วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562

การบูรณาการบริการวิชาการกับการวิจัยเพื่อผลิตผลงานวิจัย ครั้งที่ 1

กลุ่มวิจัยและบริการวิชาการ
วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : 7 ธันวาคม 2561
สถานที่ : ห้องประชุมดอกตะแบก
เวลา : 15.00 น. ถึง 16.00 น.

กิจกรรมที่ 1แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เกี่ยวกับ การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็น
กิจกรรมที่ 2 : สรุปองค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ครั้งที่ 1 หรือ แผนการการปรับปรุง ดัดแปลง สร้างองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
กิจกรรมที่ 3สรุปองค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ครั้งที่ หรือ แผนการการปรับปรุง ดัดแปลง สร้างองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
กิจกรรมที่ 4 : วางแผนการจัดการความรู้ครั้งต่อไป


ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน

1
นางสาวศุภวดี แถวเพีย
ประธาน CoP
2
นายณรงค์ คำอ่อน
สมาชิก
3
นางสาวทรงสุดา  หมื่นไธสง
สมาชิก
5
นางนวลละออง ทองโคตร
สมาชิก
6
นางสาวสุธิดา อินทรเพชร
สมาชิก
7
นางสุธิดา สิงห์ศิริเจริญกุล
สมาชิก
8
นางศรีสุดา ลุนพุฒิ
สมาชิก
9
นางกุลนรี หาญพัฒนชัยกูร
เลขาการประชุม

วัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้
1.เพื่อกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ของชุมชนนักปฏิบัติการกลุ่มวิชาการ
2.เพื่อแสวงหาความรู้ครั้งที่ 1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับ (ประเด็นองค์ความรู้ที่เลือกมาจัดการความรู้)


กิจกรรมที่ 1 : แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เกี่ยวกับ การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็น


ทรงสุดา: จากการจัดการความรู้ในปี 2561 กลุ่มชุมชนนักปฏิบัติได้มีการทบทวนโมเดล จากคำถามการจัดการความรู้ คือ ผลการนำองค์ความรู้จากการการบริการวิชาการแก่สังคมกับการเกิดผลงานวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่อย่างไร”

เบญจวรรณ:   จากการดูโมเดล   ไม่มีรายละเอียดในการนำไปปรับใช้ การที่จะพัฒนาเป็น แนวปฏิบัติที่ดีนั้นจะต้องบ่งบอกถึงการนำไปใช้ และแสดงถึงผลลัพธ์ของการนำไปใช้เช่นมีโครงการบริการวิชาการเช่นการประชุมอบรมวิชาการ และมีการวิจัยหลังจากการประชุม และนำความรู้ที่ได้จากการประชุมมาปรับใช้ในการประชุมอบรมครั้งต่อไป

กุลนรี:    จากโมเดลดังกล่าว แสดงการเขียนกระบวนการนำองค์ความรู้จากการบริการวิชาการ มาพัฒนางานวิจัย ทั้งนี้เพื่อให้โมเดลดังกล่าวเกิดประโยชน์ในเชิงการนำไปใช้ได้จริง ควรจะเขียนวิธีการในแต่ละขั้นตอน ซึ่งผู้ที่มีประสบการณ์ในงานบริการวิชาการ และพัฒนาสู่งานวิจัย จะสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้


กิจกรรมที่ 2 : สรุปองค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ครั้งที่ 1 หรือ แผนการการปรับปรุง ดัดแปลง สร้างองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ทรงสุดา: จากการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ผ่านมาในปี 2561  มีการสังเคราะห์เป็นรูปแบบตามแนวทาง PLan Do Check Act  ซึ่งมีโครงการที่ประสบผลสำเร็จจากการบริการวิชาการ เช่น การประเมินการฝึกอบรมข้าราชการใหม่ ดำเนินการโดยอาจารย์จุรี แสนสุขและคณะ และมีโครงการอีกหลายโครงการที่ดำเนินการโดยอาจารย์ปียนุช ภิญโย


เบญจวรรณ : จากที่ดูโมเดลของอาจารย์ การนำมาปฏิบัติทำได้ยาก มองไม่เห็น ขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน เท่าที่ดูจากรายงานการจัดการความรู้มีการทำตารางเมทริกซ์แสดงความคิดเห็นของอาจารย์ ตามความเข้าใจคิดว่าเป็นวิธีการเขียนโครงการวิจัย ควรเขียนรายละเอียดขั้นตอนอธิบายโมเดล

กุลนรี: คำถามในการจัดการความรู้ในประเด็นนี้น่าจะเป็น “เขียนโครงการบริการวิชาการอย่างไรเพื่อให้ได้งานวิจัย ที่สามารถตีพิมพ์ได้”


กิจกรรมที่ 3 : สรุปองค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ครั้งที่ 1 หรือ แผนการการปรับปรุง ดัดแปลง สร้างองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน 

กุลนรี: วันนี้การแลกเปลี่ยนอาจจะมีข้อจำกัดเพราะผู้ที่มีประสบการณ์ตรงไม่ได้อยู่ที่นี่สักคน ควรนัดหมายให้มีการเรียนรู้เพิ่มเติมในการจัดการความรู้ครั้งต่อไปในวันที่ 4 มกราคม นี้


กิจกรรมที่ 4  วางแผนการจัดการความรู้ครั้งต่อไป (การเชิญผู้เชี่ยวชาญในวิทยาลัยมาถ่ายทอดความรู้ การค้นหาเอกสาร ข้อมูลเพิ่มเติม)

ทรงสุดา: ครั้งต่อไปขอเชิญผู้ที่มีประสบการณ์ในการเขียนโครงการบริการวิชาการที่สามารถพัฒนาเป็นงานวิจัยเข้ามาแลกเปลี่ยน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีประสบการณ์ คือ อาจารย์จุรี แสนสุข กับ อาจารย์ปิยนุช ภิญโย

1 ความคิดเห็น:

  1. Win Big on Slot Machines in India - Poormans
    The Top Indian Casinos in India with Jackpot Slots · Bollywood Casino · Royal Panda · 벳 365 코리아 우회 Gopal m w88 Temple 심바 먹튀 · 코드벳 Bet ㅅ ㅇㅌ 추천 of the Gods · Vegas Slots · Casino

    ตอบลบ