วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สรุปการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ CoP การบูรณาการงานบริการวิชาการ กับผลิตงานวิจัยและผลงานวิชาการ

ครั้งที่ 1

วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้  21  เมษายน  2560 
สถานที่  ห้องประชุมมณฑาทิพย์
เวลา  9.00-12.00 น.




ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

๑. สมาชิก ชุมชนนักปฏิบัติการ กลุ่ม วิจัยและบริการวิชาการ
๑. นางสาวศุภวดี แถวเพีย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ประธาน
๒. ดร.ศิราณี ศรีหาภาค พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
๓. นายสุพจน์ แก้วบุดดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. นายณรงค์ คำอ่อน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕. นางนวลละออง ทองโคตร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  
๖. นางสาวสุธิดา อินทรเพชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
๗. นางปิยนุช ภิญโย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
๘. นางสาวอริณรดา ลาดลา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  
๙. นางสาวทรงสุดา หมื่นไธสง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  เลขา
๑๐. ดร. กิตติภูมิ ภิญโย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ผู้ช่วยเลขา

วัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ 

1. เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านการผลิตผลงานวิชาการ  ผลงานวิจัยให้ครอบคลุมศักยภาพอาจารย์ทุกระดับ
2. เพื่อบูรณาการการผลิตงานวิชาการ  งานวิจัยในชุมชนให้สอดคล้องกับการบริการวิชาการด้านสุขภาพ 

กิจกรรมที่ 1 แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์

สิ่งที่ทำอยู่ทำอย่างไร  เกี่ยวกับการบูรณาการงานบริการวิชาการกับผลิตงานวิจัยและผลงานวิชาการ   
เป็นอย่างไร ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนได้แสดงความคิดเห็นมีรายละเอียดดังนี้

1. ควรออกแบบงานในโครงการบริการวิชาการทำ 1 อย่างแต่ให้ได้หมดทุกอย่าง 
2. การดำเนิโครงการควรมีการออกแบบการสร้างองค์ความรู้ทุกโครงการฯและวางแผนการใช้งบประมาณ
3. เพิ่มการออกแบบข้อมูลด้วยการใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
4. ควรสร้างเครือข่ายในทุกโครงการฯเนื่องจากอาจารย์มีบทบาทนักวิชาการที่ต้องกระตุ้นส่งเสริมเติมเต็ม  ทุกงานต้องมีเครือข่ายและหานักวิจัย
5. การค้นหาเครือข่ายในการดำเนินงานที่มีความสนใจเป็นส่วนร่วมจริง  จะเข้าร่วมโครงการมากกว่า 1 ครั้ง
6. ควรสร้างพลังเติมเต็มเรียนรู้ทุกกระบวนการในการจัดทำโครงการฯ
7. ควรทุ่มเทและแบ่งเวลาในการทำงาน
8. สร้างฐานข้อมูลในการบริหารจัดการ
9. เชื่อมประสานผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาในการทำโครงการฯ  “เอาตัวใหญ่มาเลย”
10. ทยอยตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการ 
11. การเขียนบทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรมเป็นต้นทุนสำคัญในการเขียนบทความวิชาการโดยเลือกหยิบประเด็นที่สำคัญมาเขียน
12. การเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ที่ดำเนินโครงการฯที่ปรากฏในบทที่ 4 จะเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ในข้อมูลที่เกิดขึ้น
13. นโยบายการทำงานด้านสุขภาพมีส่วนสำคัญในการทำโครงการฯ  เพราะผลงานดีจะสามารถนำไปใช้ได้จริงตอบโจทย์การแก้ปัญหาในชุมชน
14. การออกแบบโครงการฯต้องมีความยืดหยุ่น  ใจกว้าง  ในการทำงาน
15. ให้โอกาสเครือข่ายเข้าร่วมทำงานไม่ใช้งบประมาณมาเป็นข้อจำกัด
16. การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตงานวิจัยและผลงานวิชาการควรให้เจ้าของพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตผลงาน 
17. การทำงานควรมีเจ้าหน้าที่ธุรการมาช่วยสนับสนุนเพื่อให้งานสามารถดำเนินการได้เร็วขึ้นทันเวลา
18. การทำงานไม่เริ่มต้นจากเรื่องงบประมาณก่อนแต่ต้องเริ่มต้นจาการมาร่วมกันประชุมวางแผนออกแบบกำหนดเป้าหมายร่วม

กิจกรรมีที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปองค์ความรู้ที่ได้

ผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้สรุปองค์ความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการงานบริการวิชาการกับผลิตงานวิจัยและผลงานวิชาการ  ดังนี้

1. วางแผน  ออกแบบ กำกับ  โครงการบริการวิชาการให้สอดคล้องกับนโยบายและสร้างองค์ความรู้ให้ได้งานวิจัยและผลงานวิชาการ (ทำ 1 ได้มากกว่า 1)
2. มีการบริหารเวลาและงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ
3. เทคนิคการสร้างเครือข่ายเพื่อเพิ่มผลงาน
-หาทุนในพื้นที่: คนที่จะมาเป็นทีม
-หาผู้นำชุมชน: ผู้นำโดยธรรมชาติและแบบแต่งตั้ง
-ยืดหยุ่นในการทำงาน: ไม่ใช้เงินเป็นตัวตั้งต้นในการทำงาน
- เปิดโอกาสคนในการทำงานและเคารพให้เกียรติ์ผู้ร่วมงาน
-ให้เจ้าของพื้นที่มามีส่วนร่วมในการทำวิจัย
4. สร้างฐานข้อมูลที่มีคุณภาพ
5. บริหารเวลาที่มีคุณภาพ
6. หาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ทำโครงการฯ
7. ผลงานที่เกิดให้เจ้าของพื้นที่เป็นชื่อแรกใน paper เสมอ
8. จับประเด็นที่น่าสนใจและนำมาผลิตผลงานงานวิจัยและผลงานวิชาการ  ทยอยตีพิมพ์เผยแพร่เป็นระยะ  
9. มีบุคลากรสายสนับสนุนช่วยเหลือในการดำเนินงานด้านต่างๆ  เช่น  เอกสาร  การประสานงาน  เป็นต้น 

กิจกรรมีที่ 3  แนวทางที่จะนำไปประยุกต์ใช้  (จะปรับปรุงตรงไหนอย่างไร ช่วงไหน ใช้เวลากี่วัน)

1. งานวิจัย  ผลงานวิชาการและวิเทศสัมพันธ์
1.1 ให้ทบทวนนโยบายและทิศทางงานวิจัยให้สอดคล้องกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้  
ระหว่าง 22 เมษายน 2560- 24 พฤษภาคม 2560
1.2 เพิ่มการสนับสนุนให้อาจารย์เขียนโครงร่างวิจัยที่เพื่อผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการให้สอดคล้องกับ 
ความเชี่ยวชาญและการจัดการเรียนการสอน ระหว่าง มิถุนายน 2560- กรกฎาคม 2560
2. งานบริการวิชาการและศูนย์ความเป็นเลิศ  
ระหว่าง 22 เมษายน 2560- 24 พฤษภาคม 2560
2.1 ให้ผู้รับผิดชอบโครงการฯ  ออกแบบ  กำกับและดำเนินกิจกรรมในโครงการให้มีการบูรณาการสู่การผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการในปีงบปราณ 2560 
2.2 เพิ่มการออกแบบการสร้างสร้างฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ

จบการทำกิจกรรม COP  ครั้งที่ 1 เวลา 12.00 น.

- เอกสารแนบ (เฉพาะการแลกเปลี่ยนครั้งที่ 1)
- กรอบทิศทางการวิจัยของวิทยาลัย

ครั้งที่ 2

วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้  26 พฤษภาคม  2560
สถานที่  ห้องประชุมมณฑาทิพย์
เวลา 9.00-12.00 น.



ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

๑. สมาชิก ชุมชนนักปฏิบัติการ กลุ่ม วิจัยและบริการวิชาการ
๑. ดร.ศุภวดี  แถวเพีย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ  ประธาน
๒. นายณรงค์ คำอ่อน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. นางสาวสุธิดา อินทรเพชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
๔. นางปิยนุช ภิญโย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
๕. นางสาวอริณรดา ลาดลา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
๖. นางสาวทรงสุดา หมื่นไธสง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  เลขา
๗. ดร. กิตติภูมิ ภิญโย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ผู้ช่วยเลขา

ผู้ไม่เข้าร่วมกิจกรรม  ติดราชการนิเทศงาน

๘. ดร.ศิราณี ศรีหาภาค พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
๙. นายสุพจน์ แก้วบุดดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๑o. นางนวลละออง ทองโคตร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

วัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ 

1. เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านการผลิตผลงานวิชาการ  ผลงานวิจัยให้ครอบคลุมศักยภาพอาจารย์ทุกระดับ
2. เพื่อบูรณาการการผลิตงานวิชาการ  งานวิจัยในชุมชนให้สอดคล้องกับการบริการวิชาการด้านสุขภาพ

กิจกรรมที่ 4 ผลการนำความรู้ไปใช้และการแลกเปลี่ยนความรู้  

1. งานวิจัย  ผลงานวิชาการและวิเทศสัมพันธ์
    1.1 ให้ทบทวนนโยบายและทิศทางงานวิจัยให้สอดคล้องกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้
ระหว่าง 22 เมษายน 2560- 24 พฤษภาคม 2560
                -งานวิจัยได้มีการทบทวนนโยบายและทิศทางงานวิจัย ดังเอกสารแนบที่ 1
    1.2 เพิ่มการสนับสนุนให้อาจารย์เขียนโครงร่างวิจัยที่เพื่อผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการให้สอดคล้องกับ
ความเชี่ยวชาญและการจัดการเรียนการสอน ระหว่าง มิถุนายน 2560- กรกฎาคม 2560
                -รอดำเนินการเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยและผลงานวิชาการเพื่อสนับสนุนทุนของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  ขอนแก่น  ครั้งที่ 2/2560 ระหว่าง 26 มิถุนายน 2560-  30 กรกฎาคม 2560 ตามแผนการปฏิบัติงาน  ดังนี้
               -เปิดรับข้อเสนอโครงการ  26 มิถุนายน 2560 - 14 กรกฎาคม 2560
               -ประชุมคณะกรรมการพิจารณาทุน 21 กรกฎาคม 2560
               -ประกาศผู้มีสิทธิรับทุนภายหลังการประชุม 2 สัปดาห์
2. งานบริการวิชาการและศูนย์ความเป็นเลิศ
ระหว่าง 22 เมษายน 2560- 24 พฤษภาคม 2560
    2.1 ให้ผู้รับผิดชอบโครงการฯ  ออกแบบ  กำกับและดำเนินกิจกรรมในโครงการให้มีการบูรณาการสู่การผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการในปีงบปราณ 2560
ยกตัวอย่างการดำเนินการโครงการหลังแลกเปลี่ยนความรู้  ดังนี้
โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพระดับอำเภอ (16-18 พฤษภาคม 2560)
(รับผิดชอบโครงการ อ.ดร.กิตติภูมิ  ภิญโย)
               -มีการบูรณาการวิจัย  เรื่อง การพัฒนารูปแบบในการจัดการตนเองที่เหมาะสมกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน
และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย 1/2560 จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  ขอนแก่น
จำนวน  48,600บาท
    2.2 เพิ่มการออกแบบการสร้างฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ
โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพระดับอำเภอ  มีการออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล  โดยใช้เครื่องมือวิจัย  คือ  การทำ Focus group
 
จบการทำกิจกรรม COP  ครั้งที่ 2 เวลา 12.00 น.


18 ความคิดเห็น:

  1. นอกเหนือจากการบูรณาการการผลิตผลงานวิชาการและวิจัยในการบริการวิชาการเเล้ว ขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
    1) การผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัยบูรณาการในรายวิชาโดยมีการวางแผนตั้งเเต่การวิพากษ์ มคอ3 มคอ4
    2) การผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัย สามารถบูรณาการในรายวิชา เช่น รายวิชาประเมินสุขภาพในปีการศึกษา 2559 มีการทำวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง พฤติกรรมการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลในการเรียนรายวิชาประเมินสุขภาพ และ รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมการสะท้อนคิดในการวางแผนการพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการหลักการและเทคนิกทางการพยาบาล

    ตอบลบ
  2. การผลิตผลงานวิชาการ หนังสือ ตำรา มีแนวทางการพัฒนา ดังนี้
    1) แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการผลิตผลงานวิชาการ และหนังสือ ตำรา โดยประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้อำนวยการ รองฯ และหัวหน้าภาควิชาการ
    2) จัดทำแผนงานผลิตผลงานวิชาการ และหนังสือ ตำรา โดยกำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการผลิตฯ อย่างน้อย ปีละ 1 ชื่อเรื่อง
    จัดกลุ่มผู้ผลิตระหว่างอาจารย์ในวิทยาลัย และอาจารย์พี่เลี้ยง

    ตอบลบ
  3. การออกแบบการผลิตผลงานวิชาการ และการวิจัยในการบริการวิชาการ อาจารย์ทุกคนต้องร่วมรับรู้ว่ามีการบูรณาการในรายวิชา และต้องปรากฏในแผนงานของงานบริการวิชาการ และต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่า อาจารย์และนักศึกษาเกิดผลลัพธ์อะไร

    ตอบลบ
  4. การผลิตผลงานวิชาการสัก 1 ชิ้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไปสำหรับอาจารย์ทุกท่าน อาจเริ่มเขียนบทความวิชาการในหัวข้อที่ตนถนัด มีความรู้ ความสนใจ และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติจริง ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ที่ปรากฏในบทความนั้นให้กับผู้อ่านได้

    ตอบลบ
  5. การใช้แนวคิดการมองงานเชิงระบบ และออกแบบการทำงานเชิงบูรณาการ กับพันธกิจของวิทยาลัยฯ​สามารถสร้างงานผลงานวิชาการ วิจัย และการจัดการเรียนการสอนได้ เช่นโครงการ “การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพระดับอำเภอ ที่มุ่งเน้นการดูแลระยะยาวที่บ้าน สู่ความเป็นเลิศทางการพยาบาลชุมชน” ดำเนินกิจกรรมไปแล้ว 3 กิจกรรม คือ 1)ร่วมกำหนดสมรรถนะการพยาบาลชุมชน โดยคณะกรรมการพัฒนาสมรรถนะบัณฑิตให้มีความโดดเด่นด้านการพยาบาลชุมชน 2) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนในการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น” โดยการวางแผนในการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน​ร่วมกับภาคีเครือข่าย ในวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2560 และกิจกรรมที่3) การเสริมสรัางศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ในวันที่ 8-9 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ซึ่งมีการบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน วิชาสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย วิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย วิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ1 และการวิจัยเรื่อง การวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ครับ ซึ่ง จะเหลือการดำเนินงานอีก 1 กิจกรรม การสรุปบทเรียนและจัดทำข้อเสนอ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2560 นี้ครับ

    ตอบลบ
  6. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  7. การผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัยที่มีความสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญและการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์แต่ละท่าน ทำให้ผลงานดังกล่าวมีแนวโน้มประสบความสำเร็จเพิ่่มมากขึ้น

    ตอบลบ
  8. การสนุบสุนการผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ มีความต่อเนื่อง และมีเวทีให้ได้นำเสนอผลงาน และขอเสนอ การพัฒนานักวิจัย การพัฒนานักวิจัย ให้ครอบคลุม ทั้งักวิจัยหน้าใหม่ เช่น หาทีมให้ร่วมดำเนินการวิจัย จัด work shop ตั้งแต่การเขียนโครงร่าง จน การทั่ง การตีพิมพ์เผยแพร่

    ตอบลบ
  9. ในการปฏิบัติงานจะเกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติงานหลายคนและมักจะสับสนบ้างเนื่องจากต้องทำงานหลายด้าน เสนอให้มีคู่มือ/แนวทางการทำงานเพื่อเป็นทิศทางเดียวกัน ซึ่งมีคูู่มือการผลิตผลงานวิจัยแล้ว แต่ยังไม่มีคู่มือการบูรณาการงานบริการวิชาการ กับผลิตงานวิจัยและผลงานวิชาการ

    ตอบลบ
  10. งานวิจัยจะมีกลวิธีอย่างไรที่ช่วยให้คณาจารย์ทุกคนมีงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่จากงานประจำ

    ตอบลบ
  11. สรัญญา เปล่งกระโทก23 กรกฎาคม 2560 เวลา 15:16

    การจัดให้นักวิจัยหน้าใหม่ได้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่สนใจและถนัด เพื่อให้ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยไปในตัว เมื่อเกิดการเรียนรู้ ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดความสนใจอยากทำเองบ้าง รวมทั้งเปิดโอกาสให้หาประสบการณ์จากเวทีการนำเสนอผลงานวิชาการ ทำให้เกิดแนวคิดประเด็นใหม่ ๆ ต่อไป

    ตอบลบ
  12. งานวิจัยแลเผลงานวิชาการที่ดีต้องสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของ public เพื่องานวิจัยและผลงานวิชาการที่ออกมาจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง คุ้มค่าคุ้มทุนทุกประการครับ

    ตอบลบ
  13. ศิราณี ศรีหาภาค23 กรกฎาคม 2560 เวลา 18:40

    การบูรณาการการวิจัยและการบริการวิชาการ จะเกิดขึ้นได้ต้องถูกออกแบบภายใต้ 2 รูปแบบดังนี้
    1.การบูรณาการบริการวิชาการสู่การวิจัย...ซึ่งลักษณะโครงการบริการวิชาการที่จะสามารถบูรณาการได้ ต้องเป็นการบริการวิชาการต่อเนื่อง ไม่ใช่การจัดงานแบบ Event ประกอบด้วยกระบวนการศึกษาข้อมูลสถานการณ์ การจัดบริการวิชาการ และ การประเมินผล
    2.การบูรณาการวิจัยสู่การบริการวิชาการ ...งานวิจัยดังกล่าวต้องถูกออกแบบให้เป็นการวิจัย operation research ต้องไม่ใช่แบบ Inquiry เช่น R&D PAR AR จึงจะสามารถจัดบริการวิชาการได้....
    ดังนั้นบทสรุปขององค์ความรู้จากการ KM ในครั้งนี้ควรจะไปให้ถึงว่า การบูรณาการวิจัยและบริการวิชาการของ วพบ.ขอนแก่น เป็นอย่างไร

    ตอบลบ
  14. ศิราณี ศรีหาภาค23 กรกฎาคม 2560 เวลา 19:03

    จากประสบการณ์ที่เคยจัดโครงการบริการวิชาการและบูรณาการไปสู่การวิจัยที่ผ่านมาและ เคยไปนำเสนอในเวทีการประชุมระดับชาติ ที่จังหวัดตรัง ปี 2557 เรื่อง "แบบจำลองการบริการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน" มีข้อสรุปที่สำคัญ คือ
    การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน พบว่าสามารถสร้างเครือข่ายเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน โดยเฉพาะการออกกำลังกาย ที่ดำเนินกิจกรรมออกกำลังกายผู้สูงอายุในชุมชนติดต่อกันมาอย่างสม่ำเสมอ เป็นระยะเวลา เกือบ 3 ปี ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะในการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนของสถาบันการศึกษาแก่ชุมชน ควรเน้นการบริการเชิงรุก เช่น การส่งเสริมกลุ่มออกกำลังผู้สูงอายุ การคัดกรองภาวะทุพพลภาพและปัจจัยเสี่ยง โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันภาวะทุพพลภาพ ให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินกิจกรรมอย่างอิสระด้วยตนเอง รวมทั้งผลักดันให้สถานบริการมีแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของผู้สูงอายุในชุมชน โดยการทำงานเป็นภาคีเครือข่ายกับสถานบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ เพื่อให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีบทบาทหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ให้สามารถดำเนินภารกิจของหน่วยงานในการดูแลผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน โดยมีสถาบันการศึกษาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงด้านวิชาการเพื่อพัฒนาความรู้และแนวคิดในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย รวมถึงการสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ ผ่านการสนับสนุน การควบคุมกำกับ และติดตามประเมินผลจากภาคีเครือข่าย






    ตอบลบ
  15. ศิราณี ศรีหาภาค23 กรกฎาคม 2560 เวลา 19:28

    ด้านประสบการณ์การบูรณาการวิจัยสู่การบริการวิชาการ ทำมาหลายเรื่อง แต่เรื่องที่น่าสนใจและมีผลกระทบในวงกว้าง คือ การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนอีสานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่วเป้ฯการวิจัยแบบ PAR มีอาศัยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และร่วมกันร่างนโยบายสาธารณะ จนทำให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่ได้ถูกเชิญในนำเสนอในเวทีสมัชชาพิจารณ์ระดับเขต เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2560 ที่โรงแรม Aveni ขอนแก่น ต่อประธานและคณะกรรมการรับฟังความเห็นฯ ซึ่งมี รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง (นายกสภาการพยาบาล) เป็นประธาน ท่านชื่นชมและให้คนมาขอเอกสารทั้งหมดไป และได้รับการคัดเลือกให้ไปนำเสนอในเวทีการประชุมพิจารณานโยบายสาธารณะ ระดับชาติที่จะจัดในวันที่ 3-4 สิงหาคม 2560 ณ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนา กทม.

    ตอบลบ
  16. เห็นด้วยกับความคิดเห็น อ.สุพจน์ ครับ งานวิจัยและบริการวิชาการต้องสนองความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะในยุค ไทยแลนด์ 4.0 มีนักวิจัยหลายท่านได้ให้ข้อคิด ว่าเวลานักวิจัยจะทำงานวิจัยต้อง "มือหนึ่งเอื้อมดาว อีกมือเช็ดน้ำตาให้ชาวบ้าน" ไม่ใช่ทำแล้วเก็บบนหิ้ง .....แต่ที่ วิทยาลัยเราทำ นำทีมโดย อ.ศิราณี และคณะ ผลงานวิจัยหรือการตอบสนองจากประชาชนที่มีส่วนร่วม รวมทั้งคณะนักวิจัยในพื้นที่ ได้รับประโยชน์ และเป็นการพัฒนาศักยภาพของชุมชน สุดยอดครับ...keep its on.

    ตอบลบ
  17. รุ่งทิพย์ พรหมบุตร24 กรกฎาคม 2560 เวลา 15:56

    การผลิตผลงานวิชาการ การวิจัย การบริการวิชาการ ที่มีการบูรณาการมาจากการเรียนการสอน นับว่าเป็นสิ่งที่ดี ทำให้การทำงานครั้งเดียวแต่เกิดผลงานในหลายในด้าน ทำน้อยแต่ได้มาก ถ้าในวิทยาลัยมีงานในลักษณะนี้มากๆ จะเป็นการพัฒนานักศึกษาและอาจารย์ไปพร้อมๆกัน

    ตอบลบ