1. ภายหลังเสร็จสิ้นการวิจัย การเขียนร่างนิพนธ์ต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ควรพิจารณาว่าผลงานวิจัยนั้นเหมาะสมกับการตีพิมพ์ในวารสารประเภทใดโดยพิจารณาจาก
1) วารสารนั้นไม่ได้อยู่ใน Beall’s list หรือเป็น predatory publishers&journals
2) นิพนธ์ต้นฉบับอยู่ในแขนง (field) ใด ให้เลือกตีพิมพ์ในวารสารที่เหมาะสมกับงานนั้น
3) การเลือกระดับความยากง่ายในการตีพิมพ์ พิจารณาจาก impact factorของวารสาร
2. เขียนนิพนธ์ต้นฉบับตาม format ที่วารสารกำหนด หรือปฏิบัติตามแนวทางการเขียนนิพนธ์ต้นฉบับ (Author guidelines) ของวารสารนั้นๆโดยส่วนใหญ่รูปแบบของบทความวิจัยในวารสารประกอบด้วย
1) ชื่อเรื่อง (Title): ควรสั้น กระชับได้ใจความอาจเป็นวลีหรือประโยคที่แสดงให้เห็นสาระ จุดเด่นในงานวิจัย
2) บทคัดย่อ (Abstract): เขียนตามรูปแบบของวารสารที่กำหนดความยาวไว้ใช้ภาษาที่ดี สั้น ชัด คม ชี้จุดนำไปใช้ โดยต้องครอบคลุมวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ ผลการวิจัยและสรุปผล
3) คำสำคัญ (Key words): ระบุเป็น คำหรือวลีไม่ใช่ประโยค เป็นการเขียนระบุไว้เพื่อนำไปสู่การสืบค้นต่อไป
4) บทนำ (Introduction): ควรแสดงให้เห็นเหตุผลและความเหมาะสมในการทำวิจัย ใครทำอะไรไปแล้วเลือกอ้างอิงเฉพาะงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสำคัญความแตกต่างของงานวิจัยชิ้นนี้กับงานวิจัยก่อนหน้านี้สมมติฐานหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย
5) ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology): นำเสนอขอบเขตการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง วิธีการรวบรวมข้อมูล เครื่องมือ การเข้าถึงแหล่งข้อมูล การได้มาซึ่งข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงจริยธรรมการวิจัยซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการที่สามารถพิสูจน์ได้
6) ผลการวิจัย (Results): นำเสนอผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์โดยใช้การบรรยาย และอาจใช้ตาราง หรือรูปภาพประกอบเพื่อให้เข้าใจง่าย การเขียนควรมีความสมบูรณ์เพียงพอให้ผู้อ่านเข้าใจสิ่งค้นพบ/ผลการวิจัยที่นำเสนอ
7) การอภิปรายผล (Discussion): อภิปรายว่าข้อมูลบอกอะไร มีความสัมพันธ์อย่างไรกับวัตถุประสงค์หรือสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่อธิบายความสัมพันธ์กับแนวคิด/ทฤษฏี และเปรียบเทียบผลวิจัยจากงานวิจัยอื่น อธิบายหรือให้เหตุผลของความแตกต่าง
8) ข้อจำกัด (Limitations): เขียนบอกให้ผู้ใช้งานวิจัยเข้าใจ เพื่อประกอบการนำผลการวิจัยไปใช้ แต่ควรระวังการเขียนอย่าลดความเชื่อถือของงานวิจัย
9) ข้อเสนอแนะ (Suggestions): ระบุข้อเสนอที่เกิดจากงานวิจัยและข้อเสนอในการทำวิจัยครั้งต่อไป
10) บทสรุป (Conclusion): เป็นบทสรุปผลที่กระชับและส่งท้ายด้วยการกระตุ้นให้ผู้อ่านอยากนำไปใช้ศึกษาต่อ
11) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement): เขียนขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องหรือช่วยเหลือในการทำวิจัย
12) การอ้างอิง (References): การเขียนอ้างอิงควรเขียนตามรูปแบบที่วารสารกำหนด เช่นVancouver style,APA
3. ส่งนิพนธ์ต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ตามช่องทางที่วารสารนั้นๆกำหนด ซึ่งส่วนใหญ่เป็น online submission
juree sansuk
ตอบลบการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพรในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ ตามประสบการณ์จะพบว่ากระบวนการขั้นตอนในการตีพิมพ์เผยแพร่มีความชัดเจน นักวิจัยควรทราบ Format ของวารสารและปฏิบัติตามเพื่อความถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว ที่สำคัญ Abstract ภาษาอังกฤษควรเขียนให้ถูกต้องตามหลัก
เพิ่มเติมตัวอย่างตาม format ของวรสารที่วิทยาลัยมีประสบการเผยแพร่ ผู้เขียนที่ไม่มีประสบการจะได้ง่ายต่อการเผยแพร่
ตอบลบ