วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2561

แนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) โดยวิธีการสะท้อนคิด


วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 
วันที่  11  กุมภาพันธ์  2561 ห้องประชุม กลุ่มวิชาการ เวลา 13.30-16.00 น.

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1.       นางสมใจ         เจียระพงษ์
2.       นางดวงชีวัน      เบญจมาศ
3.       นางสุจินดา       ศรีสุวรรณ
4.       นางสาวปราณี    แสดคง
5.       นางรุ่งทิพย์       พรหมบุตร
6.       นส.สายใจ        คำทะเนตร
7.       นางสาวสรัญญา  เปล่งกระโทก
8.       นางสาวศุกลรัตน์  บุญสิทธิ์




วัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้
เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ Transformative Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด และสรุปวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) โดยวิธีการสะท้อนคิด มีผลลัพธ์การเรียนรู้ (learning outcome) ด้านทักษะทางปัญญา

ประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้     
1.    ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ Transformative Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด
2.    วิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)โดยวิธีการสะท้อนคิด

1.    ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ Transformative Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด
ในการจัดการเรียนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ผู้สอนต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนสามารถสร้างวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ด้วยตนเอง เกิดเป็นความเข้าใจในองค์ความรู้อย่างลึกซึ้ง เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ได้ ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ (learning outcome) ด้านทักษะทางปัญญา
ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ Transformative Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด
-          ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ จัดการเรียนการสอนแบบ Transformative Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด ในวิชาปฏิบัติการการพยาบาลมารดาทารกฯ 1และ 2 โดยการสะท้อนคิด post conference หลังฝึกปฏิบัติงานในแต่ละวัน และกำหนดเป็นกิจกรรมหนึ่งที่นักศึกษาต้องทำคือ รายงานการสะท้อนคิดรายบุคคล
-          ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช บริหารการพยาบาลฯ จัดการเรียนการสอนแบบ Transformative Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต (จิตเวชชุมชน) การปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ขั้นตอนการสะท้อนคิดของผู้เรียนและรายงานการสะท้อนคิดรายบุคคล
-          ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน จัดการเรียนการสอนแบบ Transformative Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน โดยจัดการเรียนรู้ให้นักศึกษาบันทึกหลังทำกิจกรรมอนามัยโรงเรียน เป็นแบบบันทึกการสะท้อนผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
-          ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ จัดการเรียนการสอนแบบ Transformative Learning โดยวิธีการสะท้อนคิด ในวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2  โดยการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ขั้นตอนการสะท้อนคิดของผู้เรียน

2. วิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)
    โดยวิธีการสะท้อนคิด
2.1     วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยการปฏิบัติการพยาบาลใช้ขั้นตอนการสะท้อนคิดของนักศึกษา

    วิธีการจัดการเรียนการสอน
1.       ออกแบบโดยการให้นักศึกษาศึกษาตามสภาพจริง มอบหมายกรณีศึกษาให้นักศึกษาปฏิบัติการพยาบาลนักศึกษานำประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่พบ ที่ได้จากการสังเกต การฟัง  มาบันทึกเป็นเรื่องเล่า  จากนั้นนำมาเล่าให้สมาชิกในกลุ่มฟัง
2.       ผู้สอนให้นักศึกษาเล่าเรื่องที่ละคน โดยตั้งคำถามสะท้อนคิด เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์คิดแก้ปัญหา คิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อนำสู่การวางแผน และให้การช่วยเหลือ  ภายใต้บริบทตามสภาพจริงของผู้รับปริการ คำถามที่กระตุ้นให้เกิดการสะท้อนคิด
“อะไร (what)”  เช่น เกิดอะไรขึ้นกับนศ./ผู้รับบริการ   มีอะไรอีกที่พบเห็น
whear  นศ/ผู้รับบริการ คิดหรือรู้สึกอย่างไร เหตุผลที่อย่างนั้น เป็นอย่างอื่นได้ไหม “when”เป็นอย่างอื่นได้ไหม
why” เพราะอะไร นศ/ผู้รับบริการ  ถึงคิดเช่นนั้น เพราะอะไรถึงเป็นอย่างนั้น
3.       ผู้สอนให้นักศึกษาเขียนบันทึกการสะท้อนคิด เพื่อให้คิดไตร่ตรองทบทวน พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้สติและสมาธิในการทบทวนและสะท้อนการกระทำของตนเอง  ช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้  นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงและการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4.       ทีมผู้สอนประชุม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถอดบทเรียนระหว่างการเรียนการสอน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา
1.    นักศึกษาเข้าใจตนเองและบุคคลอื่นเพิ่มมากขึ้น
2.    แสดงพฤติกรรมเอื้ออาทรต่อบุคคลอื่นเพิ่มมากขึ้น
3.    รวบรวมข้อมูล วินิจฉัย วางแผนและให้การพยาบาลภายใต้บริบทตามสภาพจริงของผู้รับบริการ
4.    มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
5.    มีพัฒนาการในการคิดวิเคราะห์ คิดเป็นเหตุผล คิดสร้างสรรค์เกิดองค์ความรู้เป็นของตนเองเพื่อจะนำมาใช้กับผู้รับบริการ
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
1.    ทีมอาจารย์เห็นความสำคัญ มีทัศนคติที่ดี ต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยการสะท้อนคิด
2.    ทีมอาจารย์มีทักษะในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิด

2.2 วิธีการจัดการเรียนการสอนการสะท้อนคิด โดย post conference หลังฝึกปฏิบัติงาน
             วิธีการจัดการเรียนการสอน
1.       มอบหมาย case ให้นักศึกษาให้การพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล ตามลักษณะวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1,2 ในแต่วัน
2.       เมื่อสิ้นสุดการฝึกปฏิบัติงานในแต่ละวัน ผู้สอนจัดกิจกรรม post conference หลังฝึกปฏิบัติงาน โดยให้นักศึกษาแต่ละคนสะท้อนคิด ซึ่งผู้สอนจะกระตุ้นด้วยคำถามเช่น จากการปฏิบัติงานวันนี้ได้เรียนรู้อะไรบ้าง ทำไมนักศึกษาปฏิบัติแบบนั้น เมื่อนักศึกษาปฏิบัติอย่างนั้นแล้วเกิดอะไรขึ้น ฯลฯ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา
1.    นักศึกษามีทักษะการคิดอย่างวิเคราะห์ ในปฏิบัติการพยาบาล เกิดแนวทางปฏิบัติที่ดีเพื่อให้การพยาบาลที่มีคุณภาพ เช่นแนวทางการประเมินปัญหาของผู้รับบริการได้ครอบคลุม
2.    นักศึกษามีทักษะการสื่อสารเพิ่มขึ้นและ มีความภาคภูมิใจในตนเอง
  ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
ทีมผู้สอนเข้าใจการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด มีทักษะตั้งคำถาม
         
2.3    วิธีการจัดการเรียนการสอนจากรายงานการสะท้อนคิดรายบุคคล
วิธีการจัดการเรียนการสอน
1.    มอบหมายงานให้นักศึกษาส่ง รายงานบันทึกการสะท้อนคิด จำนวน  4 ฉบับ (สัปดาห์ละ 1 ฉบับ) โดยมีแบบบันทึกการสะท้อนคิด โดยใช้วิธีการในการทำ Reflection (Gibbs, 1988 ; เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์, 2555) ซึ่งบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยผ่านการใคร่ครวญไตร่ตรองของนักศึกษา ในระยะเวลา 1 สัปดาห์ที่ผ่าน มา ในประเด็นดังนี้
-       ประสบการณ์/สถานการณ์ต่างๆ ที่นักศึกษาได้ปฏิบัติการพยาบาล หรือได้จากการสังเกตของนักศึกษา
-       จากประสบการณ์/สถานการณ์ต่างๆเหล่านั้น นักศึกษาสังเกตเห็นผลลัพธ์/ผลกระทบ อย่างไร
-       จากประสบการณ์/สถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น นักศึกษาสรุปเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับ
-       ถ้าหากนักศึกษาเผชิญกับสถานการณ์นี้เกิดขึ้นอีก คิดว่าจะทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิมบ้าง/ มีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร
2.    กำหนดการส่งรายงาน  ส่งทุกวันพฤหัส และทุกวันศุกร์อาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติจัดกิจกรรมการสะท้อนคิดเป็นกลุ่มย่อยเพื่อสะท้อนคิดทักษะด้านปัญญาและด้านคุณธรรม
3.    วิธีการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการสะท้อนคิด ประเมินผลรายงานการสะท้อนคิด ภายหลังฝึกปฏิบัติทุกวันพฤหัส ตามแบบประเมินรายงานผลการสะท้อนคิด โดยอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติเป็นผู้ประเมินและให้คำแนะนำนักศึกษาเป็นรายบุคคล
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา
1.    ตระหนักรู้ในศักยภาพและสิ่งที่เป็นจุดอ่อนของตน
2.    มีทักษะการสื่อสารถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้
3.    สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพและที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาสุขภาพเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ
4.    สามารถพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์
5.    เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
1.    นโยบายของผู้บริหารสนับสนุนการจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่นวิธีการสะท้อนคิด เช่น มีนโยบายสนับสนุน/ส่งเสริมพัฒนาอาจารย์ให้มีทักษะในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิด
2.    ทีมผู้ร่วมสอนภาคปฏิบัติ มีทักษะการจัดการสอนวิธีการสะท้อนคิด

จากวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) โดยวิธีการสะท้อนคิด สามารถสรุปขั้นตอนการเรียนการสอนดังนี้

1.    สถานการณ์จริง/ โจทย์สถานการณ์ การกระตุ้นให้บุคคลเข้าไปมีส่วนร่วมและรับรู้ประสบการณ์ต่างๆ โดยตรง เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม และการเรียนรู้จะเกิดขึ้นตามประสบการณ์ที่ตนเองประสบอยู่ในขณะนั้น การสร้างประสบการณ์  เช่น การเรียนการสอนในห้องเรียน แหล่งฝึกภาคปฏิบัติ การอ่านหนังสือ การดูวีดีทัศน์ เป็นต้น
2.    การบันทึกการเรียนรู้ การสะท้อนความคิดจากประสบการณ์ที่ได้รับ โดยพิจารณาไตร่ตรองอย่างลึกซึ้ง  การสะท้อนการเรียนรู้ / ทบทวนการเรียนรู้ เช่น การเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ การบันทึกการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ประเด็นที่บันทึกมีดังนี้
1) ประสบการณ์/สถานการณ์ต่างๆ ที่นักศึกษาได้ปฏิบัติการพยาบาล หรือได้จากการสังเกตของนักศึกษา
2) จากประสบการณ์/สถานการณ์ต่างๆเหล่านั้น นักศึกษาสังเกตเห็นผลลัพธ์/ผลกระทบอย่างไร
3) จากประสบการณ์/สถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น นักศึกษาสรุปเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับ
4) ถ้าหากนักศึกษาเผชิญกับสถานการณ์นี้เกิดขึ้นอีก คิดว่าจะทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิมบ้าง/ มีขั้นตอน
   การปฏิบัติอย่างไร
3.    การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การรวบรวมความรู้ และความคิดต่างๆ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง หรือการได้รับข้อมูลจากผู้สอน หรือสมาชิกกลุ่ม โดยอาศัยการพูดคุย เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และนำไปสู่กรอบความคิดของตนเอง
4.    การนำความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ของตนเองไปใช้

   จบการทำกิจกรรม COP   เวลา 16.00 .        

  ผู้บันทึกการแลกเปลี่ยน  นางดวงชีวัน เบญจมาศ
                                     

17 ความคิดเห็น:

  1. อยากให้อาจารย์ผู้สอนทุกรายวิชานำเทคนิคการสะท้อนคิดไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอน

    ตอบลบ
  2. ควรให้อาจารย์ผู้สอนทุกรายวิชานำเทคนิคการสะท้อนคิดไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)

    ตอบลบ
  3. กรณีดูแลนักศึกษารายกลุ่ม อาจทำการสะท้อนคิดในกลุ่ม เช่น การพัฒนาการปฏิบัติงาน (practice development) การใช้ focus group

    ตอบลบ
  4. การสะท้อนคิดอาจใช้หลากหลายวิธีร่วมกันเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิด. เช่น. การให้เล่าสิ่งที่เกิด ระสบการณ์ในการเรียนรู้สั้นๆการมอบหมายให้ไปเขียนบันทึกสะท้อนคิด ก่ นะเรียน. ขณะที่เรียนและหลังเรียน
    ข้อค้นพบในการสนอนักศึกษาคือผู้สอนต้องมีประเด็นที่ต้องการฝึกให้ผูเรียนได้สะท้อนคิดเป็นครั้งๆจะช่วยเพิ่มการคิดที่มีระบบในเวลาที่จำกัดเเละการสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ควรหลากหลายและเป็นประสบการณ์ที่มีความซับซ้อนเพียงพอที่จะฝึกให้ผูเรียนได้ฝึกกระบวนการคิดที่เเตกต่างเเละหลากหลาย

    ตอบลบ
  5. การสะท้อนคิดเป็นการพัฒนาทักษะทางปัญญาโดยแท้จริง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหากมีข้อมูลยืนยัน โดยการวิเคราะห์ทางสถิติจากเครื่องมือที่ใช้ประเมิน หรือ เป็นเรื่องราวกรณีนศ.ตัวอย่างที่สามารถสะท้อนคิดได้ดีให้เห็นจะดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  6. สุพิศตรา พรหมกูล3 สิงหาคม 2561 เวลา 09:58

    การสะท้อนคิดที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่ดีมาก เพื่อให้นักศึกษาได้มีการพัฒนากระบวนการคิดของตนเอง

    ตอบลบ
  7. เพิ่มเรื่องตัวอย่างการตั้งคำถามจะดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  8. ขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้การสะท้อนคิดในการฝึกภาคปฏิบัติในวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ ในกิจกรรม post conference ในแต่ละวันหลังการฝึกงาน ทำให้ผู้เรียนสามารถพิจารณาและบอกจุดบกพร่องของตนเอง และหาวิธีแก้ไขหรือพัฒนาตนเองให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นทั้งในส่วนของเนื้อหาความรู้ทางการพยาบาล การคิดเชื่อมโยงอย่างมีเหตุผล การตัดสินใจแก้ไขปัญหาขณะให้การพยาบาล รวมทั้งชื่นชมตนเองและเพื่อนร่วมงานได้

    ตอบลบ
  9. การสะท้อนคิดเป็นแบบการจัดการเรียนการสอนที่ดีค่ะ แต่ควรมีการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา หลังจากการใช้การสะท้อนคิดในการจัดการเรียนการสอนค่ะ เนื่องจากนักศึกษาอาจจะยังไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ของการสะท้อนคิดค่ะ

    ตอบลบ
  10. การสอนการสะท้อนคิด อาจารย์ต้องมีการสะท้อนคิดด้วยตนเองจนเกิดเป็นปกตินิสัย แล้วถ่ายทอดรูปแบบการสะท้อนคิดไปสู่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้้้ทบทวนในสิ่งที่ได้ปฏิบัติ จนนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงการเรียน และการทำงาน สุดท้ายสิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ Quality Safety to Education Nursing การเกิดคุณภาพและความปลอดภัยในผู้รับบริการ

    ตอบลบ
  11. การเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดจะเป็นวิธีการเรียนการสอนที่ส่งเริมให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ มากขึ้น แต่นักศึกษาบางคนยังมีความไม่เข้าใจในการสะท้อนคิด กังนั้นควรเพิ่มเติมการสะท้อนคิดเป็นกลุ่ม เพื่อให้การดูแลผู้เรียนที่สอดคล้องปัญหาเพิ่มขึ้น

    ตอบลบ
  12. สามารถดำเนินการเพิ่มเติมได้ในทุกรายวิชา..และจัดทำคู่มือการเรียนและเครื่องทือรวมทั้งแบบประเมินที่ชัดเจน

    ตอบลบ
  13. ขอแลกเปลี่ยนการสะท้อนคิดที่ตัวเองใช้ในการสอนภาคปฏิบัติ จะใช้ช่วงการ Pre post Conference โดยช่วงการ Pre con จะถาม นศ.ว่านศ.มีความคาดหวังอย่างไรในวันนี้ นศ.อยากได้อะไรบ้าง แล้วนศ.จะทำอย่างไรเพื่อให้บรรลุตามความคาดหวังที่ตั้งไว้ ช่วงการPost con จะใช้คำถามว่า นศ.ได้เรียนรู้หรือทำอะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร มีอะไรที่มำได้ดีแล้ว และมีอะไรที่เรายังทำได้ไม่ดีบ้าง สิ่งที่เรายังทำได้ไม่ดีเกิดจากสาเหตุอะไร แล้วถ้าเราจะต้องทำสิ่งนั้นอีกเราจะทำอย่างไรให้ดีขึ้น ซึ่งนศ.จะได้เรียนรู้และทบทวนสิ่งที่ตนเองทำมาตลอด และสิ่งที่เป็นความผิดพลาดหรือทำได้ไม่ดีนศ.จะได้แลกเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้นอีกเป็นการพัฒนานักศึกษาและเมื่อทำบ่อยๆๆจะวยพัฒนาคุณภาพการพยาบาลค่ะ

    ตอบลบ
  14. ในการจัดการเรียนการสอน โดยการให้นักศึกษาได้มีการสะท้อนคิดทั้งในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ดีมาก ซึ่งในรายวิชาการพยาบาลมารดาทารกฯ2 ได้ให้นศ.สะท้อนคิดในการจัดการเรียนการสอนในบทที่ 7 ในหัวข้อการตกเลือดหลังคลอด และในภาคปฏิบัติได้ให้นศ.สะท้อนคิดในการฝึกในแผนกต่างๆ ซึ่งนศ.ทุกคนมีการสะท้อนคิดได้ดี ในมุมมองของตัวเองและนำมาปรับปรุงในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์

    ตอบลบ
  15. สุธิดา สิงห์ศิริเจริญกุล5 สิงหาคม 2561 เวลา 11:32

    ในการจัดการเรียนการสอน โดยการให้นักศึกษาได้มีการสะท้อนคิดทั้งในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ดีมาก ซึ่งในรายวิชาการพยาบาลมารดาทารกฯ2 ได้ให้นศ.สะท้อนคิดในการจัดการเรียนการสอนในบทที่ 7 ในหัวข้อการตกเลือดหลังคลอด และในภาคปฏิบัติได้ให้นศ.สะท้อนคิดในการฝึกในแผนกต่างๆ ซึ่งนศ.ทุกคนมีการสะท้อนคิดได้ดี ในมุมมองของตัวเองและนำมาปรับปรุงในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์

    ตอบลบ
  16. การสะท้อนคิด เป็นการวิธีการที่ดี ที่สามารถทำให้ นศ. ได้เรียนรู้ถึงจุดที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนาวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ดีขึ้น

    ตอบลบ
  17. เป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาได้ฝึกคิดวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี..

    ตอบลบ