วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562

การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูง


กลุ่มวิชาการ
วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : 7 ธันวาคม 2561
สถานที่ : ห้องประชุมดอกตะแบก
เวลา : 13.00 น. ถึง 16.00 น.

กิจกรรมที่ แลกเปลี่ยนความรู้นิยามศัพท์การคิดขั้นสูง
กิจกรรมที่ แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูง
กิจกรรมที่ แนวทางที่จะนำไปประยุกต์ใช้


ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1.       นางสมใจ   เจียระพงศ์          ประธาน

2.       นางสุจินดา    ศรีสุวรรณ
3.       นางรัชนี   พจนา
4.       นางสาวปราณี   แสดคง
5.       นางพัฒนี   ศรีโอษฐ์
6.       นางรุ่งทิพย์   พรหมบุตร       
7.       นางสาวสายใจ   คำทะเนตร
8.       นางเอมอร   บุตรอุดม
9.       นางจรรยา   คนใหญ่
10.   นายวิทยา   วาโย
11.   นางสาวพลอยลดา   ศรีหานู     เลขานุการ


วัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้
1.       เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูง
2.       เพื่อวางแผนการนำองค์ความรู้มาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน โดยมีประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 แลกเปลี่ยนความรู้นิยามศัพท์การคิดขั้นสูง 

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนิยามศัพท์ การคิดขั้นสูงว่า หมายถึง กระบวนการคิดที่มีรูปแบบ มีความเป็นเหตุเป็นผล มีการคิดเชื่อมโยง คิดวิเคราะห์ ซึ่งจะนำไปสู่ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน

กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูง

จากการแลกเปลี่ยนความรู้นิยามศัพท์การคิดขั้นสูงในกิจกรรมที่ 1 แล้ว ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประสบการณ์
วิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูงว่าทำอย่างไร ดังนี้ อาจารย์ผู้สอนมีความรู้และ
ประสบการณ์ตรง มีการสร้างทัศนคติที่ดี สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยมีวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายใน
แต่ละรายวิชา ประกอบด้วย Case base learning, การวิเคราะห์ข้อสอบ, Role play, mapping, Simulation, 
Authentic learning, EBN, Learning by doing, รวมไปถึงการใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น VDO, Google classroom, 
Kahoot และGoogle doc

กิจกรรมที่ 3 แนวทางที่จะนำไปประยุกต์ใช้  (จะปรับปรุงตรงไหนอย่างไร ช่วงไหน ใช้เวลากี่วัน)

นำเนื้อหาไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูงและหาแนวทางพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูง โดยจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน CoPs ครั้งที่ 2 วันที่ 11 มกราคม 2562

อ.พัฒนี
- ใช้ Case base learning ในรายวิชาปฏิบัติ แลกเปลี่ยนในกลุ่ม อาจารย์ผู้สอนสรุปชี้ประเด็นที่สำคัญ
อ.สุจินดา
- รายวิชาจริยศาสตร์ กฎหมายและจรรยาบรรณรายวิชาชีพ ให้ผู้เรียนขึ้นฝึกปฏิบัติงานก่อนในชั้นปีที่ 2 ใช้ประสบการณ์จากการขึ้นฝึกปฏิบัติงาน เช่น สิทธิผู้ป่วย หรือการละเมิด มีการใช้คำถามกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการคิดวิเคราะห์ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
อ.พิริยากร
- รายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 ให้ผู้เรียนสร้างสื่อวีดิโอ แสดงบทบาทสมมติ มีทั้งหมด 8 กลุ่ม เปิดในชั้นเรียน อาจารย์ผู้สอนสะท้อน
อ.เอมอร
- มีการนำอ้างอิง ให้ผู้เรียนสรุปเนื้อหา แบ่งกลุ่ม แต่ละกลุ่มได้หัวข้อไม่เหมือนกัน เป็น mapping นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ อาจารย์ผู้สอนสรุปให้ในภาพรวม
อ.พลอยลดา
- อาจารย์ผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่สอนนั้นจริงๆเป็นความรู้เชิงลึก มีการเตรียมความพร้อมก่อนการสอน และอัพเดตความรู้ที่ทันสมัย  ในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 และรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 มีการเริ่มต้นการสอนด้วยการทบทวน Anatomy และที่สำคัญคือ physiology การทำหน้าที่ของอวัยวะหรือระบบนั้นๆ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลอย่างไรบ้าง เน้นให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจมากกว่าการจดจำ และเกิดความคิดที่เชื่อมโยง เมื่อเกิดความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงแล้ว การดูแลการพยาบาลที่สำคัญต้องทำอย่างไรเพื่อป้องกันหรือลดสิ่งที่คุกคามชีวิตผู้ป่วย หลังจากบรรยายเสร็จ นำ Case กรณีศึกษาให้ผู้เรียนได้ทำเพื่อตกผลึกความรู้ โดยผู้เรียนแบ่งกลุ่ม วิเคราะห์ในประเด็นต่างๆ เกิดการเรียนรู้ การนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน
อ.รุ่งทิพย์
- รายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 ใช้ Simulation ให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์จากสถานการณ์ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ นำเสนอ อาจารย์ผู้สอนสะท้อนในประเด็นต่างๆ
อ.จรรยา
- ใช้ Case กรณีศึกษา ก่อนการสอนบรรยาย มีการเข้ากลุ่มกับอาจารย์ผู้สอนประจำกลุ่ม นำเสนอ และอาจารย์ผู้สอนสรุปเนื้อหาให้
อ.รัชนี
- ใช้ Google classroom ให้งานล่วงหน้า ให้ผู้เรียนทำข้อสอบก่อนเรียนใน Kahoot แสดงบทบาทสมมติ อาจารย์ผู้สอนมีส่วนร่วมแสดงเป็นผู้ป่วย ผู้เรียนสะท้อนกลุ่มที่นำเสนอ มีการให้ผู้เรียนออกข้อสอบใน Google doc แล้วมาเฉลยวิเคราะห์ร่วมกัน
 อ.ปราณี
- เน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง Home visit ใช้การบรรยายเพียงร้อยละ 10 ให้ผู้เรียนมีเวลาในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  learning by doing อาจารย์ผู้สอนสรุป
อ.วิทยา
- ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนในรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ มีการใช้ Authentic learning , EBN มีการคิดเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
อ.สมใจ
- การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ประสบความสำเร็จ เพราะมีทัศนะคติที่ดีในความเป็นครู เชื่อว่า ทุกคนเรียนรู้ได้ การเรียนการสอนไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง เป็นทั้งของผู้เรียนและผู้สอน ดังนั้นต้องสร้างทัศนคติที่ดีให้กับผู้เรียน มีประสบการณ์ ความรู้ในเนื้อหาอย่างชัดแจ้ง สามารถเล่าเรื่องและยกตัวอย่างได้อย่างเป็นรูปแบบ ทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่าย มีวิธีการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ มีส่วนร่วม มีการแลกเปลี่ยน สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร คอยช่วยเหลือผู้เรียนที่ไม่ทันเพื่อน ตรวจงานและสะท้อนกลับผู้เรียนให้ทันเวลา เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพัฒนาตนเอง
อ.สายใจ
- ให้ผู้เรียนอ่านเนื้อหาเตรียมความพร้อมก่อนเรียน ใช้วีดิโอ Case กรณีศึกษา ให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์

6 ความคิดเห็น:

  1. การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูง ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน ๒ นักศึกษาชั้นปีที่ ๔ เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Community Based ใช้ข้อมูลสถานการณ์จริงโดย นศ. ออกแบบเครื่องมือ และวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่ต้องนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาของชุมชน จากฐานข้อมูลที่มีและข้อมูลปฐมภูมิ นำสู่การวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวม ๕ มิติ ด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน นศ. วิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา บนพื้นฐานการจัดทำ Web of Causation ของแต่ละปัญหาทำให้เห็นสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา นำสู่การออกแบบแก้ไขปัญหาได้ สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความจำเป็นของชุมชนอย่างแท้จริง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูงให้กับผู้เรียน โดยครู inquiry ต่อเนื่องกระตุ้นให้ นศ. คิดต่อยอด จากประสบการณ์และองค์ความรู้ของครูผู้สอน

    ตอบลบ
  2. การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูง เป็นสิ่งที่ผู้สอนควรตระหนักอยู่เสนอในการจัดการเรียนการสอน ในแต่ละครั้ง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ มากขึ้น นอกเหนือจากการจดจำเนื้อหาของบทเรียน ขอเสนอแนวคิดดังนี้
    1.ปัจจัยนำเข้า
    1.1 ทางด้านผู้สอน ควรตระหนักถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงสมรรถนะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้มากขึ้น ไม่ใช่การรับความรู้จากผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น ผู้สอนต้องมีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย และเน้นที่ผู้เรียนเป็นหลัก
    1.2 ผู้เรียน ควรปลูกฝังความคิดให้กับผู้เรียนในวิธีการเรียนการสอน ที่จะช่วยพัฒนาให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยใช้วิธีการคิดวิเคราะห์ คิดหาเหตุผล คิดเชื่อมโยง หรือคิดนอกกรอบ เป็นต้น
    1.3 จัดหาสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย น่าสนใจ สอดคล้องกับเนื้อหา และกะทัดรัด สามารถนำมาวิเคราะห์ได้หลากหลาย
    2. กระบวนการในการดำเนินการ ได้แก่
    2.1 การปฐมนิเทศ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้บ่อย ในการฝึกการคิดขั้นสูง ก่อนการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนทราบแนวทางการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง
    2.2 จัดการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ ใช้หลักการเพียง ให้ผู้เรียนได้คิด การแสดงความคิดเห็น การอภิปราย ในประเด็นต่าง ๆ โดยการตั้งคำถาม และ การสะท้อนคิดกับผู้เรียน
    2.3 มีการมอบหมายงานที่ชัดเจน และมีแหล่งอ้างอิง ในการสืบค้น
    3. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
    3.1 สามารถประเมิน เกี่ยวกับการพัฒนาการคิด ของผู้เรียนได้ชัดเจน ให้คำแนะนำ และสะท้อนกลับ กับผู้เรียนใด้

    ตอบลบ
  3. จากประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูงในรายวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 โดยใช้คำถามสะท้อนคิดใน 3 ระยะของการจัดการสอน คชได้แก่ ก่อนฝึกปฏิบัติ ขณะฝึกปฏิบัติและหลังการฝึกปฏิบัติ ตัวอย่างการใช้คำถาม เช่น ระยะที่ 1 ก่อนฝึกปฏิบัติ
    1) ท่านมีความคาดหวังอะไรจากการฝึกปฏิบัติครั้งนี้
    2) ท่านรู้สึกอย่างไรก่อนฝึกปฏิบัติ
    3) ท่านวางแผนอย่างไรเพื่อให้การฝึกปฏิบัติงานเป็นไปตามที่คาดหวัง ระยะที่ 2
    ขณะฝึกปฏิบัติ 1) ท่านได้รับความรู้และประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติงานตามความคาดหวังหรือไม่ เป็นอย่างไร
    2) ขณะฝึกปฏิบัติงาน ท่านรู้สึกอย่างไร
    3) การเตรียมตัวและการวางแผนก่อนฝึกงานช่วยให้การฝึกงานปฏิบัติงานของประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังหรือไม่ เป็นอย่างไร

    ระยะที่ 3
    หลังฝึกปฏิบัติ

    1) ท่านได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการฝึกปฏิบัติงานในครั้งนี้
    2) ท่านมีความรู้สึกอย่างไรในการฝึกปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วย
    3) ท่านวางแผนจะนำความรู้จากการฝึกปฏิบัติงานไปใช้ประโยชน์ต่อในอนาคตอย่างไร
    4) ภายหลังการฝึกปฏิบัติงานท่านเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เป็นอย่างไร
    5) ท่านวางแผนพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ต่อไปอย่างไร
    คำถามเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนตามปกติของรายวิชา เช่น การ Pre conference case study case conference อย่างไรก็ตามขณะที่เรานำคำถามสะท้อนคิดไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องมีการพัฒนาคำถามย่อยเพื่อใช้เฉพาะในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม เช่น
    (1) ทำไมผู้ป่วย case นี้ถึงได้มาโรงพยาบาล
    (2) มีอะไรที่เป็นสาเหตุทำให้ป่วยคลอดก่อนกำหนด
    (3) ตอนนี้ผู้ป่วยมีปัญหาอะไรบ้าง
    (4) คิดว่าปัญหาอะไรที่มีความสำคัญที่สุดเร่งด่วนที่ต้องเฝ้าระวัง
    (5) ได้วางแผนการพยาบาลอย่างไร
    (6) มีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
    (7) จะวางแผนการพยาบาลให้ดีขึ้นได้อย่างไร
    (8) นักศึกษาได้เรียนรู้อะไรจากการดูแลผู้ป่วยคนนี้
    (9) มีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะหายใจล้มเห
    (10) มีวิธีการพยาบาลอย่างไร ให้ผู้ป่วยหายจากปอดติดเชื้อ
    (11) มีวิธีการอื่นไหม ที่จะทำให้ผู้ป่วยดีขึ้น
    (12) นักศึกษาและเพื่อนวางแผนว่าจะทำอะไรต่อในการดูแลผู้ป่วย
    (13) มีอะไรบ้างที่นักศึกษาภูมิใจในการดูแลผู้ป่วย
    (14) เพื่อนในกลุ่มคิดว่าการวางแผนการพยาบาลเป็นอย่างไร
    (15) มีข้อเสนอแนะอื่นๆเพิ่มเติมไหม
    หลังจากนั้นผู้สอนใช้ 6 ตัวบ่งชี้พฤติกรรมสะท้อนคิดวัดในผู้เรียน ตามลำดับ

    ตอบลบ
  4. เพิ่มติมการวัด Outcome และสรุปเป็น Flow chart ถึง How to จะทำให้ทุกสาขานำไปใช้ได้

    ตอบลบ
  5. เพิ่มเอกสารแนบท้าย เครื่องมือ/แบบประเมินการวัดทักษะการคิดขั้นสูง

    ตอบลบ
  6. สุธิดา อินทรเพชร14 กรกฎาคม 2562 เวลา 20:34

    การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) เป็นอีกวิธีที่จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง โดยมี 4 ขั้นตอนคือ
    1. Concrete Experience (Act) การสร้างประสบการณ์ เช่น การเรียนการสอนในห้องเรียน การอ่านหนังสือ การดูวีดีทัศน์ การทดลอง เป็นต้น
    2. Reflective Observation (Reflect) การสะท้อนการเรียนรู้ โดยการเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ การบันทึกการเรียนรู้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน
    3. Abstract Conceptualization (Conceptualize) การสรุปองค์ความรู้ เช่น การเขียน Mind Mapping
    การสรุปการเรียนรู้ออกมาเป็น Model หรือ Framework และการนำเสนอผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
    4. Active Experimentation (Apply) การประยุกต์ใช้ความรู้ โดยจะต้องเสนอสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ต่อไป
    แนวทางในการพัฒนาต่อ และรวบรวมสิ่งที่เรียนรู้ถูกต้องหรือผิดพลาดเพื่อการดำเนินการเรียนรู้ในขั้นตอนที่ 1

    ตอบลบ