วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560

สรุปการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ CoP การผลิตผลงานวิชาการ (บทความวิชาการ หนังสือ ตำรา) ครั้งที่ 1/2560

วันที่ 13 มกราคม 2560     เวลา 08.30 – 10.00 น.     ณ ห้องสุนทรียสนทนา


ผู้เข้าร่วมประชุม

1. ดร.ศุภวดี แถวเพีย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ประธาน
2. ดร.สุธิดา อินทรเพชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3. นางรัชนี พจนา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
4. นางปิยนุช ภิญโย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
5. นางสาวอริณรดา ลาดลา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
6. นายศักขรินทร์ นรสาร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
7. ดร.กิตติภูมิ ภิญโย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ เลขา
8. นายณรงค์ คำอ่อน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ผู้ช่วยเลขา




ผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

1. นางสุพิศตรา พรหมกูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ติดนิเทศงาน
2. นางสาววิลาวัลย์ มาลีพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ติดนิเทศงาน
3. นางสาวทรงสุดา หมื่นไธสง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ติดนิเทศงาน


เริ่มประชุม เวลา 08.30 น.


วัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้


เพื่อวิเคราะห์ สาเหตุของการผลิตผลงานวิชาการ(บทความวิชาการ หนังสือ ตำรา)ไม่ได้ตามเป้าหมายพร้อมแนวทางการแก้ไข


วิธีการ การประชุมสนทนากลุ่ม(Focus Discussion)


ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้

1. แผนการดำเนิน CoP มีการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน คือ

    1) การแต่งตั้งคณะกรรมการ CoP
    2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน CoP 2 ครั้ง
    3) การสรุปองค์ความรู้และเผยแพร่ในเว็บบล็อก
    4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเว็บบล็อก และ
    5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง CoP ในช่วงครึ่งหลังปีงบประมาณ 2560

2. เนื้อหาสาระตามวัตถุประสงค์ แบ่งได้ 2 หัวข้อ คือ

    1) สาเหตุ ของการผลิตผลงานวิชาการไม่ได้ตามเป้าหมาย และ
    2) แนวทางการแก้ไข ดังนี้


แบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะเวลา/
ผู้ดำเนินงาน
ต้นน้ำ
ข้อเสนอ
ในการแก้ไข
กลางน้ำ
ข้อเสนอ
ในการแก้ไข
ปลายน้ำ
ข้อเสนอในการแก้ไข
1.  สถาบัน
(คณะกรรมการบริหาร)
การกำหนดทิศทาง/แนวทางในการผลิตผลงานวิชาการ 
-     ควรมีการกำหนดทิศทาง/แนวทางในการผลิตผลงานวิชาการแต่ละปีงบประมาณให้เป็นรูปธรรมเช่น 1)กำหนดจำนวนและคนผลิต และแหล่งเผยแพร่แต่ละปีให้ชัดเจน เช่น หนังสือ 4 เล่ม บทความวิชาการ 6 เรื่อง และกำหนดกลุ่มคน/ภาควิชา 2) แผนเวลา ตั้งแต่เริ่มผลิตจนตีพิมพ์เผยแพร่ เป็นต้น
-          

-          

-          
2.  อาจารย์/ผู้ผลิตผลงาน
ขาดทักษะหรือความเชี่ยวชาญในการผลิต
-         พัฒนาทักษะ/ความเชี่ยวชาญในการผลิตในการอบรม ประชุม ร่วมผลิตกับภาคีเครือข่าย ประสานกับที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิ





ขาดแรงจูงใจในการผลิตผลงาน
-         สร้างแรงจูงใจในการผลิตผลงาน เช่น เพิ่มเงินสนับสนุน  การกำหนดภาระงานที่เหมาะสม เป็นต้น





ไม่มีเวลา (จากภาระงานสอนที่มาก)
-         กำหนดช่วงเวลาในการผลิตและเผยแพร่ และแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ให้สามารถผลิตผลงานได้ทันเวลา โดยอาจจะเป็นโครงการกิจกรรม  เช่น 5 วัน ต่อภาคการศึกษา เป็นต้น





การปรับแก้งานส่งและทำสัญญารับทุน ยังมีความล่าช้า
-         มีการจัดการงาน แก้งานและส่งงานในเวลาที่กำหนด



3.  ระบบกลไกสนับสนุน
    (กลุ่มงาน)
การสื่อสารข้อมูลอาจยังไม่ทั่วถึง เกี่ยวกับ 1)ขั้นตอนกระบวนการผลิตผลงานวิชาการ 2)การเบิกจ่าย
-         มีการสื่อสารข้อมูล โดยใช้ช่องทางที่หลากหลาย และบ่อยๆ เช่น ที่ประชุมประจำเดือน บอร์ด กระดานข่าว เว็บไซต์ เป็นต้น เกี่ยวกับ 1)ขั้นตอนกระบวนการผลิตผลงานวิชาการ 2)ขั้นตอนและเอกสารในการเบิกจ่ายเงินสนับสนุน  เป็นต้น
กระบวนการประกาศผู้รับทุนและทำสัญญารับทุน ยังมีความล่าช้า
-         มีการกำหนดช่วงเวลาประกาศผู้รับทุนให้ชัดและดำเนินการให้ได้ตามกำหนด เช่น ภายใน 1 เดือน และทำสัญญารับทุน  เป็นต้น



 การจัดสรรเวลา
-         กำหนดช่วงเวลาในการประชุมอบรมการผลิตและเผยแพร่  โดยกำหนดเป็นกิจกรรมโครงการ  เช่น 5 วัน ต่อภาคการศึกษา และนอกสถานที่ ประสานอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นต้น
การติดตามความก้าวหน้าการผลิตผลงานมีช่วงเวลาที่ช้าไป(6เดือน)
-         การติดตามความก้าวหน้าการผลิตผลงานโดยกำหนดช่วงเวลาให้เร็วขึ้นเป็น 3 เดือน

-          

แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่


-          
การระบุแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่
-         ควรมีการรวบรวมวารสารแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ และประกาศ สื่อสารให้อาจารย์ได้รับรู้ เป็นระยะ



ผู้บันทึกการประชุม     กิตติภูมิ ภิญโย

10 ความคิดเห็น:

  1. การชี้ทิศขององค์กรโดยมีผ่านโครงสร้าง และการกำกับงานตามระยะเวลาที่กำหนด ทั้งเจ้าของผลงานและผู้กำกับกลไก มีส่วนสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมาย

    ตอบลบ
  2. การกำหนดมาตรการแรงจูงใจ ควบคู่กับการสร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศเชิงวิชาการ อาจจะสร้างความสำเร็จระยะยาว

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  4. แรงจูงใจในการสร้างหรือผลิตผลงานวิชาการหรือผลงานวิจัยนั้นสร้างขึ้นด้วยตัวเองดีที่สุดและได้ผลมากที่สุดที่จะทำให้งานแล้วเสร็จสมบูณ์ อีกทั้งการมีวินัยในตนเองก็เป็นสิ่งสำคัญ

    ตอบลบ
  5. แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ นอกจากการเเขวนรายชื่อวารสารที่มีคุณภาพไว้ที่ website ของวิทยาลัยแล้วทางงานได้เพิ่มช่องทางการสื่อสารให้มากขึ้นโดย 1. การประชุมประจำเดือน: วาระเรื่องเเจ้งทั้ง แหล่งทุน 2. เวทีที่สามารถนำเสนอผลงานที่นับได้ตามเกณฑ์คุณภาพ 3. การจัดประชุมวิชาการที่มีผู้ทรงคุณวุฒิมาอ่านและวิพากษ์เพื่อให้ข้อเสนอเเนะในการทำงาน

    การแก้ไขเรื่องความล่าช้าในการทำ MOU และการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนวิจัย:
    1. ปรับปรุงคูมือการบริหารงานวิจัย ภาคผนวก ให้เห็นตัวอย่างการทำเอกสาร
    2. เพิ่มการประชาสัมพันธ์และการนัดหมายกับเจ้าหน้าที่วิจัยเมื่อผู้รับทุนมีเวลาพร้อมดำเนินการ
    3. เจ้าหน้าที่วิจัยเป็นผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือหากเกิดปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการในเรื่องเอกสาร
    4. กระตุ้น สนับสนุน เอื้ออำนวยความสะดวกในเรื่องการเบิกจ่ายเเละการเตรียมเอกสารการเบิกจ่ายที่มีความถูกต้อง สอดคล้องกับระเบียบการเบอกจ่าย
    5. ส่งเสริมให้กำลังใจนักวิจัย

    การเชิดชูเกียรติ์
    - มีการยกย่องอาจารย์ที่มีผลงานตีพิมพ์เผยเเพร่ หรือมีผลงานวิชาการอยู่อย่างต่อเนื่องทั้งในการประชุมประจำเดือน กรุ๊บไลน์วิทยาลัย และ
    - มีการมอบเกียรติ์บัตรเชิดชูเกียรติ์ในพิธีไหว้ครูทุกปี

    ตอบลบ
  6. ขอเสนอความคิดเห็น คือ การมีกลไกในรูปคณะกรรมการฯ เป็นผู้กำหนดนโยบาย เป้าหมายร่วม คล้ายๆ MOU กับหน่วยระดับภาควิชา หรือ กลุ่มงาน เช่น หนังสือ ตำราเรียน และบทความวิชาการ เช่น ปีละ 1 ชื่อเรื่อง และกำหนดมาตรการ(กลวิธี)สร้างแรงจูงใจ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Show&Share รางวัล เป็นต้น จะนำสู่ให้เกิดจำนวนผลงานตามเป้าหมายได้

    ตอบลบ
  7. การมีระบบและกลไกของการดำเนินงานที่ชัดเจน ร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการดำเนินงาน ทำให้สามารถผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการเพิ่มมากขึ้นร่วม

    ตอบลบ
  8. การมีระบบและกลไก มีการกำหนดทิศทาง/แนวทางในการผลิตผลงานวิจัย ผลงานวิชาการที่ชัดเจน และความมุ่งมั่นของบุคลากรในการผลิตผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ ทำให้เกิดจำนวนผลงานวิจัยและผลงานวิชาการตามเป้าหมายได้

    ตอบลบ
  9. การกำหนดระบบกลไกเป็นสิ่งที่ดี แต่การทำให้เกิดผลงานวิชาการ เช่น การเขียนบทความ การใช้ระบบพี่เลี้ยง หรือ Coaching น่าจะได้ผลเพราะเรียนรู้ด้วยกัน จับมือเขียนไปด้วยกัน คิดว่าไม่นานจะเรียนรู้ที่จะเขียน และเขียนได้เชี่ยวชาญมากขึ้น รวมถึงการมีระบบสนับสนุนเช่นที่งานผลิตผลงานวิชาการ จัดผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อเสนอแนะ จะทำให้พัฒนามากขึ้น

    ตอบลบ
  10. ขอบคุณที่มีช่องทางนี้ในการแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านวิชาการและวิชาชีพ หากมีข้อมูลใหม่ๆ จะนำมาแลกเปลี่ยนเพื่อการเรียนรู้กับทุกท่านอีกครั้งนะครับ

    ตอบลบ