วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง (BCNKK Model) ครั้งที่ 3/2563 กลุ่มวิชาการ


วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : 10 มกราคม 2563

กิจกรรมที่ 1. กำหนดเป้าหมายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กิจกรรมที่ 2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนา Critical Thinking  Model
กิจกรรมที่ 3. องค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ครั้งที่ 3
กิจกรรมที่ 4. วางแผนการจัดการความรู้ครั้งต่อไป และ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์


ผู้เข้าร่วม        1. นางธรณิศ   สายวัฒน์
                   2. นางสมใจ   เจียระพงษ์
                   3. นางดวงชีวัน   เบญจมาศ
                   4. นางพิริยากร   คล้ายเพ็ชร
                   5. นางสาวปราณี   แสดคง
                   6. นางสาวกันนิษฐา   มาเห็ม
                   7. นางรัชนี   พจนา
                    8. นางรุ่งทิพย์   พรหมบุตร
                   9.  นางเอมอร   บุตรอุดม
                   10. นางภาสินี   โทอินทร์
                   11. นางจรรยา   คนใหญ่
                   12. นางสาวสรัญญา  เปล่งกระโทก
                   13. นางสาวสายใจ    คำทะเนตร
                   14. นางพัฒนี   ศรีโอษฐ์
                   15. นางสาวพลอยลดา  ศรีหานู   ผู้จดบันทึก
                   16. นางเสาวลักษณ์   ชาญกัน
                   17. นางทิพวรรรณ     ทัพซ้าย
                   18. นางสาวสายสุดา   จันหัวนา
                   19. นายวิทยา  วาโย
                   20. นางสาวชุตินันท์   ไก่ฟ้า
                   21. นางสาวศุกลรัตน์  บุญสิทธิ์
                   22. นายกฤษฎา  นามวิชัย


กิจกรรมที่ 1 กำหนดเป้าหมายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. แสวงหาความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับ Critical Thinking  Model
2. สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการ Critical Thinking  Model เพื่อนำไปใช้ประโยชน์
3. มอบหมายการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในรายวิชา


กิจกรรมที่ 2  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนา Critical Thinking  Model

สมาชิกคนที่ 1 :   เสนอแนะให้สมาชิกร่วมกันทบทวนคำจำกัดความ “ทักษะการคิดขั้นสูง” เพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน

สมาชิกคนที่ 2 - 3 : สรุปทักษะการคิดขั้นสูง ว่าคือ ทักษะการคิดขั้นสูง หมายถึง ผู้เรียนสามารถสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย มีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพและที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้ประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพในการให้บริการการพยาบาล และสามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทางการวิจัย และ นวัตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา รวมทั้ง มีสมรรถนะโดดเด่นด้านการพยาบาลชุมชน โดยมีความรู้ความสามารถเป็นนวัตกรด้านสุขภาพ

สมาชิกคนที่ 4 - 8 : ได้ร่วมกันนำเสนอ การนำ Critical Thinking  Model ไปใช้ในการออกแบบวิธีการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอน  วิธีการ หรือเครื่องมือวัด กระบวนการหรือผลลัพธ์ ปัญหาหรืออุปสรรค และแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนา Critical Thinking  Model

สมาชิกคนที่ 9 : ได้สรุป พบว่าภายหลังจากที่แต่ละรายวิชาได้นำเสนอ พบว่ามีปัญหาในส่วนของ Model ที่ยังไม่ครอบคลุม

สมาชิกคนที่ 10 : เสนอให้ร่วมกันกำหนดประเด็นที่สำคัญอีกครั้งเกี่ยวกับ Model เพื่อจะได้มีแนวทางที่ชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกัน ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สมาชิกคนที่ 11 - 12 : เสนอตัวแรกของการเริ่ม Model คือ Stimulation แทน Problem ซึ่งเป็น สิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ได้จากประสบการณ์ตรง หรือสถานการณ์  ที่เป็นประเด็นด้านบวกและลบ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาให้ดีขึ้น

สมาชิกคนที่ 14 – 15 : เห็นด้วยกับ สมาชิกคนที่ 11 – 12 ให้ Stimulation เป็นขั้นตอนหลักที่ 1 และได้เพิ่มขั้นตอนหลักที่ 2 เป็น Thinking ซึ่งเป็นกระบวนการคิดไตร่ตรองอย่างเป็นเหตุเป็นผล

สมาชิกคนที่ 16 – 18 : เห็นด้วยกับ สมาชิกคนที่ 14 – 15 และได้เสนอว่าภายใน Thinking ที่เป็นกระบวนการคิดไตร่ตรองอย่างเป็นเหตุเป็นผล  เป็นพลวัตร โดยผ่านขั้นตอน ประกอบด้วย 1) Analysis : คิดวิเคราะห์ จากสิ่งเร้า สถานการณ์ เพื่อกำหนดประเด็นในการเรียนรู้ 2) Brain storming :  ระดมความคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้  สืบค้นข้อมูล เชื่อถือได้ 3) Decision Making : สรุปประเด็นสำคัญและตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาปรับปรุง หรือแก้ปัญหา

สมาชิกคนที่ 19 : เสนอแนะให้เพิ่มขั้นตอน Communication and Open-Mind  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ก่อน ขั้นตอน Decision Making

สมาชิกคนที่ 2 : เห็นด้วยกับ สมาชิกคนที่ 19 และได้เสนอแนะว่าให้เพิ่มเติมขั้นตอนที่ 5 ของ Thinking เป็น Creativity : พัฒนาปรับปรุง หรือ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ภายใต้บริบทที่เป็นไปได้

สมาชิกคนที่ 3 : เสนอแนะให้ทั้ง 5 ขั้นตอนของ Thinking ผ่านเทคนิคการสะท้อนคิด (Reflective)

สมาชิกคนที่ 7 : เสนอขั้นตอนหลักที่ 3 ให้เปลี่ยน จาก Solution เป็น Result ซึ่งเป็น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ประเมินผลจากความรู้ (MEQ) ทักษะ(OSCE)  สมรรถนะ(CT) และการสะท้อนคิด(AAR)

สมาชิกคนที่ 1 : สรุปทักษะการคิดขั้นสูงเริ่มต้นจาก Stimulation ขั้นตอนที่ 2 คือ Thinking ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนย่อย ดังนี้ Analysis, Brain storming, Communication and Open-Mind, Decision Making และ Creativity ขั้นตอนที่ 3 คือ Result

สมาชิกคนที่ 4 : เสนอแนะเพิ่มเติมให้รายวิชาดำเนินการออกแบบและจัดการเรียนรู้ตาม Model เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงตามความเหมาะสมของสมรรถนะผู้เรียน

สมาชิกคนที่ 8 : เสนอให้ผู้รับผิดชอบนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบวิชาและผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนหรือผู้ร่วมนิเทศในรายวิชา

สมาชิกคนที่ 1 : เสนอให้สมาชิกร่วมกันวางแผนกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการครั้งที่ 4 โดยให้รายวิชาที่เป็นตัวอย่างเบื้องต้น 6 รายวิชา นำเสนอ วิธีการ รูปแบบการสอน เครื่องมือวัดประเมินผล ปัญหาอุปสรรค รวมทั้งแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุงพัฒนา 


กิจกรรมที่ 3   องค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ครั้งที่ 3

เรื่องในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : Critical Thinking  Model

3.1 คำจำกัดความ  : ทักษะการคิดขั้นสูง
          ทักษะการคิดขั้นสูง หมายถึง ผู้เรียนสามารถสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย มีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพและที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้ประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพในการให้บริการการพยาบาล และสามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทางการวิจัย และ นวัตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา รวมทั้ง มีสมรรถนะโดดเด่นด้านการพยาบาลชุมชน โดยมีความรู้ความสามารถเป็นนวัตกรด้านสุขภาพ

3.2 ขั้นตอนของ Critical Thinking  Model (STR BCNKK) 



ขั้นตอนที่ 1 Stimulation : สิ่งเร้า/สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ได้จากประสบการณ์ตรง / สถานการณ์  ที่เป็นประเด็นด้านบวกและลบ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาให้ดีขึ้น

ขั้นตอนที่ 2 Thinking : กระบวนการคิดไตร่ตรองอย่างเป็นเหตุเป็นผล  เป็นพลวัตร โดยผ่าน 5 ขั้นตอน ทุกขั้นตอนผ่านเทคนิคการสะท้อนคิด (Reflective)
         1) A : Analysis : คิดวิเคราะห์ จากสิ่งเร้า สถานการณ์ เพื่อกำหนดประเด็นในการเรียนรู้
         2) B : Brain storming :  ระดมความคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้  สืบค้นข้อมูล เชื่อถือได้
         3) C : Communication and Open-Mind   สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
         4) D : Decision Making : สรุปประเด็นสำคัญและตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาปรับปรุง หรือแก้ปัญหา
         5) C : Creativity : พัฒนาปรับปรุง หรือ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ภายใต้บริบทที่เป็นไปได้

ขั้นตอนที่ 3 Result : ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ประเมินผลจากความรู้ (MEQ) ทักษะ(OSCE)  สมรรถนะ(CT)และการสะท้อนคิด(AAR)

3.3 รายวิชาที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 6 รายวิชา ดังนี้
1.)     ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 
2.)     ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ 
3.)     ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช  
4.)     ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2 
5.)     ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกฯ 2 
6.)     ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1


กิจกรรมที่ 4. วางแผนการจัดการความรู้ครั้งต่อไป และ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

4.1 รายวิชา ที่จะนำองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยน
          รายวิชาในชั้นปีที่ 2
1.)     ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1  (อ.รุ่งทิพย์)
2.)     ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ  (อ.รุ่งทิพย์)
          รายวิชาในชั้นปีที่ 3
3.)     ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช   (อ.ธรณิศ)
4.)     ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2  (อ.พิริยากร)
5.)     ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกฯ 2  (อ.ดวงชีวัน)
6.)     ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 (อ.ปราณี)

4.2 แนวทางการแลกเปลี่ยน
          1. นำเสนอการนำ Critical Thinking  Model ไปใช้ในการออกแบบวิธีการ/รูปแบบ การจัดการเรียนการสอน
          2. วิธีการ/เครื่องมือวัด กระบวนการหรือผลลัพธ์
    3. ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไขและปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนา Critical Thinking Model

4.3 เป้าหมายการแลกเปลี่ยนครั้งที่ 4
          1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. ผลการทดลองใช้ Critical Thinking  Model

4.4 กำหนดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กำหนดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันที่ 6 มีนาคม 2563 เวลา 9.00 - 12.00 น. ห้องประชุม ห้องพักอาจารย์ 3 โดยเป้าหมาย คือผลของการทดลองใช้ Model  จบการทำงาน Cop การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงเวลา 12.00 น.

1 ความคิดเห็น:

  1. Harrah's Cherokee Casino & Hotel Map & Floor Plans - Mapy
    Harrah's Cherokee 하남 출장샵 Casino & 제주 출장마사지 Hotel - Find your 서산 출장안마 way around 아산 출장샵 the casino, find where everything is located with these helpful community 대구광역 출장안마 guides.

    ตอบลบ