วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

วิทยาลัยสีเขียว (Green Collage) ครั้งที่ 2 กลุ่มอำนวยการ

กลุ่มอำนวยการ ครั้งที่ 2
วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 มกราคม 2563
เวลา : 14.30-16.00 น.
สถานที่ : ห้องประชุมสุนทรียสนทนา

วาระที่ 1 - รับรองรายงานการประชุม
วาระที่ 2 - ประธานแจ้งเพื่อทราบ
วาระที่ 3 - เรื่องอื่นๆ


ผู้เข้าร่วมประชุม


1. นางวิไลวรรณ  วัฒนานนท์ ประธานกรรมการ
2. นางแสงดาว  จันทร์ดา กรรมการ 
3. นางสุพิศตรา  พรหมกูล               กรรมการ
4. นางนิระมล  สมตัว                    กรรมการ
5. นางสาวจุรี  แสนสุข กรรมการ
6. นางสาวกัลยารัตน์  คาดสนิท กรรมการ
7. นางสาวเบญจพร  ฐิติญาณวิโรจน์ กรรมการ
8. นางสาววรรณพร  คำพิลา กรรมการ
9. นางสาวสุกัญญา  ตาแสงสา กรรมการ
10. นางสาวปวินตรา  มานาดี กรรมการ
11. นางสาวจตุพร  พลเยี่ยม กรรมการ
12. นางดาราพร  หาญสุริย์               กรรมการ
13. นางสาวอุมาภรณ์  สำนักบ้านโคก กรรมการ
14. นางสาวสุภัสสร  ยอดประทุม กรรมการ
15. นางสาวจริยา  ศิริรส กรรมการ
16. นายวัฒนา  ยศตีนเทียน             กรรมการ
17. นายนิพนธ์  บุตรทา                 กรรมการ
18. นายไพรจิตร์  พิมหาญ กรรมการ
19. นายกรินทร์  สีดาเหลือง            กรรมการ
20. นางอรวรรณ  โคตรโยธา           กรรมการ
21. นางสาวสุวคนธ์  แก้วอุดม กรรมการ
22. นางสาวเจษฎา  จันทะลุน          กรรมการ
23. นายเทวราช  ทิพอุตร์ กรรมการ
24. นายเพชร  ธนภูมิชัย                กรรมการ
25. นางชนากานต์  บุญแก้ว กรรมการ
26. นางสาวสุกัญญา  โคตรบาล กรรมการ
27. นายเอกรัตน์  แอบบัว กรรมการ
28. นายอานุภาพ  หาญสุริย์           กรรมการ
29. นายศักดิ์ชัยพัฒนา  ทิพย์รักษา กรรมการ
30. นางอารีย์  จงใจ                    กรรมการ
31. นางน้ำทิพย์  ไพคำนาม             กรรมการและเลขานุการ
32. นางสาวกฤตยา  เพชรนอก        กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 
33. นายอภิวัฒน์  สุพรรณ์พุทธา       กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ


วาระที่ 1 รับรองรายงานการประชุม

1. สรุปผลจาการทำแบบสอบถามการรณรงค์การงดใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2562 จาก


2. จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง วิทยาลัยสีเขียว ในวันที่ 6 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา  ประธานได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติ ขยายความและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในส่วนของ กิจกรรมที่ 3  3R 1 U
           2.1 Reduce (R1) แนวทางในการปฏิบัติ คือ การรณรงค์การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ “ถุงผ้า” ซึ่งเป็นทางเลือก เพื่อใช้แทนถุงพลาสติก ช่วยลดขยะ ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย ความต่างที่คล้ายกันของถุงผ้าและถุงพลาสติก สามารถนำมาใช้กับวิถีการเดินทางในชีวิตประจำวัน ที่ผู้คนพร้อมจะจับจ่ายซื้อของได้ทุกเวลา ผู้บริโภคนั้นสามารถมีส่วนร่วมในขวนการจัดการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ ด้วยการใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้แก้วน้ำส่วนตัว  ลดการใช้แก้วกระดาษ ถุงพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มแบบต่าง ๆ รวมทั้งช่วยลดปริมาณการใช้ขยะได้อีกด้วย นอกจากนี้การใช้กระบอกน้ำยังช่วยรักษาอุณหภูมิของเครื่องดื่ม ร้อน เย็น ให้อยู่ได้นานขึ้น ทำให้ดื่มได้อรรถรสยาวนานยิ่งขึ้นอีกด้วย นั่นจึงทำให้หลาย ๆ คนหันมาใช้กระบอกน้ำเพิ่มมากขึ้น

ข้อดีของการไม่ใช้พลาสติก
1. ลดการเสื่อมโทรมของดิน
2. ลดการเสื่อมคุณภาพของนํ้า
3. ลดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งในนํ้าและบนบก
4. ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน
5. ลดการเกิดสารปนเปื้อนของสารก่อมะเร็งในห่วงโซ่อาหาร
6. ลดการอุดตันในทางระบายนํ้า ส่งผลให้ลดปัญหานํ้าท่วม
7. ลดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ
8. ลดแหล่งเพาะพันธุ์การแพร่กระจายของพาหะนำโรค และการแพร่ระบาดของโรค
9. ลดการเกิดอุบัติเหตุของการเดินทาง ทั้งทางบก ทางนํ้า และทางอากาศ
10. ลดการใช้นํ้ามันดิบที่ใช้ไปโดยไม่จำเป็น จากการผลิตถุงพลาสติก

สมาชิกกลุ่ม Reduce (R1) ประกอบด้วย

1. นางสุพิศตรา  พรหมกูล                   หัวหน้ากลุ่ม
2. นางสาวสุกัญญา  ตาแสงสา              สมาชิก
3. นางสาวปวินตรา  มานาดี                 สมาชิก
4. นางสาวสุภัสสร  ยอดประทุม             สมาชิก
5. นางสาวจริยา  ศิริรส                       สมาชิก
6. นางสาวจตุพร  พลเยี่ยม                  สมาชิก
7. นางสาวอุมาภรณ์  สำนักบ้านโคก        สมาชิก
8. นายวัฒนา  ยศตีนเทียน                   สมาชิก

กิจกรรม/ขั้นตอนการทำ Reduce

Reduce การใช้ถุงผ้าและแก้วน้ำส่วนตัว

ขั้นตอน
1. แต่งตั้งคณะทำงานในกิจกรรมของการใช้ถุงผ้าและแก้วน้ำส่วนตัว
2. ประชุมคณะทำงานและมอบหมายความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล

ขั้นดำเนินงาน
1. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ หลากหลายช่องทางเพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาของวิทยาลัยมีการใช้ถุงผ้าและแก้วน้ำส่วนตัว
2. ประสาทงานไปยังนายกสโมสรนักศึกษาเพื่อขอความร่วมมือและประชาสัมพันธ์ไปยังนักศึกษาทุกชั้นปี เพื่อให้มีการใช้ถุงผ้าและแก้วน้ำส่วนตัว
3. แจ้งในที่ประชุมประจำเดือนของบุคลากร เพื่อให้บุคลากรได้รับทราบและให้ความร่วมมือในการใช้ถุงผ้าและแก้วน้ำส่วนตัว
4. เข้าพบนักศึกษาในชั่วโมง Moral area เพื่อแจ้งและขอความร่วมมือกับนักศึกษาในการใช้ถุงผ้าและแก้วน้ำส่วนตัว

ขั้นประเมินผล
ประเมินผลการรณรงค์ในการใช้ถุงผ้าและแก้วน้ำส่วนตัวทุก 1 เดือน เพื่อการติดตาม การปรับเปลี่ยนกระบวนการระหว่างการดำเนินงาน

ขั้นปรับปรุง
นำข้อมูลที่ได้จากผลการประเมินมาปรับปรุงเพื่อให้การดำเนินการในรอบต่อไปดียิ่งขึ้น

            2.2 Reuse (R2) แนวทางในการปฏิบัติ คือการที่เรานำเอาของที่ยังใช้ได้กลับมาใช้ซ้ำอีก
ครั้ง (หรืออีกหลายๆ ครั้งได้ก็ยิ่งดี) เช่นการเอาขวดน้ำพลาสติกกลับมา Reuse ใส่น้ำใช้อีกครั้ง เพราะว่ามีน้ำหนักเบา สะดวกในการพกพา วิธีนี้ก็จะช่วยประหยัดทรัพยากรและลดขยะพลาสติกไปได้อย่างมากทีเดียว

สมาชิกกลุ่ม Reuse (R2) ประกอบด้วย

1. นางสาวกัลยารัตน์  คาดสนิท                   หัวหน้ากลุ่ม
2. นางสาววรรณพร  คำพิลา                      สมาชิก
3. นางสาวสุกัญญา  โคตรบาล                    สมาชิก
4. นายกรินทร์  สีดาเหลือง                         สมาชิก
5. นายเทวราช  ทิพอุตร์                            สมาชิก
6.นายอานุภาพ  หาญสุริย์                          สมาชิก
7.นายศักดิ์ชัยพัฒนา  ทิพย์รักษา                  สมาชิก
8.นายนิพนธ์  บุตรทา                               สมาชิก

กิจกรรม/การดำเนินงานของกลุ่ม

ขั้นเตรียมการ
1. แต่งตั้งคณะทำงานในกิจกรรม Reuse การนำกลับมาใช้ซ้ำ
2. ประชุมคณะทำงานและมอบหมายความรับผิดชอบ

ขั้นดำเนินงาน
1. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์แจ้งอาจารย์และบุคลากรในวิทยาลัยทราบแนวปฏิบัตินโยบายการ Reuse การนำกลับมาใช้ซ้ำ
2. ประสานกับกลุ่มงานพัฒนานักศึกษาเพื่อชี้แจงนโยบายและแนวปฏิบัตินโยบายการ Reuse การนำกลับมาใช้ซ้ำ
3. แจ้งอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาให้ทราบนโยบายและแนวปฏิบัติโดยการประชาสัมพันธ์ตามช่องทางต่างๆ อาทิเช่น การประชุมประจำเดือน ข่าวประชาสัมพันธ์ ไลน์ประชาสัมพันธ์ ชั่วโมงนักศึกษา เสียงตามสาย เพจเฟสบุ๊คของวิทยาลัยและสโมสรนักศึกษา
4. รณรงค์ให้มีการนำเอาของที่ยังใช้ได้กลับมาใช้ซ้ำอีกครั้งทั้งในอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา

ขั้นประเมินผล
1. ประเมินผลการดำเนินการด้าน Reuse การนำกลับมาใช้ซ้ำ ทุก 1 เดือน เพื่อติดตามกระบวนการระหว่างดำเนินงาน

ขั้นปรับปรุง
1. นำข้อมูลที่ได้จากผลการประเมินมาปรับปรุงเพื่อพัฒนาการดำเนินการในรอบต่อไป

            2.3 Recycle (R3) แนวทางในการปฏิบัติ คือ การรณรงค์การแยกขยะ

1. ขยะรีไซเคิล ขยะแห้ง รีไซเคิล แปลว่า นำกลับมาใช้ใหม่ เอากลับมาได้อีก ดังนั้นขยะรีไซเคิลก็คือขยะที่เราทิ้งไปแล้วสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้งได้ ไม่ใช่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ขยะรีไซเคิล เช่น ขวดพลาสติกถุงพลาสติกขวดแก้วกระป๋องกล่องกระดาษกระดาษ
ประโยชน์จากขยะ : ผลิตขาเทียม ผลิตหลังคารีไซเคิล ผลิตหลอดไฟ ผลิตจีวรพระสงฆ์

2. ขยะทั่วไป ขยะประเภทนี้มักจะย่อยสลายไม่ได้ มีลักษณะย่อยสลายยากแต่ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าต่อการรีไซเคิล จำเป็นต้องหาวิธีกำจัดอย่างถูกวิธี ขยะทั่วไป เช่น ซองขนม กล่องโฟม ถุงพลาสติก ภาชนะปนเปื้อนอาหาร กระดาษชานอ้อย
ประโยชน์จากขยะ : นำผ่านเทคโนโลยีการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้เป็นวัสดุใหม่

3. ขยะอินทรีย์ ขยะเปียก ขยะอินทรีย์ คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว เช่น ขยะอินทรีย์เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก เนื้อสัตว์ เศษใบไม้แห้ง 
ประโยชน์จากขยะ : นำไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ใส่ต้นไม้ แปลงผักสวนครัว

4. ขยะอันตราย ขยะอันตราย คือ ขยะที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ เช่น สารพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรคหรือเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม วัตถุกรรมมันตรังสี วัตถุกัดกร่อน ขยะอันตราย เช่น ถ่านไฟฉายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยาหมดอายุวัตถุไวไฟกระป๋องเสปรย์
ประโยชน์จากขยะ : ไม่มี ควรนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีตาม เพื่อไม่ไห้รั่วซึมลงแหล่งน้ำ หรือชั้นผิวดิน 

สมาชิกกลุ่ม Recycle (R3) ประกอบด้วย

1. นางสาวจุรี  แสนสุข                         หัวหน้ากลุ่ม
2. นางวิไลวรรณ  วัฒนานนท์                 สมาชิก          
3. นางแสงดาว  จันทร์ดา                      สมาชิก
4. นางชนากานต์  บุญแก้ว                    สมาชิก
5. นางอารีย์  จงใจ                              สมาชิก
6. นายไพรจิตร์  พิมหาญ                       สมาชิก
7. นางสาวเบญจพร  ฐิติญาณวิโรจน์         สมาชิก
8. นายเพชร  ธนภูมิชัย                         สมาชิก

ขั้นตอนการทำ Recycle การคัดแยกขยะ

ขั้นเตรียมการ
1. แต่งตั้งคณะทำงานในกิจกรรม Recycle การคัดแยกขยะ
2. ประชุมคณะทำงานและมอบหมายความรับผิดชอบ

ขั้นดำเนินงาน
1. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์แจ้งอาจารย์และบุคลากรในวิทยาลัยทราบแนวนโยบายการ Recycle คัดแยกขยะ
2. จัดภาชนะรองรับประเภทของขยะที่เหมาะสม ตามจุดรองรับขยะให้เพียงพอ  เพิ่มถังรองรับเศษอาหารขยะเปียก
3. ประสานกับกลุ่มกิจกรรมพัฒนานักศึกษาเพื่อชี้แจงนโยบายและแนวทางการปฏิบัติ Recycle คัดแยกขยะ
4. แจ้งอาจารย์และบุคลากรทราบนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้วยการสื่อสารหลากหลายช่องทาง เช่น การประชุมประจำเดือน  ข่าวประชาสัมพันธ์ ไลน์ประชาสัมพันธ์
5. รณรงค์การทิ้งขยะให้ถูกประเภทในภาชนะที่ถูกต้องทั้งในอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ขยะทั่วไปและ รีไซเคิลรวบรวมจำหน่ายสร้างรายได้ 
ขั้นประเมินผล
1. ประเมินผลการดำเนินการด้าน Recycle การคัดแยกขยะ ทุก 1 เดือน เพื่อติดตามการปรับเปลี่ยนกระบวนการระหว่างดำเนินงาน

ขั้นปรับปรุง
1. นำข้อมูลที่ได้จากผลการประเมินมาปรับปรุงเพื่อพัฒนาการดำเนินการในรอบต่อไป




         2.4 Utility (U) หมายถึง ประโยชน์ จากการประชุม เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2562 ประธานได้กล่าวถึงการทำ “เสวียน เป็นการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการนำไม้ไผ่มาเหลาเป็นแผ่นๆแล้วนำมาสานเป็นวงกลม จากนั้นนำไปครอบโคนต้นไม้ไว้ ซึ่งอยู่คู่กับเกษตรกรไทยมาตั้งแต่ยุคบรรพบุรุษ สมัยยังไม่มีสารเคมีเลย วิทยาลัยฯ เล็งเห็นและนำมาต่อยอดในเรื่องการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ โดยมีวัสดุมาจากธรรมชาติ เช่น ใบไหม้ หญ้าแห้ง กิ่งไม้ ช่วยให้มีความโปร่งพรุน ไม่อัดแน่นจนเกินไป ทั้งยังมีธาตุคาร์บอนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ของจุลินทรีย์ เศษอาหาร เช่น เศษข้าว เศษผัก เปลือกผลไม้ เปลือกไข่ ก้างปลา เศษหมู ขนมปัง ฯลฯ ที่เหลือจากการบริโภค ไม่ว่าจะเป็นครัวเรือน ร้านอาหาร โรงอาหาร จุลินทรีย์ควรเป็นประเภทที่ใช้ออกซิเจน จะช่วยให้ไม่ส่งกลิ่นเหม็นและไม่ทำให้เกิดน้ำเสีย แหล่งจุลินทรีย์ที่หาได้ง่ายคือมูลสัตว์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น มูลวัว มูลไก่ มูลหมู  มูลแพะ ซึ่งจุลินทรีย์จะช่วยให้กระบวนการย่อยสลายเศษอาหารกลายเป็นปุ๋ยหมักได้เร็วขึ้น

สมาชิกกลุ่ม Utility (U) ประกอบด้วย

1. นางนิระมล  สมตัว                   หัวหน้ากลุ่ม
2. นางดาราพร  หาญสุริย์              สมาชิก
3. นางสาวสุวคนธ์  แก้วอุดม           สมาชิก
4. นางสาวเจษฎา  จันทะลุน           สมาชิก
5. นายวัฒนา  ยศตีนเทียน             สมาชิก
6. นายไพรจิตร์  พิมหาญ               สมาชิก
7. นายกรินทร์  สีดาเหลือง             สมาชิก
8. นายเทวราช  ทิพอุตร์                สมาชิก
9. นายเพชร  ธนภูมิชัย                 สมาชิก
10. นายเอกรัตน์  แอบบัว              สมาชิก
11. นายอานุภาพ  หาญสุริย์           สมาชิก
12. นายศักดิ์ชัยพัฒนา  ทิพย์รักษา   สมาชิก
13. นายอภิวัฒน์  สุพรรณ์พุทธา      สมาชิก

กิจกรรม/ขั้นตอนการทำ Up cycle
Up Cycle การนำเศษใบไม้มาทำปุ๋ยหมักเพื่อนำกลับมาใช้บำรุงต้นไม้ในวิทยาลัยฯ

ขั้นตอน
1.แต่งตั้งคณะทำงานในกิจกรรมของการการนำเศษใบไม้มาทำปุ๋ยหมัก
2.ประชุมคณะทำงานและมอบหมายความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล
ขั้นดำเนินงาน
1.จัดหาสถานที่ในการทำการนำเศษใบไม้มาทำปุ๋ยหมัก
2.ประสานงานคนสวนเพื่อนำเศษใบไม้ที่กวาดได้ในแต่ละวันมายังสถานที่ทำการนำเศษใบไม้มาทำปุ๋ยหมัก รดน้ำ ใส่น้ำหมัก EM  และพลิกกลับด้านเศษใบไม้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
3. กำกับติดตามโดยคณะกรรมการสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
4. แจ้งในที่ประชุมประจำเดือนของบุคลากร เพื่อให้บุคลากรได้รับทราบและให้ความร่วมมือ

ขั้นประเมินผล
ประเมินผลการนำเศษใบไม้มาทำปุ๋ยหมักทุก 1 เดือน

ขั้นปรับปรุง
นำข้อมูลที่ได้จากผลการประเมินมาปรับปรุงเพื่อให้การดำเนินการในรอบต่อไปดียิ่งขึ้น

มติที่ประชุม
เห็นชอบและประธานเสนอให้แต่ละกลุ่มเสนอขั้นตอน วิธีการดำเนินงานของกลุ่ม ให้กับผู้บันทึกรายงานการประชุมทราบ

วาระที่  2 ประธานแจ้งเพื่อทราบ
     ประธานเสนอในที่ประชุมว่า ควรจะมีฝ่ายประชาสัมพันธ์และการตลาด เพื่อ การส่งเสริมเผยแพร่กิจกรรม การให้การร่วมมือ สนับสนุนการดำเนินงานสาธารณะประโยชน์ โดยให้หัวหน้ากลุ่มและสมาชิกในกลุ่มเป็นผู้ออกแบบกิจกรรมของกลุ่มตนเอง แล้วนำภาพกิจกรรมส่งให้งานประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผ่านเว็บไซด์วิทยาลัยฯ ต่อไป

สมาชิกกลุ่ม  ประกอบด้วย
1. นายเพชร  ธนภูมิชัย                   หัวหน้ากลุ่ม
2. นางสาวเบญจพร  ฐิติญาณวิโรจน์   สมาชิก
3. นางสาววรรณพร  คำพิลา            สมาชิก
4. นางสาวปวินตรา  มานาดี             สมาชิก

มติที่ประชุม
รับทราบ

วาระที่ 3 เรื่องอื่นๆ
ประชุม Cop ครั้งที่ 3 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น