม จากสมาชิกที่กล่าวมาเบื้องต้น ให้ช่วยกันแลกเปลี่ยนและกำหนดรายวิชาที่จะสามารถพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อถอดองค์ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมาจากผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนและนำมาแลกเปลี่ยนในครั้งที่ 3 เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้และแนวทางที่ชัดเจน นำสู่การสรุปเป็น Model ของวิทยาลัยต่อไป

สมาชิกคนที่ 3 : เสนอการพัฒนาเครื่องมือวัด โดยให้ยึดตามเครื่องมือประเมินทักษะ TQF ของวิทยาลัยเป็นหลัก และมีแนวทางเดียวในการประเมิน

สมาชิกคนที่ 2 : เห็นด้วยกับสมาชิกคนที่ 1  และเสนอแนะเพิ่มเติมให้เลือกและคัดสรรในส่วนของรายวิชาที่กำลังดำเนินการอยู่ในปีการศึกษา 2562 ที่มีการดำเนินการออกแบบและจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงตามความเหมาะสมของสมรรถนะผู้เรียนและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่แผนการจัดการศึกษา และการพัฒนารูปแบบ  ( Model ) ที่ชัดเจน และสามารถนำไปใช้ได้ต่อไป

สมาชิกคนที่ 5 : เสนอให้ผู้รับผิดชอบในการนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักในแต่ละรายวิชา ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบวิชาและผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนหรือผู้ร่วมนิเทศในรายวิชา

สมาชิกคนที่ 7 : เสนอให้สมาชิกร่วมกันวางแผนกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการครั้งที่ 3 โดยเลือกรายวิชาที่เป็นตัวอย่างเบื้องต้น 6 รายวิชา และกำหนดหัวข้อในการแลกเปลี่ยน และวางแผนกำหนดเป้าหมายการแลกเปลี่ยน สรุปรายวิชาที่แลกเปลี่ยนในครั้งที่ 3 ให้นำเสนอ วิธีการ รูปแบบการสอน เครื่องมือวัดประเมินผล ปัญหาอุปสรรค รวมทั้งแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุงพัฒนา

กิจกรรมที่ 3   องค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ครั้งที่ 2

เรื่องในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : Critical Thinking  Model

3.1 คำจำกัดความ  : ทักษะการคิดขั้นสูง
          ทักษะการคิดขั้นสูง หมายถึง ผู้เรียนสามารถสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย มีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพและที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้ประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพในการให้บริการการพยาบาล และสามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทางการวิจัย และ นวัตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา รวมทั้ง มีสมรรถนะโดดเด่นด้านการพยาบาลชุมชน โดยมีความรู้ความสามารถเป็นนวัตกรด้านสุขภาพ

3.2 ขั้นตอนของ Critical Thinking  Model
           1.) Analysis
           2.) Communication                                                                                                   
           3.) Open-Mindedness
           4.) Problem Solving
          5.) Creativity









3.3 รายวิชาที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 6 รายวิชา ดังนี้
1.)     ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 
2.)     ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ 
3.)     ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช  
4.)     ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2 
5.)     ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกฯ 2 
6.)     ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1


กิจกรรมที่ 4. วางแผนการจัดการความรู้ครั้งต่อไป และ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

4.1 รายวิชา ที่จะนำองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยน
          รายวิชาในชั้นปีที่ 2
1.)     ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1  (อ.รุ่งทิพย์)
2.)     ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ  (อ.รุ่งทิพย์)
          รายวิชาในชั้นปีที่ 3
3.)     ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช   (อ.ธรณิศ)
4.)     ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2  (อ.พิริยากร)
5.)     ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกฯ 2  (อ.ดวงชีวัน)
6.)     ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 (อ.ปราณี)

4.2 แนวทางการแลกเปลี่ยน
          1. นำเสนอการนำ Critical Thinking  Model ไปใช้ในการออกแบบวิธีการ/รูปแบบ การจัดการเรียนการสอน
          2. วิธีการ/เครื่องมือวัด กระบวนการหรือผลลัพธ์
    3. ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไขและปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนา Critical Thinking  Model

4.3 เป้าหมายการแลกเปลี่ยนครั้งที่ 3
          1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้
          2. สร้าง/พิจารณาเครื่องมือวัดที่ชัดเจน
3. ได้แนวทางการนำ Critical Thinking  Model ไปใช้

4.4 กำหนดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กำหนดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 3 วันที่ 10 มกราคม 2563 เวลา 9.00 - 12.00 น. ห้องประชุม ห้องพักอาจารย์ 3 โดยเป้าหมาย ได้ Model ที่สามารถนำไปใช้ได้ จบการทำงาน Cop การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงเวลา 12.00 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น