วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Model การบริการวิชาการสู่การสร้างองค์ความรู้

Model การบริการวิชาการสู่การสร้างองค์ความรู้


สรุปองค์ความรู้การบริการวิชาการสู่การวิจัยและการผลิตบทความวิชาการ
1.       การบริการวิชาการสามารถนำสู่การวิจัยและการผลิตบทความวิชาการได้หลายช่องทาง ดังนี้
1.1   เมื่อดำเนินโครงการบริการวิชาการไประยะหนึ่ง จะทำให้เห็นปัญหาของชุมชนหรือพื้นที่ หรือเห็นช่องว่างของการวิจัย จึงนำสู่คำถามการวิจัยและการทำวิจัยในระยะต่อมา โดยมีข้อแม้ว่าโครงการบริการวิชาการนั้นต้องมีความต่อเนื่องมากกว่า 1 ปี
1.2   มีการใช้กระบวนการวิจัยในการประเมินผลการดำเนินโครงการบริการวิชาการ ซึ่งจะนำสู่การวิจัยประเภทวิจัยประเมินผลโครงการ
1.3   เมื่ออาจารย์ได้รับมอบหมายให้ไปให้บริการวิชาการโดยการเป็นวิทยากร อาจารย์จะเตรียมความพร้อมโดยการทบทวนวรรณกรรมในเรื่องที่จะต้องไปเป็นวิทยากรนั้น ทำให้อาจารย์มีการสั่งสมความรู้ที่ทันสมัยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นำสู่การเขียนบทความวิชาการในเรื่องนั้นๆ  
2.       model การบริการวิชาการสู่การสร้างองค์ความรู้ที่ประสบความสำเร็จ
2.1   การออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลของการบริการวิชาการเริ่มตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินโครงการ เพื่อ วิเคราะห์สถานการณ์ของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ
2.2   เป็นกระบวนการบริการวิชาการที่ใช้พื้นที่เป็นฐาน (community based)
2.3   ในระหว่างการดำเนินการมีการทบทวนผลการดำเนินงานเป็นระยะเพื่อนำสู่การปรับปรุงแก้ไข อย่างต่อเนื่อง
2.4   นำผลการดำเนินงานจากการทบทวนมาพิจารณาดำเนินการปรับปรุงสู่การบูรณาการเพื่อสร้างองค์ความรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยในปีที่ 2 เป็นต้นไป
2.5   การออกแบบดำเนินการบูรณาการบริการวิชาการกับการวิจัย หรือ สร้างองค์ความรู้ จัดให้อยู่ในแผนงานของหน่วยงาน
2.6   มีการบูรณาการสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการวิจัย การเขียนบทความวิชาการ การจัดทำชุดความรู้ เพื่อนำสู่การตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป

11 ความคิดเห็น:

  1. ขอเสนอแนะเพิ่มเติมค่ะ กระบวนการสร้างองค์ความรู้ขอเพิ่มประเด็นการสร้างองค์ความรู้เพื่อนำมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้สำหรับภารกิจด้านผลิตของวิทยาลัยฯอีกประเด็นค่ะ

    ตอบลบ
  2. ในปีถัดไป การนำกระบวนการสร้างองค์ความรู้ไปพัฒนาด้านการเรียนการสอนควรนำสมรรถนะด้านการพยาบาลชุมชน (SIMC)เข้ามาสอดแทรกด้วย

    ตอบลบ
  3. ศรีสุดา ลุนพุฒิ1 สิงหาคม 2561 เวลา 11:07

    เป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากวิทยากร ผุู้ให้บริการวิชาการ และเป็นแบบอย่างหนึ่งของวิธีการพัฒนางานวิจัย โดยส่วนตัวได้ทำวิจัย AR ซึ่ง มีประเด็นของการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา และวางแผน และปฏิบัติ วงจรที่ 1 ในปีแรก ส่วนปีที่2 ได้วงจรที่ 2 ซึ่งต่อไปจะได้เชื่อมถึง พันธกิจการบริการวิชาการ ต่อไป

    ตอบลบ
  4. ขอเสนอแนะเพิ่มเติมค่ะ กระบวนการสร้างองค์ความรู้ขอเพิ่มประเด็นการสร้างองค์ความรู้เพื่อนำมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้สำหรับภารกิจด้านผลิตของวิทยาลัยฯอีกประเด็นค่ะ

    ตอบลบ
  5. องค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการบริการวิชาการ ช่วยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ แต่จะทำอย่างไรให้มี/เกิดองค์ความรู้ใหม่ ที่เกิดจากการนำวิธีการเหล่านี้ไปใช้ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ควรเพิ่ม How to จากผู้มีประสบการณ์จริง

    ตอบลบ
  6. สุพิศตรา พรหมกูล2 สิงหาคม 2561 เวลา 10:18

    การสร้างองค์ความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการเป็นสิ่งที่ดีมาก จะทำให้อาจารย์ได้พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ และอยากให้นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีความทันสมัยและควรมีการจัดเวทีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากอาจารย์ที่มีประสบการณ์สู่อาจารย์ในวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

    ตอบลบ
  7. วันนี้ ถอดบทเรียนบูรณการบริการวิชาการสู่การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว พบว่า
    การบริการวิชาการเพื่อให้เกิดการบูรณการสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบสุขภาพเป็นการสร้างคุณค่าจากการให้บริการ ซึ่งเป็นการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการหรือการวิจัยและพัฒนา และมีลักษณะของการออกแบบกระบวนการบริการวิชาการที่สำคัญ คือ การกำหนดโจทย์การวิจัย ที่นำมาสู่การออกแบบวงจรปฏิบัติการของการให้บริการวิชาการตามกระบวนการ วางแผน (Plan) ปฏิบัติ (Do) ประเมิน (Check) พัฒนาปรับปรุง (Act) รวมทั้งการออกแบบเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูลการให้บริการวิชาการในแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบด้วยเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ จะทำให้เกิดการสร้างองค์ความรู้จากปฏิบัติให้บริการวิชาการ ในการสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน มีประเด็นการสร้างองค์ความรู้ที่น่าสนใจหลายหลากประเด็น ได้แก่ การประเมินผลหลักสูตรผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว รูปแบบการจัดบริการวิชาการเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวของสถาบันการศึกษา เป็นต้น ศิราณี ศรีหาภาค

    ตอบลบ
  8. การถอดบทเรียนในประเด็นในสิ่งที่ทำด้วยตนเองตลอดเวลาทำให้เกิดการสังเคราะห์ ตกผลึกในตัวเองอยู่ตลอด..

    ตอบลบ
  9. การผลิตผลงานวิจัย โดยเฉพาะการวิจัยในชุมชนที่ตอบสนองจุดเด่นจุดเน้นของสถาบัน ซึ่งเกิดจากการบริการวิชาการในชุมชน จึงเกิดคำถามที่ว่าแล้วคนที่ไม่มีโอกาสไปบริการวิชาการ หน้างานไม่ใช่ จะมีแนวทางอย่างไรในการทำวิจัยในลักษณะนี้

    ตอบลบ
  10. การนำองค์ความรู้ที่ได้ ไปทำการวิจัยเพื่อดูผลลัพธ์ที่แท้จริงของการบริการวิชาการค่ะ แต่ควรมีกิจกรรมหรือโครงการที่สอดคล้องหรือช่วยพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนในการผลิตบัณฑิตของวิทยาลัยค่ะ

    ตอบลบ
  11. งานบริการวิชาการ ควรมี 1)การประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ บุคลากร ให้รับทราบถึงข้อมูล หรือประเด็นที่งานบริการวิขาการออกแบบวางแผนการทำงาน รวมถึงรับสมัคร ผู้เข้าร่วมบริการวิชาการ และร่วมทำวิจัย ตลอดกระบวนการ ไม่ใช่แค่ไปร่วมกิจกรรมเพียงเพื่อนับ PA 2)การบริการวิชาการเพื่อตอบโจทย์สมรรถนะพยาบาลชุมชน โดยการบูรณาการกับการเรียนการสอน สามารถทำให้เกิดเป็นรูปธรรมได้ในรายวิชา แต่อาจทำบาง มิติ จาก 4 มิติ และแต่ละมิติ อาจทำบางประเด็นใน 4 ประเด็น

    ตอบลบ