วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สรุปการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ CoP การพัฒนาระบบบริการสื่อโสตทัศนูปกรณ์เพื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ

ครั้งที่ ๒

วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐

ณ ห้องประชุม A๑๐๑

เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

๑. นายศักดิ์ชัยพัฒนา  ทิพย์รักษา  ประธาน
๒. นางธรณิศ  สายวัฒน์              สมาชิก
๓. นางรัชนี  พจนา                     สมาชิก
๔. นางจรรยา  คนใหญ่                สมาชิก
๕. นางศรีสุดา  ลุนพุฒิ                สมาชิก
๖. นายอานุภาพ  หาญสุริย์           สมาชิก
๗. นายเพชร  ธนภูมิชัย               สมาชิก
๘. นางสาวกฤตยา  เพชรนอก      สมาชิก
๙. นางสาวจริยา  ศิริรส                สมาชิก
๑๐. นางเพียงใจ  สำราญพิตร       เลขานุการ
๑๑. นายกรินทร์  สีดาเหลือง        ผู้ช่วยเลขานุการ



ผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

๑. นางสาวสุรัสวดี พนมแก่น พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นิเทศนักศึกษา

วัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้

๑. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้การปฏิบัติงานในปัจจุบันเกี่ยวกับสื่อโสตทัศนูปกรณ์ เพิ่มเติมจากครั้งที่ ๑
๒. เพื่อวางแผนการนำองค์ความรู้ปรับปรุงการปฏิบัติงานครั้งที่ ๑

กลุ่มพัฒนาคุณภาพ มีประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาระบบบริการสื่อโสตทัศนูปกรณ์ที่มีคุณภาพ ดังนี้

กิจกรรมที่ ๑ แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ สิ่งที่ทำอยู่อย่างไร เกี่ยวกับสื่อโสตทัศนูปกรณ์ เป็นอย่างไร มีรายละเอียด เพิ่มเติมจากครั้งที่ ๑ ดังนี้

๑. การดำเนินการด้านระบบบริการสื่อโสตทัศนูปกรณ์ที่มีคุณภาพ มีขั้นตอนดังนี้

  ๑.๑  การเตรียมโสตทัศนูปกรณ์
วิทยาลัยมีเจ้าหน้าที่ดูแลโสตฯและผู้ช่วยมี จำนวน ๓ คน ได้แก่ ๑) คุณศักดิ์ชัยพัฒนา ทิพย์รักษา
ผู้รับผิดชอบหลัก ๒) คุณอานุภาพ หายสุริย์ และ ๓) คุณเพชร ธนภูมิชัย มีการจัดเตรียมโสตฯ
เป็นประจำทุกวันในช่วงเวลาปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ คือ เวลา ๑๖.๓๐ – ๒๐.๓๐ น. ของทุกวัน
จันทร์ – ศุกร์ โดยมีการตรวจเช็คความพร้อมของโสตฯ ประจำห้องเรียน ห้องประชุม ที่ได้รับการ
ประสานจากผู้รับผิดชอบงานอาคารสถานที่ เพื่อให้พร้อมใช้งานในวันต่อไป

๑.๒ วิทยาลัยมีจำนวนห้อง ดังนี้ (เอกสารแนบ 1)
     ๑.๓  การเตรียมนักศึกษา
      งานโสตฯ มีการเตรียมตัวแทนนักศึกษาประจำห้องเรียนแต่ละห้อง ทำหน้าที่โสตฯ โดยเจ้าหน้าที่โสตฯ ได้แนะนำการใช้อุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ทุกปี ปีละ ๑ ครั้ง ในภาคเรียนที่ ๑ โดยเนื้อหาการสอน และแนะนำประกอบด้วย
๑. การทำงานของโสตทัศนูปกรณ์ประจำห้อง
๒. การใช้งานโสตทัศนูปกรณ์เบื้องต้น
๓. การบำรุงรักษาโสตทัศนูปกรณ์เบื้องต้น
๔. ระเบียบ ข้อตกลงในการใช้โสตทัศนูปกรณ์ของวิทยาลัย

๒. การให้บริการขณะใช้ห้องเรียน หรือ ห้องประชุม มีดังนี้

สำหรับห้องเรียน จะมีนักศึกษาที่ผ่านการสอนจากเจ้าหน้าที่โสตฯ บริการอาจารย์ผู้สอนในเบื้องต้น แต่หากพบปัญหาการใช้โสตฯ และแก้ไขไม่ได้ เช่น อาจารย์ใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมจากของวิทยาลัยที่รองรับไม่ได้ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่โสตฯ ได้ตลอดเวลา และเจ้าหน้าที่โสตฯ จะมาให้บริการภายในเวลา ๑๐ นาที
สำหรับห้องประชุม จะมีเจ้าหน้าที่โสตฯ ประจำห้องประชุมจำนวน ๑ คน ตามที่ระบุรายละเอียดไว้ในทะเบียนการจองห้อง โดยเจ้าหน้าที่โสตฯ จะเตรียมอุปกรณ์ใช้ให้สอดคล้องกับวิทยากร หรือ การจัดประชุมต้องการ เช่น คอมพิวเตอร์ ปริ๊นเตอร์ ไมค์ลอย เป็นต้น ตลอดจนการเก็บข้อมูล เช่น ภาพถ่าย VDO และบันทึกเสียงส่งผู้จัดประชุม และให้บริการตลอดจนสิ้นสุดการประชุม

๓. ปัญหาและอุปสรรค

๑. ผู้ขอใช้ห้องไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน จึงทำให้ขาดความพร้อมในสื่อโสตทัศนูปกรณ์ เช่น ใช้โสตฯ ด่วน อุปกรณ์มีจำนวนจำกัด
๒. ผู้ใช้ขาดความเข้าใจ และทักษะในการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งาน
๓. ไม่มีขั้นตอนการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ที่ชัดเจน
๔. ไม่มีการรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบของสื่อโสตทัศนูปกรณ์
     ๕. นักศึกษามีการใช้งานสื่อโสตทัศนูปกรณ์ที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนทำให้อุปกรณ์เสียหาย และต้องติดตั้งเครื่องใหม่ เกิดความล่าช้าในการเรียนการสอน

๔. การตรวจสอบคุณภาพอุปกรณ์ สื่อ โสตทัศนูปกรณ์

เจ้าหน้าที่โสตฯ จะตรวจคุณภาพอุปกรณ์ สื่อ โสตทัศนูปกรณ์หลังการใช้ห้องประชุมครั้ง สำหรับห้องเรียน สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง

กิจกรรมที่ ๒  ร่วมสรุปองค์ความรู้ที่ได้ มีรายละเอียดดังนี้

๑. การบริการ เตรียมอุปกรณ์สื่อ โสตทัศนูปกรณ์ทุกวันเพื่อให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน และการประชุมที่มีคุณภาพ และมีการทำทะเบียนการจัดเตรียมอุปกรณ์สื่อ โสตฯ อย่างครอบคลุม

๒. การบริการระหว่างมีกิจกรรมการเรียนการสอน
      การเรียนการสอนจัดให้มีนักศึกษาช่วยประจำห้องเพื่อดูแลสื่อ โสตทัศนูปกรณ์ โดยให้การเสนอแนะ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์ สื่อ โสตฯ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ฐานข้อมูลระบบทะเบียนเบื้องต้น จำนวน ๑ วัน ในวันเปิดภาคเรียนที่ ๑ และเมื่อมีการเปลี่ยนห้องเรียนเนื่องจาก สื่อ โสตทัศนูปกรณ์ประจำห้องเรียน แต่ละห้องมีความแตกต่าง
      สำหรับการจัดประชุม เมื่อได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่จองห้องประชุม เจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์ต้องเตรียมอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ก่อนการประชุม ๑ วัน และเปิดอุปกรณ์ในวันประชุมก่อนการประชุม ๒๐ นาที และประจำห้องประชุมพร้อมให้บริการตลอดจนเสร็จสิ้นการประชุม

๓. การตรวจสอบคุณภาพอุปกรณ์ ควรตรวจสอบทุกสัปดาห์ หากพบอุปกรณ์ที่มีปัญหาควรบันทึกรายงานหัวหน้างานเป็นลำดับต่อไป

กิจกรรมที่ ๓ แนวทางที่จะนำไปประยุกต์ใช้แล้วจะปรับปรุงตอนไหน ใช้เวลากี่วัน

๑. จัดทำคู่มือ และขั้นตอนการใช้งานสื่อโสตทัศนูปกรณ์ทุกชนิดประจำห้อง
๒. มีทะเบียนการตรวจสอบคุณภาพของสื่อโสตทัศนูปกรณ์ และมีการรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชาเดือนละ ๑ ครั้ง เริ่มเดือน มิ.ย. – ก.ค.
๓. ประชาสัมพันธ์ขั้นตอนและระบบการใช้ห้อง และสื่อโสตทัศนูปกรณ์ โดยการ
๔. สร้างความเข้าใจ และทักษะการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์เบื้องต้น
๕. สร้างความตระหนักให้นักศึกษาในการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ และบำรุงรักษาสื่อโสตทัศนูปกรณ์
๖. มีระบบการพัฒนาระบบบริการสิ่งสนับสนุนเพื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ (เอกสารแนบ 2 )

15 ความคิดเห็น:

  1. ศรีสุดา ลุนพุฒิ
    การมีระบบและกลไกบริการสิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ทำให้เกิดความสะดวกและความคล่องตัว ในการจัดการเรียนการสอน และ การประชุม และหากมีการบูรณาการงานกับการ ขอใช้ห้อง ยิ่งจะสะดวกมากยิ่งขึ้น

    ตอบลบ
  2. ขอทำความเข้าใจถึงความหมายของโสตทัศนูปกรณ์ กับสื่อการสอนก่อนคะ

    โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง
    วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียนหรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูดการอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น

    สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น วิดิโอการทำคลอด รูปภาพการเย็บแผล ชุดคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการเยี่ยมบ้าน เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าโสตทัศนูปกรณ์ เป็นสื่อการสอนประเภทหนึ่ง เท่านั้น

    แม้ในปัจจุบันสื่อการสอนสามารถสืบค้นได้จาก website ต่างๆ แต่หากผู้สอนสามารถผลิตหรือจัดหาสื่อที่ตรงกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้และส่งให้เจ้าหน้าที่งานโสตทัศนูปกรณ์ได้รวบรวม จำแนกหมวดหมู่ตามกลุ่มวิชา อย่างเป็นระบบ จะทำให้ง่ายต่อผู้เรียนในการเข้าถึงสื่อนั้นๆ

    ตอบลบ
  3. สุจินดา ศรีสุวรรณ17 กรกฎาคม 2560 เวลา 10:22

    ประเด็น การพัฒนาระบบบริการ ฯ นำมาจัดการความรู้ เพื่อพัฒนางาน และเอื้อสนับสนุน การเรียนการสอน เป็นการแลกเปลี่ยนที่ดีมาก และเห็นด้วย ขอเสนอแนะ 2 ประเด็น
    1. การจัดทำคู่การใช้สื่อ/โสตทัศนูปกรณ์ จะดีมากเลยถ้าทันใช้ก่อนวันเปิดภาคการศึกษา
    2.ขอให้ประชาสัมพันธืการใช้สื่อโสตฯ ให้อาจารย์และบุคลากร และนักศึกษาทุกชั้นปี ทางสื่ออิเลคทรอนิคด้วย

    ตอบลบ
  4. แต่ละงานที่เกี่ยวข้องควรนำแนวทางจากCoP นี้ไปจัดทำแนวทางย่อยในการดำเนินงานของตนเอง

    ตอบลบ
  5. เห็นด้วยทุกประการค่ะให้ดำเนินการเลยตามที่วางแผนไว้จะเยี่ยมมากค่ะ ที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องเครื่องฉายมากหลอดเสื่อมไม่พร้อมใช้

    ตอบลบ
  6. หากมีการดำเนินการตามแผน ได้แก่ การขอใช้สื่อ โสต ฯ ล่วงหน้า จะช่วยให้ผู้รับผิดขอบจัดเตรียมความพร้อมได้ตามความต้องการของผู้ใช้ และขอให้มีการให้ข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนา ประมาณการความต้องการเสนอผ่านหัวหน้าภาค นำเสนอในคณะกรรมการดำเนินการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ จะช่วยทำให้การดำเนินการ เป็นไปตามความต้องการผู้ใช้ มีความเพียงพอและเหมาะสมตามเกณฑ์

    ตอบลบ
  7. เสนอให้มีระบบการตรวจสอบโสตทัศนูปกรณ์พร้อมใช้ค่ะ. จะช่วยให้การใช้งานเกิดประโยชน์สูงสุดนะคะ
    ผู้ใช้โสตต่างๆควรศึกษาคู่มือให้เข้าใจเพื่อได้ใช้อย่างถูกวิธีและช่วยกันบำรุงรักษาให้โสตอุปกรณ์ต่างๆซึ่งมีราคาเเพ
    สามารถการใช้งานได้ในระยะยาวนานขึ้นค่ะ

    ตอบลบ
  8. ขอเสนอแนะให้มีการ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่องานโสต หากการใช้งานแต่ละห้องมีปัญหาค่ะ และในแต่ละวันหากผู้ใช้งานพบว่ามีอุปกรณ์ใดไม่พร้อม ในแจ้งเพื่อจะได้ให้การซ่อมบริหารให้แล้วเสร็จ และวางแผนต่อไปค่ะ

    ตอบลบ
  9. พรรณิภา ทองณรงค์23 กรกฎาคม 2560 เวลา 20:23

    การเพิ่มบริการของงานสื่อโสตฯเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนซึ่งวิทยาลัยได้มีการ ใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนด้วย Reflection ดังนั้นขอเสนอให้งานสือจัดทำ movice bank โดยขอความร่วมมือให้อาจารย์แต่ละรายวิชาที่ออกแบบการเรียนการสอนแล้วเลือกภาพยนต์ที่มาใช้เป็นสือให้นักศึกษาได้ชมแล้ว reflection นั้นมอบไว้ให้งานสื่อ จัดการวางเวลาและฉายภาพยนต์ให้ ซึ่งจะเกิดผลดีตามมาอีกประการหนึ่งคือการให้อง Theater ของวิทยาลัย ได้รับการบริการอย่างคุ้มค่า ด้วย

    ตอบลบ
  10. ในการให้บริการโสตทัศนูปกรณ์แก่ผู้มาขอใช้บริการพร้อมห้องประชุม เช่น การขอใช้สื่อ โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ ในห้องประชุมต่างๆของวิทยาลัย ควรเพิ่มความพร้อมบริการมากขึ้นก่อนการประชุมจะเริ่มต้นขึ้น โดยควรมีการดำเนินการให้ครอบคลุมขั้นตอน ดังนี้ 1)ตรวจสอบวัสดุ อุปกรณ์ สื่อโสตฯ 2)จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สื่อโสตฯ ให้พร้อมใช้ 3)ควบคุม/ดูแล ให้บริการ 4) ตรวจเช็ค ซ่อมบำรุง ปรับปรุงหากพบปัญหา 5) จัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ สื่อโสตฯ อย่างถูกต้อง

    ตอบลบ
  11. นางแกวจิต มากปาน23 กรกฎาคม 2560 เวลา 22:21

    นางแกวจิต มากปาน 23 กรกฏาคม 2560
    อยากใ้ห้มีการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ โดยเฉพาะการตรวจสอบอุปกรณ์สื่อ โสต ในห้องเรียนทุกสัปดาห์ เพื่อให้พร้อมและไม่เสียเวลาในการเรียน่ค่ะ

    ตอบลบ
  12. นางพัฒนี ศรีโอษฐ์ 24 กรกฎาคม 2560
    การแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อการพัฒนาระบบบริการสื่อโสตทัศนูปกรณ์ที่มีคุณภาพ เป็นการแลกเปลี่ยนที่ดีมาก และเห็นด้วย ในประเด็น การจัดทำคู่มือ ขั้นตอนการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ประจำทุกห้อง และประชาสัมพันธ์ขั้นตอนและระบบการใช้ห้อง และสื่อโสตทัศนูปกรณ์

    ตอบลบ
  13. จรรยา คนใหญ่24 กรกฎาคม 2560 เวลา 15:09

    การเตรียมนักศึกษา ควรเพิ่มเติมในเรื่องการตรวจสอบ คุณภาพ และ การใช้งานของโสตฯ ประจำห้องเรียน และนำเสนอ ต่อ ผู้รับผิดชอบของวิทยาัย อย่างต่อเนื่อง

    ตอบลบ
  14. เพิ่มในเรื่องการตรวจสอบอุปกรณ์สื่อโสต ประจำห้องเรียน ความพร้อมใช้ และจัดเตรียมอุปกรณ์สำรองไว้พร้อมใช้ในกรณีจำเป็น

    ตอบลบ
  15. เพิ่มคู่มือในการใช้ในแต่ละห้อง และอบรมอาจารย์เจ้าหน้าที่ที่ต้องใช้โสตด้วย และมีตารางตรวจเช็คลงชื่อกำกับตรวจเช็คคุณภาพของโสตด้วยค่ะ

    ตอบลบ