วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 ห้องประชุม กลุ่มวิชาการ เวลา
13.30-16.00 น.
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1.
นางสมใจ
เจียระพงษ์
2.
นางดวงชีวัน เบญจมาศ
3.
นางสุจินดา ศรีสุวรรณ
4.
นางสาวปราณี แสดคง
5.
นางรุ่งทิพย์ พรหมบุตร
6.
นส.สายใจ คำทะเนตร
7.
นางสาวสรัญญา เปล่งกระโทก
8.
นางสาวศุกลรัตน์ บุญสิทธิ์
เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ
Transformative Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด และสรุปวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
(Transformative Learning) โดยวิธีการสะท้อนคิด มีผลลัพธ์การเรียนรู้
(learning outcome) ด้านทักษะทางปัญญา
ประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1.
ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ Transformative
Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด
2.
วิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
(Transformative
Learning)โดยวิธีการสะท้อนคิด
1.
ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ Transformative
Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด
ในการจัดการเรียนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ผู้สอนต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนสามารถสร้างวิเคราะห์
สังเคราะห์ความรู้ด้วยตนเอง เกิดเป็นความเข้าใจในองค์ความรู้อย่างลึกซึ้ง เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ได้
ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ (learning outcome) ด้านทักษะทางปัญญา
ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ Transformative
Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด
-
ภาควิชาการพยาบาลมารดา
ทารกและการผดุงครรภ์ จัดการเรียนการสอนแบบ Transformative Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด
ในวิชาปฏิบัติการการพยาบาลมารดาทารกฯ 1และ 2 โดยการสะท้อนคิด post conference หลังฝึกปฏิบัติงานในแต่ละวัน
และกำหนดเป็นกิจกรรมหนึ่งที่นักศึกษาต้องทำคือ รายงานการสะท้อนคิดรายบุคคล
-
ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช บริหารการพยาบาลฯ
จัดการเรียนการสอนแบบ
Transformative Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด
ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต (จิตเวชชุมชน) การปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ขั้นตอนการสะท้อนคิดของผู้เรียนและรายงานการสะท้อนคิดรายบุคคล
-
ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน
จัดการเรียนการสอนแบบ Transformative
Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน โดยจัดการเรียนรู้ให้นักศึกษาบันทึกหลังทำกิจกรรมอนามัยโรงเรียน
เป็นแบบบันทึกการสะท้อนผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
-
ภาควิชาการพยาบาลเด็ก
ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ จัดการเรียนการสอนแบบ
Transformative Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด ในวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ
2 โดยการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ขั้นตอนการสะท้อนคิดของผู้เรียน
2. วิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
(Transformative Learning)
โดยวิธีการสะท้อนคิด
2.1 วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยการปฏิบัติการพยาบาลใช้ขั้นตอนการสะท้อนคิดของนักศึกษา
วิธีการจัดการเรียนการสอน
1. ออกแบบโดยการให้นักศึกษาศึกษาตามสภาพจริง
มอบหมายกรณีศึกษาให้นักศึกษาปฏิบัติการพยาบาลนักศึกษานำประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่พบ
ที่ได้จากการสังเกต การฟัง มาบันทึกเป็นเรื่องเล่า จากนั้นนำมาเล่าให้สมาชิกในกลุ่มฟัง
2. ผู้สอนให้นักศึกษาเล่าเรื่องที่ละคน
โดยตั้งคำถามสะท้อนคิด เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์คิดแก้ปัญหา
คิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อนำสู่การวางแผน และให้การช่วยเหลือ ภายใต้บริบทตามสภาพจริงของผู้รับปริการ
คำถามที่กระตุ้นให้เกิดการสะท้อนคิด
“อะไร (what)” เช่น เกิดอะไรขึ้นกับนศ./ผู้รับบริการ มีอะไรอีกที่พบเห็น
“whear” นศ/ผู้รับบริการ
คิดหรือรู้สึกอย่างไร เหตุผลที่อย่างนั้น เป็นอย่างอื่นได้ไหม “when”เป็นอย่างอื่นได้ไหม
“why” เพราะอะไร นศ/ผู้รับบริการ ถึงคิดเช่นนั้น
เพราะอะไรถึงเป็นอย่างนั้น
3. ผู้สอนให้นักศึกษาเขียนบันทึกการสะท้อนคิด
เพื่อให้คิดไตร่ตรองทบทวน
พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้สติและสมาธิในการทบทวนและสะท้อนการกระทำของตนเอง ช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงและการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ทีมผู้สอนประชุม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถอดบทเรียนระหว่างการเรียนการสอน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา
1.
นักศึกษาเข้าใจตนเองและบุคคลอื่นเพิ่มมากขึ้น
2.
แสดงพฤติกรรมเอื้ออาทรต่อบุคคลอื่นเพิ่มมากขึ้น
3.
รวบรวมข้อมูล วินิจฉัย
วางแผนและให้การพยาบาลภายใต้บริบทตามสภาพจริงของผู้รับบริการ
4.
มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
5.
มีพัฒนาการในการคิดวิเคราะห์ คิดเป็นเหตุผล
คิดสร้างสรรค์เกิดองค์ความรู้เป็นของตนเองเพื่อจะนำมาใช้กับผู้รับบริการ
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
1.
ทีมอาจารย์เห็นความสำคัญ
มีทัศนคติที่ดี ต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยการสะท้อนคิด
2.
ทีมอาจารย์มีทักษะในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิด
2.2
วิธีการจัดการเรียนการสอนการสะท้อนคิด โดย post conference หลังฝึกปฏิบัติงาน
วิธีการจัดการเรียนการสอน
1.
มอบหมาย case ให้นักศึกษาให้การพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
ตามลักษณะวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1,2 ในแต่วัน
2.
เมื่อสิ้นสุดการฝึกปฏิบัติงานในแต่ละวัน
ผู้สอนจัดกิจกรรม post
conference หลังฝึกปฏิบัติงาน โดยให้นักศึกษาแต่ละคนสะท้อนคิด
ซึ่งผู้สอนจะกระตุ้นด้วยคำถามเช่น จากการปฏิบัติงานวันนี้ได้เรียนรู้อะไรบ้าง
ทำไมนักศึกษาปฏิบัติแบบนั้น เมื่อนักศึกษาปฏิบัติอย่างนั้นแล้วเกิดอะไรขึ้น ฯลฯ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา
1.
นักศึกษามีทักษะการคิดอย่างวิเคราะห์ ในปฏิบัติการพยาบาล
เกิดแนวทางปฏิบัติที่ดีเพื่อให้การพยาบาลที่มีคุณภาพ
เช่นแนวทางการประเมินปัญหาของผู้รับบริการได้ครอบคลุม
2.
นักศึกษามีทักษะการสื่อสารเพิ่มขึ้นและ มีความภาคภูมิใจในตนเอง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
ทีมผู้สอนเข้าใจการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด
มีทักษะตั้งคำถาม
2.3
วิธีการจัดการเรียนการสอนจากรายงานการสะท้อนคิดรายบุคคล
วิธีการจัดการเรียนการสอน
1.
มอบหมายงานให้นักศึกษาส่ง
รายงานบันทึกการสะท้อนคิด จำนวน 4 ฉบับ (สัปดาห์ละ 1 ฉบับ) โดยมีแบบบันทึกการสะท้อนคิด โดยใช้วิธีการในการทำ
Reflection (Gibbs, 1988 ; เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์, 2555) ซึ่งบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยผ่านการใคร่ครวญไตร่ตรองของนักศึกษา ในระยะเวลา
1 สัปดาห์ที่ผ่าน มา ในประเด็นดังนี้
-
ประสบการณ์/สถานการณ์ต่างๆ
ที่นักศึกษาได้ปฏิบัติการพยาบาล หรือได้จากการสังเกตของนักศึกษา
-
จากประสบการณ์/สถานการณ์ต่างๆเหล่านั้น
นักศึกษาสังเกตเห็นผลลัพธ์/ผลกระทบ อย่างไร
-
จากประสบการณ์/สถานการณ์ต่างๆ
เหล่านั้น นักศึกษาสรุปเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับ
-
ถ้าหากนักศึกษาเผชิญกับสถานการณ์นี้เกิดขึ้นอีก
คิดว่าจะทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิมบ้าง/ มีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร
2.
กำหนดการส่งรายงาน ส่งทุกวันพฤหัส
และทุกวันศุกร์อาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติจัดกิจกรรมการสะท้อนคิดเป็นกลุ่มย่อยเพื่อสะท้อนคิดทักษะด้านปัญญาและด้านคุณธรรม
3.
วิธีการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการสะท้อนคิด
ประเมินผลรายงานการสะท้อนคิด ภายหลังฝึกปฏิบัติทุกวันพฤหัส ตามแบบประเมินรายงานผลการสะท้อนคิด
โดยอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติเป็นผู้ประเมินและให้คำแนะนำนักศึกษาเป็นรายบุคคล
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา
1.
ตระหนักรู้ในศักยภาพและสิ่งที่เป็นจุดอ่อนของตน
2.
มีทักษะการสื่อสารถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้
3.
สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพและที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาสุขภาพเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ
4.
สามารถพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
เหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์
5.
เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
1.
นโยบายของผู้บริหารสนับสนุนการจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เช่นวิธีการสะท้อนคิด เช่น มีนโยบายสนับสนุน/ส่งเสริมพัฒนาอาจารย์ให้มีทักษะในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิด
2.
ทีมผู้ร่วมสอนภาคปฏิบัติ
มีทักษะการจัดการสอนวิธีการสะท้อนคิด
จากวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
(Transformative
Learning) โดยวิธีการสะท้อนคิด สามารถสรุปขั้นตอนการเรียนการสอนดังนี้
1.
สถานการณ์จริง/ โจทย์สถานการณ์ การกระตุ้นให้บุคคลเข้าไปมีส่วนร่วมและรับรู้ประสบการณ์ต่างๆ
โดยตรง เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
และการเรียนรู้จะเกิดขึ้นตามประสบการณ์ที่ตนเองประสบอยู่ในขณะนั้น
การสร้างประสบการณ์ เช่น การเรียนการสอนในห้องเรียน
แหล่งฝึกภาคปฏิบัติ การอ่านหนังสือ การดูวีดีทัศน์ เป็นต้น
2.
การบันทึกการเรียนรู้ การสะท้อนความคิดจากประสบการณ์ที่ได้รับ
โดยพิจารณาไตร่ตรองอย่างลึกซึ้ง
การสะท้อนการเรียนรู้ / ทบทวนการเรียนรู้ เช่น
การเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ การบันทึกการเรียนรู้
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ประเด็นที่บันทึกมีดังนี้
1)
ประสบการณ์/สถานการณ์ต่างๆ ที่นักศึกษาได้ปฏิบัติการพยาบาล
หรือได้จากการสังเกตของนักศึกษา
2)
จากประสบการณ์/สถานการณ์ต่างๆเหล่านั้น นักศึกษาสังเกตเห็นผลลัพธ์/ผลกระทบอย่างไร
3)
จากประสบการณ์/สถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น
นักศึกษาสรุปเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับ
4)
ถ้าหากนักศึกษาเผชิญกับสถานการณ์นี้เกิดขึ้นอีก
คิดว่าจะทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิมบ้าง/ มีขั้นตอน
การปฏิบัติอย่างไร
3.
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การรวบรวมความรู้
และความคิดต่างๆ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
หรือการได้รับข้อมูลจากผู้สอน หรือสมาชิกกลุ่ม โดยอาศัยการพูดคุย
เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และนำไปสู่กรอบความคิดของตนเอง
4.
การนำความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ของตนเองไปใช้
จบการทำกิจกรรม COP เวลา 16.00 น.
ผู้บันทึกการแลกเปลี่ยน นางดวงชีวัน
เบญจมาศ
อยากให้อาจารย์ผู้สอนทุกรายวิชานำเทคนิคการสะท้อนคิดไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
ตอบลบควรให้อาจารย์ผู้สอนทุกรายวิชานำเทคนิคการสะท้อนคิดไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)
ตอบลบกรณีดูแลนักศึกษารายกลุ่ม อาจทำการสะท้อนคิดในกลุ่ม เช่น การพัฒนาการปฏิบัติงาน (practice development) การใช้ focus group
ตอบลบการสะท้อนคิดอาจใช้หลากหลายวิธีร่วมกันเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิด. เช่น. การให้เล่าสิ่งที่เกิด ระสบการณ์ในการเรียนรู้สั้นๆการมอบหมายให้ไปเขียนบันทึกสะท้อนคิด ก่ นะเรียน. ขณะที่เรียนและหลังเรียน
ตอบลบข้อค้นพบในการสนอนักศึกษาคือผู้สอนต้องมีประเด็นที่ต้องการฝึกให้ผูเรียนได้สะท้อนคิดเป็นครั้งๆจะช่วยเพิ่มการคิดที่มีระบบในเวลาที่จำกัดเเละการสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ควรหลากหลายและเป็นประสบการณ์ที่มีความซับซ้อนเพียงพอที่จะฝึกให้ผูเรียนได้ฝึกกระบวนการคิดที่เเตกต่างเเละหลากหลาย
การสะท้อนคิดเป็นการพัฒนาทักษะทางปัญญาโดยแท้จริง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหากมีข้อมูลยืนยัน โดยการวิเคราะห์ทางสถิติจากเครื่องมือที่ใช้ประเมิน หรือ เป็นเรื่องราวกรณีนศ.ตัวอย่างที่สามารถสะท้อนคิดได้ดีให้เห็นจะดีมากค่ะ
ตอบลบการสะท้อนคิดที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่ดีมาก เพื่อให้นักศึกษาได้มีการพัฒนากระบวนการคิดของตนเอง
ตอบลบเพิ่มเรื่องตัวอย่างการตั้งคำถามจะดีมากค่ะ
ตอบลบขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้การสะท้อนคิดในการฝึกภาคปฏิบัติในวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ ในกิจกรรม post conference ในแต่ละวันหลังการฝึกงาน ทำให้ผู้เรียนสามารถพิจารณาและบอกจุดบกพร่องของตนเอง และหาวิธีแก้ไขหรือพัฒนาตนเองให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นทั้งในส่วนของเนื้อหาความรู้ทางการพยาบาล การคิดเชื่อมโยงอย่างมีเหตุผล การตัดสินใจแก้ไขปัญหาขณะให้การพยาบาล รวมทั้งชื่นชมตนเองและเพื่อนร่วมงานได้
ตอบลบการสะท้อนคิดเป็นแบบการจัดการเรียนการสอนที่ดีค่ะ แต่ควรมีการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา หลังจากการใช้การสะท้อนคิดในการจัดการเรียนการสอนค่ะ เนื่องจากนักศึกษาอาจจะยังไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ของการสะท้อนคิดค่ะ
ตอบลบการสอนการสะท้อนคิด อาจารย์ต้องมีการสะท้อนคิดด้วยตนเองจนเกิดเป็นปกตินิสัย แล้วถ่ายทอดรูปแบบการสะท้อนคิดไปสู่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้้้ทบทวนในสิ่งที่ได้ปฏิบัติ จนนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงการเรียน และการทำงาน สุดท้ายสิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ Quality Safety to Education Nursing การเกิดคุณภาพและความปลอดภัยในผู้รับบริการ
ตอบลบการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดจะเป็นวิธีการเรียนการสอนที่ส่งเริมให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ มากขึ้น แต่นักศึกษาบางคนยังมีความไม่เข้าใจในการสะท้อนคิด กังนั้นควรเพิ่มเติมการสะท้อนคิดเป็นกลุ่ม เพื่อให้การดูแลผู้เรียนที่สอดคล้องปัญหาเพิ่มขึ้น
ตอบลบสามารถดำเนินการเพิ่มเติมได้ในทุกรายวิชา..และจัดทำคู่มือการเรียนและเครื่องทือรวมทั้งแบบประเมินที่ชัดเจน
ตอบลบขอแลกเปลี่ยนการสะท้อนคิดที่ตัวเองใช้ในการสอนภาคปฏิบัติ จะใช้ช่วงการ Pre post Conference โดยช่วงการ Pre con จะถาม นศ.ว่านศ.มีความคาดหวังอย่างไรในวันนี้ นศ.อยากได้อะไรบ้าง แล้วนศ.จะทำอย่างไรเพื่อให้บรรลุตามความคาดหวังที่ตั้งไว้ ช่วงการPost con จะใช้คำถามว่า นศ.ได้เรียนรู้หรือทำอะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร มีอะไรที่มำได้ดีแล้ว และมีอะไรที่เรายังทำได้ไม่ดีบ้าง สิ่งที่เรายังทำได้ไม่ดีเกิดจากสาเหตุอะไร แล้วถ้าเราจะต้องทำสิ่งนั้นอีกเราจะทำอย่างไรให้ดีขึ้น ซึ่งนศ.จะได้เรียนรู้และทบทวนสิ่งที่ตนเองทำมาตลอด และสิ่งที่เป็นความผิดพลาดหรือทำได้ไม่ดีนศ.จะได้แลกเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้นอีกเป็นการพัฒนานักศึกษาและเมื่อทำบ่อยๆๆจะวยพัฒนาคุณภาพการพยาบาลค่ะ
ตอบลบในการจัดการเรียนการสอน โดยการให้นักศึกษาได้มีการสะท้อนคิดทั้งในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ดีมาก ซึ่งในรายวิชาการพยาบาลมารดาทารกฯ2 ได้ให้นศ.สะท้อนคิดในการจัดการเรียนการสอนในบทที่ 7 ในหัวข้อการตกเลือดหลังคลอด และในภาคปฏิบัติได้ให้นศ.สะท้อนคิดในการฝึกในแผนกต่างๆ ซึ่งนศ.ทุกคนมีการสะท้อนคิดได้ดี ในมุมมองของตัวเองและนำมาปรับปรุงในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
ตอบลบในการจัดการเรียนการสอน โดยการให้นักศึกษาได้มีการสะท้อนคิดทั้งในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ดีมาก ซึ่งในรายวิชาการพยาบาลมารดาทารกฯ2 ได้ให้นศ.สะท้อนคิดในการจัดการเรียนการสอนในบทที่ 7 ในหัวข้อการตกเลือดหลังคลอด และในภาคปฏิบัติได้ให้นศ.สะท้อนคิดในการฝึกในแผนกต่างๆ ซึ่งนศ.ทุกคนมีการสะท้อนคิดได้ดี ในมุมมองของตัวเองและนำมาปรับปรุงในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
ตอบลบการสะท้อนคิด เป็นการวิธีการที่ดี ที่สามารถทำให้ นศ. ได้เรียนรู้ถึงจุดที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนาวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ดีขึ้น
ตอบลบเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาได้ฝึกคิดวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี..
ตอบลบ