วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สรุปการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ CoP การวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยการตัดเกรด

วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้  29 พฤษภาคม  2560

ห้องประชุม ดอกปีบ เวลา 14.00-16.00 น.

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1. นางพรรณิภา  ทองณรงค์         ประธาน
2. นางพิริยากร  คล้ายเพ็ชร         รองประธาน
3. นางแก้วจิต  มากปาน         สมาชิก
4. นางนิระมล  สมตัว         สมาชิก
5. นางสุวารี  คำศิริรักษ์         สมาชิก
6. นางสาวสายใจ  คำทะเนตร    สมาชิก
7. นางกล้วยไม้  ธิพรพรรณ         สมาชิก
8. นายวิทยา  วาโย                 สมาชิก
9. นางน้ำทิพย์  ไพคำนาม         สมาชิก
10. นางสาวสายสุดา  จันหัวนา เลขานุการ
11. นางสาวพลอยลดา  ศรีหานู ผู้ช่วยเลขานุการ




วัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้

1. เพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้ประสบการณ์ การปฏิบัติงานในปัจจุบันเกี่ยวกับการวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยการตัดเกรด
2. เพื่อวางแผนการนำองค์ความรู้มาปรับปรุงการปฏิบัติงานครั้งที่ 1  กลุ่มงานบริการการศึกษา มีประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เรื่องการวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยการตัดเกรด   ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ การพัฒนาการวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยการตัดเกรด
มีรายละเอียดดังนี้

1. งานวัดและประมวลผลการศึกษาได้จัดทำคู่มือการวัดและประเมินการศึกษา ให้กับอาจารย์ทุกคน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดเกรด
2.  งานวัดและประมวลผลการศึกษา ได้มีการกำหนดระยะเวลาในการส่งเกรดในแต่ละภาคการศึกษาไว้ชัดเจน
3. งานวัดและประมวลผลการศึกษา ได้มีการแจ้งและติดตามเกรดในแต่ละภาควิชา
4. งานวัดและประมวลผลการศึกษา ได้มีการจัดทำและติดตามผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา

ปัญหาที่พบ

1. อาจารย์กลุ่มย่อยส่งคะแนนไม่ทันตามเวลาทำให้นำคะแนนมาประมวลผลไม่ทันตามกำหนด
2. ผู้รับผิดชอบวิชาส่งเกรดไม่ทันตามกำหนดเวลา
3. มาตรฐานการให้คะแนนของอาจารย์ประจำกลุ่มย่อย ไม่เหมือนกัน ทำให้การตัดเกรดไม่ยุติธรรมสำหรับผู้เรียน
4. การตัดเกรดบางรายวิชา ไม่ถูกต้องตามเกณฑ์
5. อาจารย์บางคนไม่มีทักษะการใช้โปรแกรมตัดเกรด
6. อาจารย์ตัดเกรดโดยไม่ใช้โปรแกรมตัดเกรด ซึ่งอาจทำให้ผลการประเมินมีความผิดพลาดได้
7. วิทยาลัยฯ ไม่ได้มีการจัดการอบรมด้านการวัดประเมินผลต่อเนื่องทุกปี

กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปองค์ความรู้ที่ได้ในครั้งนี้ ได้ดังนี้

1. เทคนิคการวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยการตัดเกรด  เป็นเรื่องที่สำคัญที่อาจารย์ผู้ทำหน้าที่ในการสอนหรือผู้รับผิดชอบรายวิชาต้องมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการตัดเกรดที่ถูกต้อง เพื่อให้ผลการตัดสินการเรียนของผู้เรียนถูกต้อง แม่นยำ และเกิดความยุติธรรม
2. เทคนิคการวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยการตัดเกรด  ควรมีการพัฒนาอาจารย์ผู้สอนตั้งแต่เริ่มเป็นอาจารย์ใหม่ โดยการจัดการปฐมนิเทศ และจัดให้มีอาจารย์พี่เลี้ยง ในการสอนและแนะนำถึงหลักการและเทคนิคการวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยการตัดเกรด
3. ควรมีการจัดการอบรม ทบทวนความรู้ เกี่ยวกับการวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยการตัดเกรด แก่อาจารย์ทุกคน ในแต่ละปีการศึกษา
4. มีโปรแกรมการตัดเกรดที่ดี และใช้งานง่าย

กิจกรรมที่ 3  แนวทางที่จะนำไปประยุกต์ใช้  (จะปรับปรุงตรงไหนอย่างไร ช่วงไหน ใช้เวลากี่วัน)

1. จัดทำคู่มือการวัดและประเมินผลที่ละเอียดและชัดเจน
2. จัดการอบรมความรู้ด้านการวัดและประเมินผลแก่อาจารย์ทุกปี
3. จัดหาโปรแกรมการตัดเกรดที่ทันสมัย และใช้งานได้ง่าย
4. มีกระบวนการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนทุกรายวิชา แต่ละภาคการศึกษา และทุกปีการศึกษา

จบการทำกิจกรรม CoP  ครั้งที่ 1 เวลา 16.00 น.

15 ความคิดเห็น:

  1. การตัดเกรดในกรณีที่เป็นการฝึกภาคปฏิบัติ ที่มีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ การตัดเกรดควรตัดภายในกลุ่มย่อยนั้น ๆ เนื่องจาก ในรายวิชาที่ส่งนักศึกษาฝึกโดย ไม่มีอาจารย์นิเทศทุกวัน คะแนนที่ได้จากพยาบาลพี่เลี้ยง ของนักศึกษาแต่ละคน ไม่ค่อยมีความแตกต่างกัน และมีคะแนนสูงมาก ดังนั้น จึงไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกับเกรดของกลุ่มอื่น

    ตอบลบ
  2. การตัดเกรดของภาคทฤษฎี ซึ่งในปีการศึกษา 2559 ยังใช้หลักการตัดเกรด แบบอิงกลุ่มและเกณฑ์ด้วย ดังนั้น ในรายวิชา ที่มีการปรับคะแนนเป็นคะแนนมาตรฐาน (T-score) แล้ว การแบ่งจำนวนเกรด ควรต้องใช้เกณฑ์เข้ามาพิจารณาด้วย เช่น หากคะแนนดิบ ไม่ถึง ร้แยละ 80 ไม่จำเป็นต้องตัดเกรด จนถึง เกรด A

    ตอบลบ
  3. การแก้ไขปัญหาที่พบบ่อยในรายวิชาปฏิบัติ คือเกรดนักศึกษาจะไม่มีความแตกต่างกัน มักจะได้ A และ B+ ไม่สามารถแยกกลุ่ม เก่งและอ่อนของนักศึกษา
    ทางกลุ่มวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารกฯได้ป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยให้อาจารย์นิเทศประจำกลุ่มตัดเกรดนักศึกษาแบบอิงเกณฑ์(ที่ตั้งไว้แล้ว)เมื่อสิ้นสุดการฝึกฯในแผนกนั้นเลย และเมื่อสิ้นสุดการฝึกปฏิบัติรายวิชานั้นก็จะมีการทวนสอนอีกครั้ง พบว่าสามารถตัดเกรดนักศึกษาได้และแยกกลุ่มเก่ง ปานกลางและอ่อนได้

    ตอบลบ
  4. ปัญหาการส่งคะแนนกลุ่มย่อยช้าจะหมดไปหากผู้สอนกำกับติดตามงานจากผู้เรียนระหว่างการฝึกปฏิบัติงาน (formative evaluation) และประเมินผลชิ้นงานเป็นระยะ ทำให้ผู้สอนไม่มีงานค้าง นักศึกษาส่งงานตรงตามเวลา และยังสามารถเฝ้าระวังและส่งเสริมผู้เรียนกลุ่มเสี่ยงให้ส่งงานได้ตามระยะเวลาและมีคุณภาพ

    ตอบลบ
  5. สุพิศตรา พรหมกูล17 กรกฎาคม 2560 เวลา 16:00

    การตัดเกรดในกลุ่มวิชาที่มีทั้งทฤษฎีและทดลอง บางครั้งถ้าแบ่งหน่วยนำ้หนักของทฤษฎีและทดลองแยกออกจากกันก็อาจจะทำให้มีปัญหาในการวัดประเมินผลและการตัดเกรดด้วย เช่นวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งบางทีมันก็แยกไม่ได้ชัดเจนในเรื่องของภาคทดลองและภาคทฤษฎี

    ตอบลบ
  6. ควรมีการฟื้นฟูจัดทำwork shop พร้อมกำหนดแนวทางการตัดเกรดให้เป็นระบบขั้นตอนวิธีการได้มาของเกรดในมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน อีกทั้งการจัดทำแบบประเมินที่มีความตรงความเที่ยงของการประเมินยังมีความสำคัญในการใช้ค่าคะแนนเนื่องจากเป็นต้นทางของการตัดเกรด

    ตอบลบ
  7. สรัญญา เปล่งกระโทก23 กรกฎาคม 2560 เวลา 14:47

    นอกจากการประชุมให้ความรู้แก่อาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษก็สำคัญ โดยเฉพาะรายวิชาภาคปฏิบัติ บางรายวิชาจะมี Preceptor ซึ่งประเมินนักศึกษาทั้งกลุ่ม และเป็นระยะเวลาค่อยข้างนาน ขอเสนอแนะเมื่อทางวิทยาลัยฯ มีการจัดประชุมเรื่องการวัดและประเมินผล เชิญอาจารย์พิเศษสอนภาคปฏิบัติเข้าร่วม เพื่อทำความเข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลของทางวิทยาลัยฯ เมื่อแต่ละรายวิชาฝึกปฏิบัติ อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาประชุมชี้แจงเกี่ยวกับแบบประเมิน การให้คะแนน และการประเมินผลนักศึกษา แก่อาจารย์พิเศษฯอีกครั้ง

    ตอบลบ
  8. ควรมีการทบทวนการตัดเกรดองกลุ่มผู้สอนทุกคนทุกครั้งก่อนเสนอเกรดนศ ตามระบบ เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมและมีการจัดประชุมทบทวนความรู้กับผู้สอนทุกปี

    ตอบลบ
  9. การทวนสอบเป็นกลไกที่สำคัญที่ให้ความยุติธรรมกับนักศึกษา และสะท้อนถึงคุณภาพหลักสูตร ควรทำอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ

    ตอบลบ
  10. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  11. นายวิทยา วาโย23 กรกฎาคม 2560 เวลา 17:52

    การมีรูปแบบของการวัดและประเมินผลที่เป็นแนวทางเดียวกันจะส่งผลทำให้อาจารย์นิเทศสามารถที่จะให้คะแนนนักศึกษาได้ถูกต้อง และเมื่ออาจารย์ประจำวิชามาตัดเกรดจะทำให้นักศึกษาทั้งหมดเกิดความเท่าเทียมในการให้คะแนน ดังนั้น แนวทางการให้คะแนนควรมีระบบและกลไกที่ชั้นเจนตั้งแต่ คู่มือการวัดประเมินผล การประชุมรายวิชา รวมทั้งประุมภายหลังการฝึกปฏิบัติงาน และการทวนสอบ เพื่อให้นักศึกษาได้คะแนนที่เหมาะสม

    ตอบลบ
  12. นางแก้วจิต ากกปาน23 กรกฎาคม 2560 เวลา 21:57

    นางแก้วจิต มากปาน 23 กรกฎาคม2560
    การตัดเกรด มีความสำคัญ ต่อการประเมินตนเอง และคามรู้สึก ของนักศึกษา ดังนั้นอาจารย์ต้องมีการทบทวนความรู้เรืองการตัด
    เกรดอยางสมำ่เสมอ การมโปรแกรมการตัดเกรดที่ใช้ได้ง่าย ก็จะสามารถช่วยอาจารย์ได้

    ตอบลบ
  13. รุ่งทิพย์ พรหมบุตร24 กรกฎาคม 2560 เวลา 08:12

    การตัดเกรดเป็นกระบวนการสุดท้ายในการวัดประเมินผลผู้เรียน การตัดเกรดจะมีคุณภาพได้ ต้องมีต้นทางที่ดี คือการจัดการเรียนการสอน การวางแผนการประเมินผล การมีเครื่องมือวัดประเมินผลที่ดี การที่ผู้สอนและผู้เรียนมีความเข้าใจในการประเมินผล หากสิ่งเหล่านี้ถูกกำหนดและนำไปใช้อย่างมีคุณภาพ เมื่อถึงขั้นตอนสุดท้ายการนำเข้าคะแนนเพื่อการตัดเกรดก็จะารันตีได้ว่าเกรดที่นักศึกแต่ะละคนได้มา เป็นการสะท้อนความรู้ความสามารถของผู้เรียนจริงๆ

    ตอบลบ
  14. การตัดเกรดเป็นการวัดความรู้ได้ดีที่สุด ดังนั้นหากมีการประเมินผลที่ดี ก็จะทำให้คะแนนที่ออกมา ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด และการตัดเกรดปัจจุบันก็ใช้ระยะเวลานาน และต่างคนใช้วิธีแตกต่างกัน หากมีโปรแกรมการตัดเกรดเพียงแค่ส่งคะแนนดิบเข้าไปอาจจะทำให้มีการตัดเกรดได้ไว หรือไม่ รบกวนขอให้พิจารณาด้วยคะ

    ตอบลบ
  15. การตัดเกรดเป็นการวัดความรู้ได้ดีที่สุด ดังนั้นหากมีการประเมินผลที่ดี ก็จะทำให้คะแนนที่ออกมา ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด และการตัดเกรดปัจจุบันก็ใช้ระยะเวลานาน และต่างคนใช้วิธีแตกต่างกัน หากมีโปรแกรมการตัดเกรดเพียงแค่ส่งคะแนนดิบเข้าไปอาจจะทำให้มีการตัดเกรดได้ไว หรือไม่ รบกวนขอให้พิจารณาด้วยคะ

    ตอบลบ