กลุ่มวิจัยและบริการวิชาการ
วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : 4 มกราคม 2562
สถานที่ : ห้องประชุมดอกตะแบก
เวลา : 9.00 น. ถึง 10.00 น.
กิจกรรมที่ 1 : แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เกี่ยวกับ ประสบการณ์การจัดทำโครงการวิจัยเพื่อผลิตผลงานวิชาการ
กิจกรรมที่ 2 : สรุปองค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
กิจกรรมที่ 3 : แผนการการปรับปรุง ดัดแปลง สร้างองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งานและหรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในกิจการงานของตน
กิจกรรมที่ 1 : แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เกี่ยวกับ ประสบการณ์การจัดทำโครงการวิจัยเพื่อผลิตผลงานวิชาการ
กิจกรรมที่ 2 : สรุปองค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
กิจกรรมที่ 3 : แผนการการปรับปรุง ดัดแปลง สร้างองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งานและหรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในกิจการงานของตน
ผู้เข้าร่วมประชุม
1. นางสาว
ศุภวดี แถวเพีย ประธาน CoP
2. นายณรงค์ คำอ่อน สมาชิก
3 นางสาวทรงสุดา หมื่นไธสง สมาชิก
4 นาง นวลละออง ทองโคตร สมาชิก
5 นางสาว สุธิดา
อินทรเพชร สมาชิก
6 นาง สุธิดา
สิงห์ศิริเจริญกุล สมาชิก
7 นาง ศรีสุดา ลุนพุฒิ สมาชิก
8 นางปิยนุช ภิญโย สมาชิก
9 นางกุลนรี
หาญพัฒนชัยกูร เลขาการประชุม
วัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยน
เพื่อแสวงหาความรู้ และ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับ ความรู้เรื่องการบูรณาการบริการวิชาการกับการวิจัยเพื่อผลิตผลงานวิชาการ
กิจกรรมที่ 1 : แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เกี่ยวกับ
ประสบการณ์การจัดทำโครงการวิจัยเพื่อผลิตผลงานวิชาการ
(งานวิจัย ตำรา หนังสือ บทความวิชาการ)
กุลนรี
- ขอทบทวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งที่ผ่านมาคือการตามรอยโมเดลเดิมที่ได้พัฒนาในปีที่ผ่านมาแต่สิ่งที่ยังขาดคือแนวทางในการปฏิบัติที่ต้องทำให้เห็นรูปธรรมชัดเจน ตัวโมเดลนี้จะบอกวิธีการปฏิบัติได้ไม่ชัดเจน ในกลุ่มได้มาสรุปกันว่า
ควรจะมีการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากการเชิญผู้มีประสบการณ์ในการผลิตผลงานวิชาการมจากการบริการวิชาการ
เป็นงานวิจัย ได้เบื้องต้นได้เชิญอาจารย์ปิยนุช
และอาจารย์จุรีมาร่วมแลเปลี่ยนในวันนี้ แต่อาจารย์ยังมาไม่ถึง มีใครพอจะแลกเปลี่ยนในประเด็น
การเขียนโครงการบริการวิชาการอย่างไรเพื่อผลิตผลงานทางวิชาการ
ศุภวดี
- ขอแชร์ในประสบการณ์การทำงานอบรมผดุงครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
หลักสูตรสี่เดือนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เป้าหมายของหลักสูตรคือพัฒนาพยาบาลและผดุงครรภ์ให้มีศักยภาพสูงขึ้นในเขตอีสานจะมีองค์ความรู้
ทำให้อาจารย์มีความเชี่ยวชาญในการสอนมากขึ้นเมื่ออบรมรุ่น 2 และ
3 ตำราอาจจะเขียนยากต้องใช้เวลา แต่ตอนนี้กำลังเขียนอยู่
เช่นอาจารย์หนิงสนใจการตั้งครรภ์วัยรุ่น อาจารย์ที่เชิญมาก็ให้ข้อคิดว่าควรทำตำราเพื่อขอ
ผศ. รศ. ตอนนี้ก็ปรับเป็นตำราหญิงตั้งครรภ์
อาจารย์หน่อยทำเรื่อง การติดเชื้อ ส่วนตัวเองสนใจการดูแลหลังคลอดแม่อายุมาก
โดยใช้แบบแผนของกอร์ดอน กำลังดำเนินการ สำหรับที่เผยแพร่แล้วคือบทความการตั้งครรภ์ของพยาบาลอายุมาก
บทบาทที่ควรตะหนักเกิดจากความสนใจและโครงการผดุงครรภ์ความเสี่ยงสูง
สิ่งที่ได้คือร่างหนังสือ และบทความ สิ่งที่ไได้รับจากการบริการบริการ
คือการแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้เข้ารับการอบรม
และการติดต่อประสานงานทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ ข้อมูลใหม่ๆ เช่น การสอนเรื่อง
abuse ในหญิงตั้งครรภ์ ได้แลกเปลี่ยนจากผู้เข้ารับการอบรม ที่มีประสบการณ์จริง
ทำให้เกิดความรู้สึก สงสาร การบริการวิชาการทำให้เราได้มีเครือข่าย
และได้ประสบการ์ และความรู้ใหม่ เป็นการเปิดโอกาสนำ
สิ่งที่ได้เรียนรู้มาผลิตบทความ หรืองานวิจัยได้ เช่นการ ค้นหา Gap
ปิยะนุช
- ได้มีโอกาสทำงานกับเครือข่ายจังหวัดมหาสารคามที่ได้รับงบประมาณ
จาก สปสช.
มีการจัดทำหลักสูตรสำหรับ นักศึกษา และอาสาสมัครการดูแลผู้สูงอายุ
มีหลักสูตรทั้งหมด 2 Module ได้ถูกจัดสรรงบประมาณมาตามจำนวนนักศึกษา
มีสองโครงการย่อย คือโครงการพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
โครงการที่สองคือโครงการพัฒนาอาสาสมัครแกนนำครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
หลักสูตรในการทำจะทำโดยสารคาม ผู้สูงอายุที่ได้ดูแล มี 5 ประเภท
คือ โรค ไม่ติดเชื้อ( NCD) ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง
จิตเวช เบาหวาน และโรคทางเดินหายใจ วิทยากรที่จะมาอบรมเป็นวิทยากร
ครู กนักศึกษา เป็นครู ข อาสาสมัคร คือผู้ปฏิฺบัติ มีเจ้าหน้าที่ รพสต.เป็นวิทยากร
ตอนนั้นบูรณาการกับการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 (นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่
3) อาจารย์ศรสุดาเป็นผู้รับผิดชอบ
งานวิจัยที่เกิดขึ้นได้ทุนมาทำวิจัยเช่นกันได้รับสนุนทุนจาก วิทยาลัยพยาบาล
กุลนรี
- เขียนโครงการอย่างไรคะ มีงานวิจัยด้วยไหมคะ
ปิยะนุช
- ทำไปพร้อมกัน ผลลัพธ์ที่เกิดจากอาจารย์ นักศึกษา อาจารย์มีทั้งภาคจิตเวช ชุมชน ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เราก็ทีมอาจารย์ที่มีองค์ความรู้
จากโครงการนี้ก็มีการพัฒนาสมรรถนะด้านการประสานงานทั้งเครือข่าย
จากวิทยาลัยทั้งสามแห่ง (วพบ.ขอนแก่น, วสส.ขอนแก่น, บัณฑิตเอเชีย ) อสค. ผู้สูงอายุ
เทศบาลด้วย ทำให้เรามีเครือข่ายกว้่างขวาง
อาจารย์ได้มีการพัฒนาพัฒนความเชี่ยวชาญ องค์วามรู้เพราะเราจะไปสอนก็ต้องพัฒนาความรู้ของอาจารย์
กุลนรี
- สมมตว่าอาจารย์จะแนะนำอาจารย์ที่จะผลิตงานวิชาการจากงานวิจัย
ควรต้องทำอย่างไรคะ
ปิยะนุช
- เป็นข้อเสนอแนะนะคะควรจะมีการเขียนโครงการไปพร้อมกันเลยคะ
เราต้องคิดางแผนล่วงหน้าว่าเราจะต้องทำอะไรบ้าง (ซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกแบบงานวิจัย)งานบริการวิชาการเราต้องวัดผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเราสามารถเขียนเกี่ยวกับงานวิจัยได้เลย
สิ่งที่เกิดขึ้นคือคือสมรรถนะทางด้านการประสานงาน และการทำงานเป็นทีม ของวิทยาลัย
และเครือข่ายข้างนอก เช่น รพสต. นักศึกษา
ศรีสุดา
- มีการประสานงานที่แน่นแฟ้นให้แต่ละเครือข่าย
การคืนข้อมูล เป็นโครงการของ KPI ที่ศูนย์แพทย์อนามัยบ้านหนองแวงไปรับมา
เขาอยากทำเรื่องนีี้ เราก็หาปัญหาของพื้นที่ และหน่วยบริการนำข้อมูลมาดู
มีไตเสื่อมเท่าไหร่ ลงไปดูให้สัมภาษณ์ สังเกต แลกเปลี่ยนกัน ข้อมูลตรงกัน คนไม่มี KAP
คนไม่ตะหนัก อสม.ไม่มีความรู้
เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม หาเวทีคืนข้อมูล ให้เทศบาลมีส่วนร่วม
หาว่าใครควรจะมีส่วนร่วมท่านนายกเป็นโรคนี้อยู่ก็เลยสนใจ
ก็เลยไปฟังเวทีคืนข้อมูลท่านไปฟังเราก็ยินดีเข้าร่วมจะให้งบประมาณ
และเป็นวิทยากรถ้าเราทำโครงการลักษณะนี้ โอกาสที่จะได้งบประมาณมากขึ้น ชุมชนใดต้องการให้มาเลย กลุ่มที่สนใจ 1 ถึง 2 ชุมชน มีอาจารย์เราไปเป็นวิทยากร ทำวิจัย
อาจารย์ปราณี อาจารย์สุรัส เรีิ่มเขียนบทความกับพี่วิไลวรรณ เราก็ไช่้ตรงนั้น
ทรงสุดา
- มีบทความเกี่ยวกับโรคไตที่เขียนโดยอาจารย์ศรีสุดา
และอาจารย์ปราณีในวารสาร เป็นงานบริการ
สุทธิดา
- ขอถามหน่อยนะคะ
งานบริการวิชาการที่บอกว่าทำวิจัยไปด้วยแสดงว่ามันจะมีขั้นตอนบางอย่างมันร่วมกัน
ศรีสุดา
- ปีแรกจะไม่ได้อะไร
เป็นช่วงของการหา Gap
เป็นการหาข้อมูลเพื่อให่ได้สถานการณ์ที่แน่นขึ้น ทำเครื่องมือ
เป็นแบบสัมภาษณ์ ระยะแรกมองไม่เห็น จนกว่าจะได้ชื่อเรื่อง ดูว่าประเด็นอยู่ที่ใหน
ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงของการคืนข้อมูลว่าชุมชนเห็นตรงกับเราไหม
สุทธิดา
- หลังจากนั้นจึงเป็นการวิจัย เหมือนมันoverlap เหมือนกับของอาจารย์จุ๋มไหม
ปิยะนุช
- ของจุ๋มทำครั้งเดียวเสร็จเลย
ศรีสุดา
- ที่จูทำได้เกิดจาการที่เราไปฝึกยาว
สี่ปี ปีแรกไม่เห็นอะไร ปีที่สองเริ่มทำ ทำให้เราเห็นหลาย GAP สามารถคิดค้นงานได้หลายทางมาก
ปิยะนุช
- การเขียนโครงการอาจจะมีความแตกต่างกัน
บริการวิชาการก็จะงบดำเนินโครงการ งบวิจัยก็จะมีเงินค่าตอบแทนเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้ให้ข้อมูล
ศุภวดี
- เราไม่สามารถเขียนโครงการบริการวิชาการกับงานวิจัยได้
นวลละออง
- ขอแชร์ในส่วนงานผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง
ในปีแรก ผอ.ได้ ประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขชัยภูมิ
ในช่วงแรกก็เขียนโครงการบริการวิชาการ ในส่วนของเราล้อกับทางชัยภูมิ
แต่ไม่ปรากำว่าเป็นงบวิจัย จะมีโครงการวิจัยประมาณ 5 เรื่อง
วิจัยสถานการณ์ พัฒนาหลักสูตร CM และ CG ซึ่งเราทำมาแล้วในปี 2557 เชื่อมโยงกับปิยะนุชที่ไม่มีการวางแผนการวิจัยไว้ก่อน
อาจมีปัญหาเรื่องข้อมูล อาจจะมีbias ผลงานมันล่าช้่า
เพราะมีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน ยากสำหรับตัวเอง
อาจารย์จูมีอะไรจะแชร์เพิ่มเติมไหมคะ
ศรีสุดา
- มันยากเพราะเรามาออกแบบที่หลัง
แบบสอบถามทีได้มาไม่สอดคล้อง กับวัตถุประสงค์
นวลละออง
- มันเชื่อมโยงกับงานจริยธรรมการวิจัยด้วย
เพราะไม่ได้เตรียมการไว้ มันซ่อนอยู่ วิธีการก็ไม่สอดคล้อง
จุรี
- คือที่ทำเป็นการทำโครงการบริการวิชาการภายนอก
ซึ่งมีความต้องการที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับงานที่ทำ
เลยเขียนในเชิงของการพัฒนาบุคลากร ซึ่งจะเป็นเกี่ยวกับเนื้องานที่เราทำ
ก็ส่วนสำคัญคือตัวชีวัดความสำเร็จของงานที่เราวัดในเชิงปริมาณแล้ว เชิงคุณภาพ
มันถูกกำหนดโดยการทำงาน
ผลสำเร็จของงานที่ต้องอธิบายว่าการพัฒนาบุคลากรทำได้จริงหรือไม่ อาจไม่ไช่การวิจัยทั้งหมด
ใช้การสอบถาม การสัมภาษณ์จากหัวหน้าเขา
สุทธิดา
- เป็นงานวิจัยประเมินผลไช่ไหมคะ
กุลนรี
- การใช้งบประมาณมีปัญหาไหมคะ
จุรี
- ใช้การเกลี่ยกับโครงการ
ไม่ใช้งบประมาณเพิ่มและใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว
ทรงสุดา
- งบวิจัยสนับสนุนเต็มที่
อาจารย์นิระมลขอติดตามบัณฑิตมาสองสามปีแล้ว ก็ไม่ขอต่อ พี่เกรงใจ
ศุภวดี
- มันอาจจะเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก
ตอนนี้ง่ายขึ้นมากแล้ว
ทรงสุดา
- การเผยแพร่การวิจัยทำลักษณะใหนบ้าง
จุรี
- การนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ
และนานาชาติ โครงการที่สองเป็นโครงการบริการวิชาการที่บูรณาการกับวิชาเรียนสิ่งที่ตนเองคาดหวังคือการได้รับการตีพิมพ์เป็นบทความวิชาการ
มันอาจจะต้องเพิ่มในระเบียบวิธีวิจัยให้เข้มแข็งขึ้น
นวลละออง
- เหมือนที่ไป
ม.ภาค มันยังมีปัญหา เหมือนที่ผู้วิพากษ์ ว่าMethodology มีปัญหา
ทรงสุดา
ณรงค์
- ต้องการให้ช่วยไหมคะ
จุรี
- ไม่แม่นใน
Metodology
ไม่มีประสบการณ์abstract ภาษาอังกฤษ
ณรงค์
- ถ้าจะทำให้
สตรอง งานบริการวิชาการ และงานวิจัยจะได้เข้าไปช่วยเชฟ Process ให้ได้
การตีพิมพ์ ต้องทำ Process ให้เข้มแข็งออกแบบตั้งแต่ต้น
ผลของการอบรมทำให้เกิดพฤติกรรมตรงนั้น ดูการประเมิน
สุทธิดา
- ต้องดูขั้นตอนแรกว่าเราให้อะไรไปแล้วเกิดผลอะไร
เป็นเหมือน Intervention
จนถึงหกเดือน
ณรงค์
- มองต่อไปเป็นการแข่งขัน
สุทธิดา
- การติดตามก็ต้องติดตามกับเพื่อนร่วมงาน
หัวหน้าตึก ดูความพึงพอใจ
ดูผลที่ออกมาเขาก็พึงพอใจเมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานที่ผ่านมา เริ่มกล้าแสดงความคิดเห็น
เจ้าตัวก็รู้สึกพิึงพอใจ อ่านงานวิจัยแล้วกล้าเอามาพูดกับหมอได้
มันไม่ได้เพิ่มขึ้นเยอะมาก
กุลนรี
- มุมมองเชิงบริหาร
ณรงค์
- มันควรจะต้องบอกว่ามันเพิ่มขึ้นเท่าไหร่เมือเปรียบเทียบก่อนมา
เพราะเขาต้องลงทุนมาก การดูผลลัพธ์จากผู้ป่วย เช่นลดอัตราเสี่ยง
ศุภวดี
- อาจจะต้องพิจารณา
confounding
factor เพราะเคยเขียนโครงการลักษณะนี้มาก่อน
มีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้อง การที่อัตราตายของแม่ลดลงอาจจะมีปัจจัยอื่นๆ เลยบอกน้องน้องว่าเอา Competency ของสภาพยาบาลก็พอ
แต่ละด้านอยากให้น้องทำวิจัย
สุทธิดา
- พอดีได้ไปนิเทศ
เขาไม่อยากให้ข้อมูลเราเลย เกี่ยวกับ แม่ตาย แม่ชัก คลอดบนเตียง aplasia cutis congentiva คลอดบนเตียง จึงเป็นการยากที่จะถามข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะทำได้
เช่นการทำงานเป็นทีม ทักษะ สมรรถนะ อย่างที่ไปนิเทศเมื่อเดือนก่อน
มีเด็กคลอดบนเตียง 2 คน แต่ไม่มีในรายงาน
ณรงค์
- อาจจะเชิญผู้เข้ารับการอบรมมาถอดบทเรียน
ในกรณีที่มีปัญหาความเปราะบาง
กิจกรรมที่
2
: สรุปองค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ครั้งที่
1 และครั้งที่ 2
จากการแลกเปลี่ยนสองครั้งที่ผ่านมาได้บทเรียนในการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการและพัฒนามาเป็นผลงานทางวิชาการซึ่งมีสาระสำคัญในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้คือ
1.
การคืนข้อมูลสู่ชุมชน (การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
และการนำข้อมูลมาคืนให้กับผู้ใช้ข้อมูล (Stakeholder)
จากการแลกเปลี่ยนข้อมูล
สิ่งสำคัญในการบริการวิชาการในชุมชน คือ การคืนข้อมูลให้กับ
ผู้ใช้ข้อมูลดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการบริการวิชาการในลักษณะของการบูรณาการกับการเรียนการสอนในห้องเรียน
หรือการบริการวิชาการในเชิงของการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ที่จบการศึกษา(Post-
Graduated)ทั้งนี้ประโยชน์ที่ได้ คือ การได้เห็น gap of
knowledge และความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง
2.
การประสานงาน การมีส่วนร่วม
ในการจัดทำโครงการบริการวิชาการ จะต้องมีการประสานงานหลายภาคส่วน ทั้งในภาครัฐ
ภาคประชาชน ทั้งนี้เพื่อให้งานสำเร็จได้ด้วยดี
ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ได้ระบุการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน คือ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานสาธารณสุขเขต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์
โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลอำเภอ เทศบาลเมือง ภาคประชาชน และอีกหลายๆแห่งที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ในการจัดทำโครงการต่างๆต้องมาวิเคราะห์ให้ดีว่ามีหน่วยงานใดบ้างที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมหรือโครงการในการบริการวิชาการ
หากพิจารณาถึงการผลิตผลงานวิชาการอาจจะต้องคิดรวมไปถึงใครจะเป็นผู้เกี่ยวข้องในการผลิตผลงานวิชาการจากงานบริการวิชาการนี้
3.
การสั่งสมความเชี่ยวชาญของอาจารย์ ในประเด็นดังกล่าวมีอาจารย์หลายท่านได้ถ่ายทอดประสบการณ์
ในเรื่องของความเชี่ยวชาญตามสาขาที่สอนอยู่
ซึ่งอาจารย์ได้มีประสบการณ์ในเรื่องการสอนจนมีความเชี่ยวชาญมีความรู้ดี
ในเรื่องนั้นๆ ได้พัฒนามาเป็นหนังสือ และตำรา รวมทั้งบทความทางวิชาการ และบทความวิจัย
4.
การวางแผนการทำวิจัย
มีความสำคัญมากในเรื่องของการทำวิจัยควบคู่ไปด้วย
อาจจะมีการวางแผนภายใต้โครงการบริการวิชาการหรือการจัดทำโครงการวิจัยคู่ขนานไปกับงานบริการวิชาการ
และการขอจริยธรรมการวิจัย
5.
สิ่งที่ต้องการพัฒนา คือ เรื่องของความสอดคล้องของระเบียบวิธีวิจัยกับการเขียนโครงการบริการวิชาการ
การเขียนขอทุนวิจัย ในประเด็นนี้อาจจะต้องมารออกแบบการวิจัยที่เหมาะสมต่อไป
และควรมีรูปแบบสัก 2-3
รูปแบบเพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้
กิจกรรมที่
3
: แผนการการปรับปรุง
ดัดแปลง
สร้างองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งานและหรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในกิจการงานของตน
หลังจากที่ได้ข้อมูลและทุกคนในกลุ่มได้เห็นชอบร่วมกันว่าจะต้องมีการแชร์ประสบการณ์เพื่อให้มีเนื้อหาที่มากขึ้นและจึงมาวิเคราะห์
ดัดแปลง องค์ความรู้ให้เหมาะสมกับบริบทของวิทยาลัย
กิจกรรมที่ 1 : แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เกี่ยวกับ ประสบการณ์การจัดทำโครงการวิจัยเพื่อผลิตผลงานวิชาการ (งานวิจัย ตำรา หนังสือ บทความวิชาการ): เมื่อปี พ.ศ 2554 ได้ร่วมจัดทำโครงการบริการวิชาการบููรณาการกับงานวิจัยซึ่งวิทยาลัยได้รับงบสนับสนุนจาก สปสชและมีการทำโครงการร่วมกับเครือข่าย โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลยางตลาด โรงพยาบาลน้ำพองและรพ.สต บ้านเป็ด วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อพัฒนา อสม.ให้มีจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยมีพื้นที่ในการทำโครงการ 3 พื้นที่ คือชุมชนเขตเมือง เขตกึ่งเมือง และเขตชนบท ระยะเวลาในการดำเนิน จำนวน 1 ปี ในเเต่ละพื้นที่ ลักษณะการทำโครงการนี้มีการวางเป้าหมายชัดเจนในการทำกิจกรรมและการทำวิจัย มีการลงพื้นที่กำกับติดตามเป็นระยะๆโดยเครือข่ายทั้ง 3 สถาบัน สุดท้ายได้รายงานวิจัยพื้นที่ละ 1 เรื่องและในพื้นที่ชุมชนเขตกึ่งเมืองบ้านฮ่องฮี อำเภอยางตลาด และได้โมเดลในการพัมนาจิตบริการหัวใจความเป็นมนุษย์สำหรับ อสม.ในการให้บริการพื้นที่เขตกึ่งเมือง ข้าพได้นำผงานวิจัยไปเผยแพร่ผลในการประชุมนานาชาติ ที่จ.เชียงใหม่ จัดการประชุมโดยเครือข่ายภาคเหนือ และได้นำผลงานวิจัยมาเเลกเปลี่ยนกับอาคันตุกะต่างประเทศจากประเทศ อินโดนีเซีย ซึ่งให้ความสนใจและขอนำงานวิจัยไปใช้ในเมืองจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซีย โดยคุณอีลีอานา
ตอบลบกิจกรรมที่ 2 : สรุปองค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
จากการเเลกเปลี่ยนในครั้งที่ 1 และ 2 จากประสบการณ์ของข้าพเจ้านั้นคิดว่า ความสำเร็จของโครงการบริการวิชาการที่สร้างคุณค่าต่อยอดด้วยงานวิจัยจะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีปัจจัยที่ประกอบด้วย
1) การทำงานอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน: เช่น ชุมชน สถาบันด้านการศึกษา สถาบันด้านสุขภาพและหน่วยงานสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อดำเนินโครงการและวิจัย
2) การทำโครงการเพื่อตอบสนองปัญหาและความต้องการของชุมชนอย่างเเท้จริง: ดังนั้นผู้ดำเนินโครงการต้องมีกระบวนการหรือเท็คนิกที่ดึงความรู้ ความคิด ความต้องการ หรือปัญหาจากคนในชุมชนให้ได้ด้วยกระบวนการของชุมชนเอง เช่น การใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น การใช้กระบวนการสุนทรียสนทนา การใช้การเข้าถึงชุมชนด้วยความเป็นกัลยาณมิตร
3) การทำกิจกรรมทุกครั้งต้องมีการคืนข้อมูล: เพื่อให้ทุกภาคส่วนเกิดการรับรู้เเละเข้าใจในกิจกรรมไปพร้อมๆกัน
กิจกรรมที่ 3 : แผนการการปรับปรุง ดัดแปลง สร้างองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งานและหรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในกิจการงานของตน
จากประสบการณ์และจากการได้ร่วมเเลกเปลี่ยนการทำกิจกรรม KM เเละวิเคราะห์ถึงเเนวโน้มในอนาคตข้างหน้าของสถาบันและศักยภาพของอาจารย์ในวิทยาลัยแล้ว มีความคิดเห็นว่า การจัดทำโครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างผลงานด้านวิชาการนั้นมีเเนวโน้มในทิศทางที่ดีเพราะอาจารย์ทุกคนได้เล็งเห็นความสำคัญในการทำพันธกิจด้านบริการวิชาการและวิจัย ผลงานวิชาการ สิ่งที่อาจต้องพิจารณาเพิ่มเติมในองค์ความรู้ที่ได้ มีข้อคิดเห็นดังนี้ คือ
1) การสร้างโครงการ (บริการวิชาการให้เกิดผลงานวิชาการ) ที่ทำให้เกิด impact ทั้งชุมชน สถาบันการศึกษาและอาจารย์ เพราะในการพัฒนาต่อเนื่องเเละระยะยาวน่าจะเกิดผลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนให้เข้มเเข็ง สถาบันการศึกษามีชื่อเสียงในเรื่องนั้นๆ และอาจารย์มีความเชี่ยวชาญหลุ่มลึกในองค์ความรู้เป็นผู้นำทางวิชาการ
2) การสร้างทีมที่เข้มเเข็งเพื่อรองรับการพัฒนาทั้งองค์กร
3) การมีเเหล่งทุนสนับสนุนในระดับชาติและนานาชาติ
4) การเผยแพร่ผลงานวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
5) การนำผลงานวิชาการไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ให้เเพร่หลาย
6) การคุ้มครองลิขสิทธิ์ผลงานที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำโครงการบริการวิชาการหรือกระบวนการผลิตผลงานวิชาการ
7) ทีมงานต้องมีการเติมกำลังใจให้กันและกันร่วมมือและวางเเผน PDCA ตลอดเวลา
แผนการการปรับปรุง ดัดแปลง สร้างองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งานและหรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในกิจการงานของตน ขอเสนอดังนี้
ตอบลบ1. วางแผน กำกับติดตาม โครงการบูรณาการการบริการวิชาการ การเรียน การสอน กับการวิจัยให้เป็นรูปธรรม โดยให้ข้อเสนอในการประชุมกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร และคณะกรรมการกำกับคุณภาพบัณฑิต เพื่อวางแผนล่วงหน้า ในการเลือกวิชา ที่สามารถบูรณาการ ทั้ง 3 พันธกิจได้อย่างครอบคลุม เช่น วิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ ที่อาจารย์ประจำวิชา อ้นนักวิจัยในขั้นตอนการเก็บรบาจทำเขียนโครงร่างวิจัยศึกษาความตรงและความเที่ยงของแบบประเมินความรุนแรงในหญิงตั้งครรภ์ โดยมอบหมายให้นักศึกษารร่วมเป็นนักวิจัยในการเก็บข้อมูล และครูเป็นวิทยากรบรรยายในการอบรมหลักสูตรผดุงครรภ์ความเสี่ยงสูง เป็นต้น
การบูรณาการบริการวิชาการและงานวิจัย ควรมีการวางแผนและกำหนดงานที่ชัดเจน และตอบสนองพันธกิจวิทยาลัยฯ และกำหนดทีมรับผิดชอบก่อน มีเวทีการนำเสนอแผนดำเนินการ มีการติดตามและเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปผล ความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค เพื่อนำไปขยายผลใช้ต่อไป
ตอบลบการบูรณาการบริการวิชาการกับการวิจัยเพื่อผลิตผลงานวิชาการ เสนอแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
ตอบลบ1. กำหนดประเด็นในการให้บริการวิชาการที่ชัดเจน สอดคล้องกับความรู้และประสบการณ์ของบุคลากรของหน่วยงาน
2. เสริมสร้างความรู้ ให้เข้มแข็ง โดยการสอนแนะนำ อบรม หรือแลกเปลี่ยนความรู้ ภายในหน่วยงาน
3. จัดการให้บริการวิชาการในส่วนของภาควิชา หรือในภาพรวมของหน่วยงาน
4. สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการให้บริการวิชาการ
5. นำองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น ไปพัฒนาหรือประยุกต์ใช้กับ การบริการวิชาการของภาควิชา
6. ถอดบทเรียนที่ได้รับจากการให้บริการวิชาการ เพื่อนำมาอ้างอิงหรือสนับสนุน องค์ความรู้ที่เกิดขึ้น
หากนำ Model ที่ได้ดำเนินงานรอบท่แล้วมาดำเนินการจะสามารถเห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
ตอบลบแผนการการปรับปรุง ดัดแปลง สร้างองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งานตามโมเดล คือ ได้นำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปเผยแพร่สู่รพ.สต. ในเขตภาคอีสาน จำนวน 5 เเห่งในเดือน กรกฎาคม 2562
ตอบลบเห็นด้วยกับ ดร.ศุภวดี แถวเพีย ค่ะ
ตอบลบขอเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดกระบวนการ PDCA วงต่อไป โดยเมื่อดำเนินการสำเร็จแล้ว ควรมีการ AAR หาจุดแข็ง จุดปรับปรุง เช่นการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับบริการวิชาการในรายวิชาฯนี้ ทำทุกปีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง น่าจะเกิดแนวปฏิบัติที่ดีได้อะไรบ้าง
เห็นด้วยกับอาจารย์ ดร.ศุภวดี และ อาจารย์ดวงชีวัน ครับ
ตอบลบในการทำงานแต่ละ ไตรมาศ หรือ แต่ละปี ควรกำหนดแผนงานและค่าเป้าหมายให้อาจารย์และบุคลากร ได้ร่วมกันทำและให้บรรลุเป้าหมาย เกิด Best practice ต่อไป
การทำงานถ้ามี Modelที่ดีเป็นแบบอย่างนั้น จะทำให้ชิ้นงานนั้นออกมาได้ดีใช้ระยะเวลาในการทำน้อยแต่ประสิทธิผลสูง การเลือกใช้ Modelใดก็ตามต้องให้เข้ากับงานที่เราจะศึกษาด้วย ควรตั้งเป้าหมายของงานว่าเราและทีมต้องการเป้าสูงสุดแค่ไหน
ตอบลบน่าจะมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใน ตามหัวข้อที่ตั้งไว้ การบูรณาการบริการวิชาการกับงานวิจัย เพื่อผลิตผลงานวิจัย วิชาการ เฉพาะอาจารย์วิทยาลัย เพราะทุกท่านถือว่าเป็นกลไกขับเคลื่อนงาน ทั้งส่วนที่เป็รคลินิค และชุมชน เพื่อกำหนดประเด็นการวิจัยร่วมกัน และรวบรวมงานที่อาจารย์แต่ละท่านดำเนินการด้านบริการวิชาการอยู่ในปัจจุบัน ก่อนกำหนดค่าเป้าหมาย หรือออกแนวปฏิบัติที่ดีี เพื่อให้เกิดความครอบคลุม เกิดความคุ้มค่าคุ้มทุน
ตอบลบหากมีแผนงานหรือแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานที่ชัดเจนจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีการวางแผนงานและดำเนินการได้ง่ายขึ้นตามกระบวนการ PDCA
ตอบลบการบูรณาการบริการวิชาการกับการวิจัยเข้าด้วยกันได้เป็นสิ่งที่ดีมาก เพื่อให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด และคนทำงานไม่เหนื่อยล้ามาก และถ้าได้แนวปฏิบัติที่ดี จะทำให้คนอื่นสามารถทำตามได้ง่ายยิ่งขึ้นไปคะ
ตอบลบการบูรณาการบริการวิชาการกับการวิจัยเพื่อผลิตผลงานวิชาการ เป็นแนวทางที่ดีค่ะ
ตอบลบการบูรณาการบริการวิชาการกับการวิจัยเข้าด้วยกันได้เป็นสิ่งที่ดีมาก เพื่อให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด
ตอบลบ