กลุ่มวิจัย และบริการวิชาการ

8 ความคิดเห็น:

  1. การบูรณาการงานบริการวิชาการกับงานวิจัย เป็นการทำงานที่ทำงานที่เป็นการสร้างคุณค่าของงาน การทำงานที่มีผลลัพธ์ เป็นการทำงาน ที่เป็นการทำงานในยุค 4"0 อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดีกระบวนการทำงานในการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในองค์กรก็เป็นสิ่งสำคัญ ในความหมาย การสร้างการมีส่วนร่วม คือการสร้างความเป็นเจ้าของ ร่วมคิดร่วมทำ ร่วมประเมินผล และรับผลลัพธ์ จากงาน หรือโครงการนั้นๆ ไม่ใช่แค่เป็นการไปร่วมเรียนรู้ .....ขาดความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Steak Holder การขับเคลื่อนควรเป็นการขับเคลื่อนในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง แน่นอนที่สุดที่ควรมีผู้รับผิดชอบหลัก ที่เป็นเจ้าของงาน แต่ในขณะเดียวกันก็ควรมอบความเป็น Steak Holder ให้กับผู้ที่สมัครใจเข้าไปร่วม และควรเป็นการดำเนินงานที่มีความต่อเนื่องของทีม มอบภาระกิจ บทบาท ให้กับทีมที่ไปร่วม ให้โอกาสในการเข้าถึงงานกับทุกคน .... การดำเนินงานของทีม Teen mom เป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานเป็นทีม สร้างความเป็น Steak Holder ให้กับผู้ที่ร่วมงาน .....

    ตอบลบ
  2. ผลการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM ครั้งที่ 1/2561 วันที่5 มกราคม2561 ที่ห้องมณฑาทิพย์ วัตถุประสงค์ข้อที่1 ถอดบทเรียนประสบการณ์การบูรณาการงานบริการวิชาการกับการวิจัยและผลงานวิชาการ พบว่ามีความรู้ 3 ชุดคือ (1)ที่มาของผลงานมาจาก 3ทางหลัก คือ 1)งานตามโครงสร้าง เช่นเป็นผู้รับผิดชอบโครงการยุทธ์ศาสตร์หรือโครงการประจำ 2)ความถนัดหรือเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่สอน เช่น การพยาบาลมารดา การพยาบาลชุมชน และ3)จากเชิงนโยาบาย เช่น DHS/DHML Teen Mom เป็นต้น (2)การดำเนินงาน โดยพบ 2 ลักษณะ คือ 1)การคิดออกแบบงาน ทั้งบริการวิชาการ และงานวิจัยคู่ขนานกัน เช่น ทำโครงการและพัฒนา และทำวิจัยและตำราควบคู่ และ 2)การทำบริการวิชาการ เช่น เป็นวิทยากร ก่อน และใช้บททบทวนวรรณกรรม มาสังเคราะห์เขียนเป็นบทความวิชาการ แล้ว ทำวิจัย และตำรา และ (3) ผลลัพธ์จาการทำงานแบบบูรณาการ 1)เกิดการบริการวิชาการ โครงการ กิจกรรม พัฒนา 2) เกิดผลงานวิจัย บทความวิชาการ ตำรา ตีพิมพ์เผยแพร่ 3)มีทักษะ ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอน 4)เกิดเครือข่ายในการทำงานและวิจัย แหล่งฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษา ทั้งนี้ปัจจัยเงื่อนไขที่สำคัญคือ 1)การคิดออกแบบงานเชิงบูรณาการตั้งแต่ต้น 2)การสร้างทีมทำงานและเครือข่าย 3)การจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ จะช่วยการทำงานประสบความสำเร็จ (กิตติภูมิ ภิญโย, 6มค61)

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. อาจารย์แต่ละท่านสามารถเริ่มต้นการสร้างสรรผลงานวิชาการได้ตามที่มาที่ระบได้ดังกล่าว ซึ่งส่วนตัวของข้าพเจ้าจะเน้นตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของตน การรู้ลึกจะช่วยให้คิดแก้ไขปัญหาผ่านกระบวนการวิจัย ผลวิจัยที่ได้สามารถนำมาใช้ต่อเนื่องในการให้บริการวิชาการตามความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

      ลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ23 มกราคม 2561 เวลา 08:19

    การจัดทำ KM ของกลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ ..จากโจทย์คำถาม : บูรณาการบริการวิชาการอย่างไรให้ได้ผลงานวิชาการ วิจัย และ ตีพิมพ์..กระบวนการ KM จาก Key person จำนวน 4 คน พบว่า 1. รูปแบบการบริการ : การบริการวิชาการถูกออกแบบวางแผนแบบR&D PAR การบริการวิชาการถูกออกแบบวางแผนทำงานวิจัยร่วมด้วย และวิทยากรอบรมหลักสูตรความเสี่ยงสูง 2.กระบวนการบริการ เป็น กระบวนการ PDCA และ มีการเก็บข้อมูลและดำเนินวิจัยร่วม มีการทบทวนวรรณกรรมจากการวิจัย เตรียมเอกสารการสอน และ ปรับปรุงเอกสาร 3. ระยะเวลา การดำเนินพบว่าทุกคนและทุกโครงการมีระยะเวลาต่อเนื่องตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป

    บทเรียนรู้ในการจัดบริการวิชาการเพื่อสร้างมูลค่าของงานครั้งนี้จึงเป็นสิ่งที่ควรมีการขยายผลในโครงการอื่นๆ "ทำน้อยได้มาก ทำมากสร้างทวีคูณ"....ศิราณี ศรีหาภาค...งานบริการวิชาการ


    ตอบลบ
  4. ความมุ่งมั่นตั้งใจจะทำให้งานสำเร็จ เหนื่อยได้แต่อย่าท้อถอยกับการผลิตผลงานวิชาการเพราะชิ้นงานที่ได้จะสะท้อนความเป็น professional competence ของเจ้าของผลงาน

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ3 สิงหาคม 2561 เวลา 00:49

    วันนี้ถอดบทเรียน การบูรณการบริการวิชาการสู่การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว พบว่า
    การบริการวิชาการเพื่อให้เกิดการบูรณการสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบสุขภาพเป็นการสร้างคุณค่าจากการให้บริการ ซึ่งเป็นการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการหรือการวิจัยและพัฒนา และมีลักษณะของการออกแบบกระบวนการบริการวิชาการที่สำคัญ คือ การกำหนดโจทย์การวิจัย ที่นำมาสู่การออกแบบวงจรปฏิบัติการของการให้บริการวิชาการตามกระบวนการ วางแผน (Plan) ปฏิบัติ (Do) ประเมิน (Check) พัฒนาปรับปรุง (Act) รวมทั้งการออกแบบเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูลการให้บริการวิชาการในแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบด้วยเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ จะทำให้เกิดการสร้างองค์ความรู้จากปฏิบัติให้บริการวิชาการ ในการสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน มีประเด็นการสร้างองค์ความรู้ที่น่าสนใจหลายหลากประเด็น ได้แก่ การประเมินผลหลักสูตรผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว รูปแบบการจัดบริการวิชาการเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวของสถาบันการศึกษา เป็นต้น ศิราณี ศรีหาภาค งานบริการวิชาการ

    ตอบลบ
  6. โครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชนท้องถิ่น ในการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ
    บทบาท วิทยาลัยพยาบาลเป็นสถาบันคู่ความร่วมมือ ได้นำองค์ความรู้ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินโครงการบริการวิชาการพัฒนามาเป็นผลงานวิชาการ โดย การนำ การทวนข้อมูลกับชุมชน เรียนรู้ศักย์ภาพของชุมชน ถอดบทเรียน นวัตกรรมเด่น นำสู่ การกำหนดประเด็นวิจัย โดย มีเส้นทางดำเนินการดังนี้
    โครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชนท้องถิ่น ในการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ
    บทบาท วิทยาลัยพยาบาลเป็นสถาบันคู่ความร่วมมือ ได้นำองค์ความรู้ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินโครงการบริการวิชาการพัฒนามาเป็นผลงานวิชาการ โดย การนำ การทวนข้อมูลกับชุมชน เรียนรู้ศักย์ภาพของชุมชน ถอดบทเรียน นวัตกรรมเด่น นำสู่ การกำหนดประเด็นวิจัย

    ตอบลบ
  7. วิทยาลัยพยาบาลเป็นสถาบันคู่ความร่วมมือตามโครงการ ได้นำองค์ความรู้ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนจนเกิด การกำหนดประเด็นวิจัยร่วมกับพื้นที่ในชุมชน

    ตอบลบ