วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ระเบียบการขอใช้บริการห้องเรียนและห้องประชุมของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น


วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้
วันที่ 8 ธันวาคม 2560  ห้องประชุม A 101 เวลา 13.00-16.00 น.


ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1. นางวิไลวรรณ วัฒนานนท์
2. นางสุพิศตรา พรหมกูล
3. นางสาวจุรี แสนสุข
4. นางสาวปวินตรา มานาดี
5. นางสาวประภัสศรี ชาวงษ์
6. นางสาวจตุพร พลเยี่ยม
7. นางสาวจริยา ศิริรส
8. นางดาราพร หาญสุริย์
9. นางอรวรรณ โคตรโยธา
10. นางอารีย์ จงใจ
11. นางสาวอุมาภรณ์ สำนักบ้านโคก
12. นางสาวสุภัสสร ยอดประทุม
13. นายวัฒนา ยศตีนเทียน
14. นางสาวเพชรรัตน์ เจอะแก่นหอม
15. นายนิพนธ์ บุตรทา
16. นายไพรจิตร์ พิมหาญ
17. นางมยุรี มีชัย
18. นางสาวเจษฎา จันทะลุน
19. นางสาวสุวคนธ์ แก้วอุดม 



วัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้

1. เพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้การปฏิบัติงานในปัจจุบันเกี่ยวกับระเบียบการขอใช้บริการห้องเรียน/ห้องประชุมของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
2. เพื่อวางแผนการนำองค์ความรู้ปรับปรุงการปฏิบัติงานครั้งที่ 1

กลุ่มบริหารและยุทธศาสตร์ มีประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องระเบียบการขอใช้บริการห้องเรียน/ห้องประชุมของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ สิ่งที่ทำอยู่เกี่ยวกับระบบและกลไกระเบียบการขอใช้บริการห้องเรียน/ห้องประชุมของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น มีรายละเอียดดังนี้

1. ระเบียบการขอใช้บริการห้องเรียน/ห้องประชุมของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่นที่มีอยู่แล้ว
- มีแบบฟอร์มการขอใช้ห้องเรียน/ห้องประชุม อยู่ที่งานอาคารและสถานที่
- มีรายละเอียดของแต่ละห้องชัดเจน จำนวนคนที่บรรจุได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องขยายเสียง
- มีระบบจองห้องเรียน/ห้องประชุมออนไลน์ ปัจจุบันสามารถเข้าได้เฉพาะเจ้าหน้าที่งานอาคารและสถานที่
2. ปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมา
- ขาดระบบและกลไกระเบียบการขอใช้บริการห้องเรียน/ห้องประชุมในการดำเนินงานที่ชัดเจน
- ขาดการประชาสัมพันธ์ขั้นตอนระเบียบการขอใช้บริการห้องเรียน/ห้องประชุมแก่บุคลากรในวิทยาลัยฯ
- บุคคลที่ใช้ห้องเรียน ไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบก่อน
- เจ้าหน้าที่ไม่ทราบว่าในแต่ละวันมีใครเปิดใช้ห้องไหนบ้าง เกิดปัญหาใช้ห้องตรงกัน 
- คนที่แจ้งจองห้องล่วงหน้าไม่ได้ใช้ห้อง เนื่องจากกิจกรรมชนกับคนที่ไม่ได้แจ้งไว้
- ขอใช้ห้องฉุกเฉินในการทำกิจกรรมโดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้า ไม่ระบุรายละเอียดของกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ ทำให้เจ้าหน้าที่ ผู้ที่รับผิดชอบจัดเตรียมสถานที่ไม่ทัน
- ขอห้องที่ไม่เหมาะสมกับกิจกรรมและจำนวนคนที่ทำกิจกรรม ทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้า

กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปองค์ความรู้ได้ ดังนี้

- ควรจัดทำระบบและกลไกระเบียบการขอใช้บริการห้องเรียน/ห้องประชุม
- ประชาสัมพันธ์ขั้นตอนระเบียบการขอใช้บริการห้องเรียน/ห้องประชุมแก่บุคลากรในวิทยาลัยฯ เพื่อดำเนินไปในแนวทางเดียวกัน
- ผู้ต้องการขอใช้ห้องเรียน/ห้องประชุมปฏิบัติตามระบบและกลไกที่ประกาศใช้อย่างเคร่งครัด
- ประเมินความพึงพอใจของการใช้ระบบและกลไกระเบียบการขอใช้บริการห้องเรียน/ห้องประชุม
- ปรับปรุงและพัฒนาระบบและกลไกในการขอใช้อาคารสถานที่

กิจกรรมที่ 3 แนวทางและระยะเวลาในการนำไปประยุกต์ใช้

- จัดทำระบบและกลไกระเบียบการขอใช้บริการห้องเรียน/ห้องประชุม ใช้เวลา 1 สัปดาห์
- ประชาสัมพันธ์ระบบและกลไกแก่บุคลากรในวิทยาลัยฯ ใช้เวลา 1 สัปดาห์
- ประเมินความพึงพอใจของการใช้ระบบและกลไก ใช้เวลา 1 เดือน
- ปรับปรุงและพัฒนาระบบและกลไก ใช้เวลา 1 สัปดาห์

จบการทำกิจกรรม COP ครั้งที่ 1 เวลา 16.00 น.

ผู้บันทึกการแลกเปลี่ยน  นางสาวปวินตรา  มานาดี

ชื่อระบบ ระบบและกลไกระเบียบการขอใช้บริการห้องเรียน/ห้องประชุมของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีการดำเนินงานตามระเบียบการขอใช้บริการห้องเรียน/ห้องประชุม




                

14 ความคิดเห็น:

  1. มีระบบกลไกระเบียบชัดเจนดีมากค่ะ อนาคตพัฒนาเป็นระบบจองออนไลน์

    ตอบลบ
  2. ชื่นชมทุกท่านที่เกี่ยวข้อง การมีระบบที่ดีนี้ทำให้การบริหารจัดการสิ่งสนับสนุนเป็นระบบและสามารถควบคุมคุณภาพในการใช้อุปกรณ์และการใช้ไฟฟ้าได้. ละป้องกันความเสี่ยงของการสูญหายอุปกรณ์ในห้องต่างๆ

    ตอบลบ
  3. หากทำตามระบบกลไก มีการตรวจสอบจะไม่เกิดปัญหาการใช้ห้องประชุมซำ้ซ้อน ใช้โดยไม่จอง ควรมีช่องทางประชาสัมพันธ์หลายช่องทางค่ ะ คนที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเท่านั้นถึงจะรู้ว่ามีระบบแบบนี้

    ตอบลบ
  4. สุพิศตรา พรหมกูล3 สิงหาคม 2561 เวลา 09:51

    เป็นระบบกลไกที่ดีคะ ควรพัฒนาให้เป็นระบบออนไลน์ เพื่อความสะดวกในการใช้งานของนักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่

    ตอบลบ
  5. แนวทางที่ขอใช้ห้องเรียนและห้องประชุม
    ประกาศระเบียบการขอใช้ห้องเรียนและห้องประชุมให้บุคลากร เจ้าหน้าที่และนักศึกษา ทราบและยึดเป็นแนวทางปฏิบัติ

    ตอบลบ
  6. จะมีกลวิธีอย่างไรที่จะให้ผู้ที่ไม่ขอใช้ห้องก่อนสามวันดำเนินงานตามขั้นตอนที่เราตั้งไว้

    ตอบลบ
  7. แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ การจองห้องและอุปกรณ์ ตลอดจน การอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่ แม่บ้าน ได้นำไปปฏิบัติ ได้รับความสะดวกสบาย เป็นไปตามแผนการดำเนินกิจกรรม ทั้งการจัดประชุม และการใช้ในการจัดการเรียนการสอน

    ตอบลบ
  8. ได้นำระบบการจองห้องไปใช้ พบว่า ช่วงเวลาในการจอง หากผู้ใช้ห้อง ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก ที่มีมากกว่าส่วนที่ให้บริการเป็นประจำนั้น หากประสานไว้ก่อนล่างหน้า 1 สัปดาห์ สามารถทำให้การจัดประชุมสะดวก ค่ะ

    ตอบลบ
  9. ระบบการจองห้องเรียน เป็นระบบที่ชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แต่ควรเพิ่มเติมให้สามารถจองในระบบออนไลน์ในเวปไซต์โดยที่อาจารย์ไม่ต้องเขียนขอห้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ และสามารถทราบได้ว่าใครขอใช้ห้องในวันและเวลาดังกว่าเพื่อลดการขอใช้ห้องชนกันครับ

    ตอบลบ
  10. ควรแยกระบบการจองห้องเรียน กับการจองห้องประชุมค่ะ เพราะระยะเวลาในการจอง การขอเครื่องอำนวยความสะดวก และประเภทในการใช้งานมีความแตกต่างกันค่ะ เช่น การจองห้องเรียนอาจจะเป็นการลงบล็อกในระบบออนไลน์ ที่ให้นักศึกษาสามารถเข้าจองได้ ผ่านหน้าเว็บวิทยาลัย แต่ระบบการจองการใช้ห้องประชุม เป็นงานที่ขอใช้จากบุคคลภายนอกควรเป็นระบบการอนุมัติจองรองผู้อำนวยการค่ะ

    ตอบลบ
  11. นำไปใช้ แล้วช่วยแก้ไขปัญหาการจองห้องทับซ้อนกันได้

    ตอบลบ
  12. ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง และประกาศระเบียบ และวิธีการปฎิบัติการจองเพื่อใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน และการจัดโครงการต่างๆ

    ตอบลบ
  13. ระบบและกลไกชัดเจนดี แต่เสนอแนะให้มีชิ่อผู้รับผิดชอบหลักและรอง ให้ชัดเจนและควรพัฒนาให้เป็นระบบ Reservation Classroom On line จะทำให้สะดวก รวดเร้วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นและตอบสนองค่อผู้จองห้องอย่างรวดเร็ว

    ตอบลบ
  14. ระบบกลไกนี้จะช่วยลดเวลาในการขอใช้ห้องประชุมและห้องต่างๆได้เป็นอย่างดี

    ตอบลบ